วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อาสวานํ ขยาย สมโณ บุคคลที่เป็นอาสวักขันแล้วเรียกว่าเป็นสมณะมั่นคงแล้ว

 มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า  พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียก
นรชาติฝูงคนอันเป็นสมังคี  มีความพร้อมเพรียงด้วยธรรม ๔ ประการว่าเป็นสมณะ
 และ
คุณธรรม ๔ ประการนี้ คือ
ขนฺตี ความอดทนประการ ๑
อปฺปาหารตา  บริโภคอาหารแต่น้อยประการ๑
รติวิปฺปหานํ  คือประหารเสียซึ่งกำหนัดประการ ๑
อกิญฺจนํ  หากังวลมิได้ประการ ๑
สิริเป็นคุณธรรม ๔ และธรรมทั้ง ๔ นี้  มีอยู่ในสันดานบุคคลเป็น
ปุถุชนประกอบด้วยกิเลส  นี่แหละคำพระองค์ตรัสไว้ว่า  บุคคลที่เป็นอาสวักขันแล้วเรียกว่า
เป็นสมณะมั่นคงแล้ว


อัคคาอัคคสมณปัญหา ที่ ๑๐

             ภนฺเต  นาคเสน  ภาสิตํ  เจตํ  ภควตา  อาสวานํ  ขยาย  สมโณ  โหตีติ


มิลินทปัญหา




อาสวักขยญาณ
ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มี กิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ(พิจารณา)

ขอบคุณข้อมูล
http://nkgen.com/427.htm

จิตใจของผู้บรรลุถึงอาสวขยญาณ เป็นจิตใจที่ผ่องแพ้ว ชื่นบาน เยือกเย็น และมั่นคง ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่ตื่นเต้น ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ใดๆ แม้จะร้ายแรงสักปานใดก็ตาม
ขอบคุณข้อมูล
บุญญสิกขา บุญญสิกขา ได้ร่วมบริจาคเข้าโครงการของเว็บพลังจิตเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา ในระยะ2เดือนนี้
ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่ แน่นิ่ง

[๓๐๐]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน ป่าช้า  อันฝูงกา
จิกกินอยู่บ้าง  ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง  ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง  หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง
หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง  สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆ  ชนิดฟอนกินอยู่บ้าง  จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบ
กายนี้ว่า  แม้กายนี้แล  ก็เหมือนอย่างนี้  เป็นธรรมดา  มีความเป็นอย่างนี้  ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
เมื่อภิกษุนั้นไม่  ประมาท  มีความเพียร  ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้  ย่อมละความดำริพล่านที่
อาศัยเรือนเสียได้ 
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้  จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่  แน่นิ่ง
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น  ตั้งมั่น
  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  แม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ  ฯ

กายคตาสติ 
คำว่า อาการ 32 เป็นคำที่มาจากคติในทางพระพุทธศาสนา ที่ถือว่าร่างกายของคนเราสามารถพิจารณาจำแนกออกเป็นธาตุทั้ง 4 คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)  อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)  เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) และ วาโยธาตุ (ธาตุลม)  ในจำนวนธาตุทั้ง 4 นี้ มีอยู่ 2 ธาตุ ที่สามารถจับต้องได้ คือ ปฐวีธาตุ กับ อาโปธาตุ

ปฐวีธาตุ เป็นธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง มี 19 อย่าง ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า  กับ มันสมอง อีก 1 อย่าง รวมเป็นทั้งหมด 20 อย่าง  ส่วน อาโปธาตุ เป็นธาตุที่มีลักษณะเอิบอาบ มี 12 อย่าง ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร   หากเรานับรวม ปฐวีธาตุ และ อาโปธาตุ ก็จะได้ 32 อย่าง เราจึงเรียกว่า อาการ 32 ซึ่งตรงกับภาษาบาลีว่า ทวัตติงสาการ     อาการ 32 จึงมิได้หมายถึงอวัยวะ 32 ส่วน อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่หมายถึงส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายของเราตามที่อธิบายไว้เบื้องต้น


http://www.etipitaka.com/compare?lang1=thai&lang2=pali&p1=164&p2=205&volume=14

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สิ้นสงสัยด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้อง


พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มากแล้วจะสิ้นสงสัย" ความสงสัยจะไม่มีวันสิ้นไปได้ ด้วยการคิด ด้วยทฤษฎี ด้วยการคาดคะเน หรือด้วยการถกเถียงกัน หรือจะอยู่เฉยๆไม่ปฏิบัติภาวนาเลย ความสงสัยก็หายไปไม่ได้อีกเหมือนกัน กิเลสจะหายสิ้นไปได้ก็ด้วยการพัฒนาทางจิต ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น


หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=38483

พระสัจธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป

พวกภิกษุ  เล่าเรียนสูตร อันถือกันมาผิด
ด้วยบทและพยัญชณะที่ใช้กันมาผิด
เมื่อบทและพยัญชนะใช้ผิดกันแล้ว
แม้แต่ความหมายก็มีนัยอันคลาดเคลื่อน
ภิกษุทั้งหลาย! นี้มูลกรณีย์หนึ่ง
ซึ่งทำให้พระสัจธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป

บาลี พระพุทธภาษิต จตุกก. อ. ๒๑/๑๙๗/๑๖0

สัจธรรม คือ ความเป็นไปของธรรมชาติ โดยปราศจากความเป็นตัวเรา ของเรา อย่างสิ้นเชิง

บัวสี่เหล่า

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนมหานทีไหลไปสู่ทิศปราจีน


๖. มหานทีปาจีนนินนสูตร
ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนมหานทีไหลไปสู่ทิศปราจีน


[๒๓๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหิ
ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีนแม้ฉันใด   ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘  เมื่อกระทำให้มาก

ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์  ๘  ก็น้อมไปสู่นิพพาน    โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน  ฉันนั้นเหมือนกัน.                                 
[๒๓๖]   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์  ๘ อย่างไรเล่า
จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน   โน้มไปสู่นิพพาน  โอนไปสู่นิพพาน   ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย   ภิกษุในธรรมวินัยนี้     ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ    อันน้อมไปสู่นิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน  โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ   อันน้อมไป

ปาจีนนินนสูตร














แดงเสรีชน

แดงเสรีชน : ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
ให้ลมพัดพา ใจฉันไปหาใจเธอ   ล่องลอยดั่งนกละเมอ ห่วงเธอหนอคนเสื้อแดง
สู้แดดตากฝน อดทนแม้วันอับแสง  ฝากดาราดวงสีแดง จันทร์ช่วยอีกแรงให้เธอปลอดภัย..
ถนนคนจริง ย่างเดินย่ำรอยศรัทธา  เลือดเรากลั่นเป็นน้ำตา ผ่านมาไม่เคยหวั่นไหว
จะทรนง ไร้เส้นแต่มีหัวใจ  แลกเอาประชาธิปไตย จะหนักแค่ไหนไม่เห็นกังวล..
* คนเสื้อแดง สุดแรงแดงทั้งแผ่นดิน  โค่นล้มชนชั้นหมดสิ้น แผ่นดินเท่าเทียมทุกคน
จะกอดคอเธอ จะเคียงข้างกัน ฝ่าวันทุกข์ทน  ลบรอยอำมาตย์ให้พ้น ปลดแอกผองชนพ้นผู้กดขี่..
** ฟ้าอัสดง หลงลืมก้อนดินหรือเปล่า  ฝากใจฝากคืนไร้ดาว ห่มหนาวให้เธอฝันดี
ตรงเส้นขอบฟ้า เมฆดำบังตาไม่มี  แสงทองส่องชัยศึกนี้ ประกาศศักดิ์ศรี แดงเสรีชน…



ทิศตะวันตก หรือ ทิศประจิม หรือ ทิศปัจฉิม เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออกขวามือของทิศใต้และซ้ายมือของทิศเหนือโดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกอยู่ด้านซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ด้านขวาของแผนที่ดาว
ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตกพอดีในวันวิษุวัต
คตินิยมและความเชื่อ

ตาม
ตำราพรหมชาติมีความเชื่อว่าพืชมงคลประจำทิศตะวันตกคือ มะยมและ มะขามส่วนเทวดาประจำทิศตะวันตกคือพระพฤหัสบดี


ทิศตะวันตก

N. West
    def:[ทิศทางที่พระอาทิตย์ลับในเวลาเย็น]
    syn:{ทิศประจิม}
    ant:{ทิศตะวันออก}
    sample:[ทิศตะวันตกของไทยติดกับประเทศพม่า]

ทิศตะวันออก

N. east
    def:[ทิศทางที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้า]
    syn:{ทิศบูรพา}
    ant:{ทิศตะวันตก}{ทิศประจิม}
    sample:[ประเทศไทยมีอาณาเขตทิศตะวันออกจดประเทศลาว และประเทศกัมพูชา]

http://th.w3dictionary.org/index.php?q=%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81
http://www.palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=3000157

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พระองค์ทรงบัญญัญํติโลกกุตตรธรรมของคนทั่วไป

โลกย่อมยอมรับบัญญัติแห่งทรัพย์สี่ประการอย่างนั้นหรือพราหมณ์!
หามิได้  พระโคดม...
พราหมณ์เอย    เราขอบัญญัติโลกกุตรธรรมอันประเสริฐว่าเป็นของคน
ก็ต่อเมื่อ

ระลึกถึงสกุลวงศ์ทางมารดาบิดาแต่กาลก่อนว่าเป็นตะกูลใดอัตตภาพของเขาย่อมเป็นดังนั้น

เช่นเดียวกับไฟได้อาศัยอะไรเกิดขึ้นย่อมเป็นดังนั้นเช่น ไม้ฟืน สเก็ดไม้ หญ้าแห้ง หรือขี้วัว
เราบัญญัติว่าโลกกุตรธรรมเป็นของคนก็ต่อเมื่อระลึกได้ว่าอัตตภาพของตนมาจากสกุลใดๆฉันนั้น

พราหมณ์! แต่หากกุลบุตรแห่งกษัตริย์ต้องการลาออกจากสกุลกษัตริย์และได้อาศัยพระธรรมวินัยแห่งตถาคตเพื่อละเว้นการทำปาณาติปาต อทินนาทานจากเมถุนธรรม  เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท ปิสาวาท ผรุสวาท จากสัมผัปปลาปวาท เป็นผู้ไม่มีอภิชฌาไม่มีจิตพยาบาท เป็นผู้มีสัมมาทิฐิ
ย่อมสำเร็จเเละเป็นเครื่องนำพาออกจากทุกข์ได้
  กุลบุตรเเห่งพราหมณ์ เวสส์ สูทณ ก็ย่อมเป็นเช่นเดียวกัน

พราหมณ์!   พราหมณ์ท่านเข้าใจว่าพราหมณ์เป็นพวกเดียวเท่านั้นหรือที่จะเจริญเมตตากรุณาจิต ชนเหล่าอื่นมิควรเจริญเมตตาจิตและลดการเบียดเบียน ?


หาได้ไม่พระเจ้าข้าพระโคดม    กษัตริย์ก็สมควร เวสส์ก็สมควร สูทรก็สมควร

พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์๔ประการให้แก่

ข้าแต่พระสมณะโคดมผู้เจริญ
พราหมณ์ทั้งหลายได้บัญญัติทรัพย์๔ประการให้แก่
กษัตริย์ พราหมณ์ เวสส์ และสูทรคือ

การเที่ยวภิกขาจารเป็นของพราหมณ์
คันศรและกล่องธนูเป็นของกษัตริย์
คันไถและโครักขกรรมเป็นของเวสส์
เคียวและไม้คานเป็นทรัพของสูทร

เมื่อพราหมณ์เหยียด*การภิกขาจารย์
กษัตริย์เหยียดคันศร  เวสส์เหยียดคันไถ
สูทรเหยียดคันไถและโครักขกรรม
คือการทำกิจนอกหน้าที่




วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่ใคร ๆ ไม่อาจท้วงติงได้

          ภิกษุ ท.! ตถาคตเป็นผู้ที่ใครๆ ไม่อาจท้วงติงได้ด้วยธรรม ๓ อย่างคือ:-
          ภิกษุ ท.! (๑) ตถาคตมีธรรมอันตนกล่าวไว้ดีแล้ว, ในธรรมนั้นๆ ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม,หรือใครๆ ในโลก จักท้วงติงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ท่านไม่ใช่เป็นผู้มีธรรมอันตนกล่าวไว้ดีแล้ว เพราะเหตุเช่นนี้ๆ" ดังนี้.
          ภิกษุ ท.! (๒) ปฏิปทาเครื่องทำผู้ปฏิบัติให้ถึงพระนิพพาน เป็นสิ่งที่เราบัญญัติไว้ดีแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย, โดยอาการที่สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติแล้วย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ ท. ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมอันตนเห็นแล้วนี่เองเข้าถึงวิมุตตินั้นแล้วแลอยู่. ในปฏิปทานั้นๆ ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่าสมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม, หรือใครๆ ในโลก จักท้วงติงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ปฏิปทาเครื่องทำผู้ปฏิบัติให้ถึงพระนิพพาน เป็นสิ่งที่ท่านบัญญัติไว้ดีแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย, -โดยอาการที่ ฯลฯ แล้วแลอยู่ ก็หาไม่" ดังนี้.
          ภิกษุ ท.! (๓) สาวกบริษัทของเรา นับด้วยร้อยเป็นอเนก ที่ได้ทำให้แจ้ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ* ฯลฯ. ในข้อนั้น เราไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม, หรือใคร ๆ ในโลกจักท้วงติงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "สาวกบริษัทของท่าน มีนับด้วยร้อยเป็นเอนกก็หามิได้ ที่ได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ" ดังนี้.
          ภิกษุ ท.! เมื่อเรามองไม่เห็นวี่แววช่องทางนั้นๆ ก็เป็นผู้ถึงความเกษมถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้. นี้แล เป็นสิ่งที่ใครไม่ท้วงติงตถาคตได้ ๓ อย่าง.
บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๘๔/๕๕.

http://www.buddhadasa.org/html/life-work/dhammakot/01-buddha/3-13.html

ทรงมีวิธี "รุก" ข้าศึกให้แพ้ภัยตัว

ดูก่อนปริพพาชกทั้งหลาย!
ถ้าผู้ใดกล่าวหาเราว่า "ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้น ไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ประพฤติตาม" ดังนี้. เราก็จักซักไซ้สอบถามไล่เลียงเขาให้เป็นอย่างดี (ถึงประโยชน์ที่เขาว่าจะเป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ประพฤติตาม). เขานั้น ครั้นถูกเราซักไซ้สอบถามไล่เลียงเป็นอย่างดีแล้ว ย่อมหมดหนทาง ย่อมเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากจะตกอยู่ในฐานะลำบาก ๓ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือตอบถลากไถลนอกลู่นอกทางบ้าง, แสดงความขุ่นเคือง โกรธแค้น น้อยอกน้อยใจ ออกมาให้ปรากฏบ้าง, หรือต้องนิ่งอั้น หมดเสียง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีคำพูดหลุดออกมาได้ เหมือนอย่างสรภะปริพพาชกนี้บ้าง.

บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๓๘/๕๐๔. ตรัสแก่ปริพพาชกทั้งหลาย ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินี.

-ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากhttp://www.buddhadasa.org/html/life-work/dhammakot/01-buddha/3-09.html

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เกียรติคุณความดีงามของสัตตบุรุษ

ดูกรณ์ภิกษุทั้งหลาย กลิ่นดอกไม้กลิ่นจันทน์
ไม่สามารถหอมหวนทวนลมได้
 แต่กลิ่นแห่งเกียรติคุณความดีงามของสัตตบุรุษ
นั้นแล สามารถจะหอม ไปได้ทั้งตามลม
และทวนลมคนดีย่อมมี
เกียรติคุณฟุ้งขจรไปได้ทั่วทิศ


------พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน-----------
  •  

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เราเป็นผู้ถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว

สุตตนิบาต - ๔. อัฏฐกวรรค - ๑๕. อัตตทัณฑสูตร
อัตตทัณฑสูตรที่ ๑๕
 ภัยเกิดแล้วแต่อาชญาของตน ท่านทั้งหลายจงเห็นคนผู้ทะเลาะกัน
เราจักแสดงความสลดใจตามที่เราได้สลดใจมาแล้ว เราได้เห็นหมู่สัตว์
กำลังดิ้นรนอยู่ (ด้วยตัณหาและทิฐิ) เหมือนปลาในแอ่งน้ำน้อย ฉะนั้น
ภัยได้เข้ามาถึงเราแล้ว เพราะได้เห็นคนทั้งหลายผู้พิโรธกันและกัน โลก
โดยรอบหาแก่นสารมิได้ ทิศทั้งปวงหวั่นไหวแล้ว เราปรารถนาความ
ต้านทานแก่ตนอยู่ ไม่ได้เห็นสถานที่อะไรๆอันทุกข์มีชราเป็นต้น
ไม่ครอบงำแล้ว เราไม่ได้มีความยินดีเพราะได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย
ผู้อันทุกข์มีชราเป็นต้นกระทบแล้วผู้ถึงความพินาศ อนึ่ง เราได้เห็น
กิเลสดุจลูกศรมีราคะเป็นต้นยากที่สัตว์จะเห็นได้ อันอาศัยหทัยในสัตว์
เหล่านี้ สัตว์ถูกกิเลสดุจลูกศรมีราคะเป็นต้นใดเสียบติดอยู่แล้ว ย่อม
แล่นไปยังทิศทั้งปวง บัณฑิตถอนกิเลสดุจลูกศรมีราคะเป็นต้นนั้นออก
ได้แล้ว ย่อมไม่แล่นไปยังทิศและไม่จมลงในโอฆะทั้งสี่ (อารมณ์ที่น่า
ยินดีเหล่าใดมีอยู่ในโลก) หมู่มนุษย์ย่อมพากันเล่าเรียนศิลป เพื่อให้ได้
ซึ่งอารมณ์ที่น่ายินดีเหล่านั้นกุลบุตรผู้เป็นบัณฑิต ไม่พึงขวนขวายใน
อารมณ์ที่น่ายินดีเหล่านั้น พึงเบื่อหน่ายกามทั้งหลายโดยประการทั้งปวง
แล้วพึงศึกษานิพพานของตน มุนีพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนองไม่มี
มายา ละการส่อเสียดเสีย เป็นผู้ไม่โกรธ พึงข้ามความโลภอันลามก
และความตระหนี่เสีย นรชนพึงครอบงำความหลับ ความเกียจคร้าน
ความท้อแท้เสีย ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยความประมาท ไม่พึงดำรงอยู่ในการ
ดูหมิ่นผู้อื่น พึงมีใจน้อมไปในนิพพาน ไม่พึงน้อมไปในการกล่าวมุสา
ไม่พึงกระทำความเสน่หาในรูปและพึงกำหนดรู้ความถือตัว พึงเว้นเสีย
จากความผลุนผลันแล้วเที่ยวไป ไม่พึงเพลิดเพลินถึงอารมณ์ที่ล่วง
มาแล้ว ไม่พึงกระทำความพอใจในอารมณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าไม่พึง
เศร้าโศกถึงอารมณ์ที่กำลังละไปอยู่ ไม่พึงเป็นผู้อาศัยตัณหา เรากล่าว
ความกำหนัดยินดีว่าเป็นโอฆะอันใหญ่หลวงกล่าวตัณหาว่า เป็นเครื่อง
กระซิบใจ ทำใจให้แล่นไปในอารมณ์ต่างๆ กล่าวตัณหาว่าเป็นอารมณ์
แอบใจทำใจให้กำเริบ เปือกตมคือกามยากที่สัตว์จะล่วงไปได้ พราหมณ์
ผู้เป็นมุนี ไม่ปลีกออกจากสัจจะแล้ว ย่อมตั้งอยู่บนบกคือ นิพพาน
มุนีนั้นแล สละคืนอายตนะทั้งหมดแล้วโดยประการทั้งปวง เรากล่าวว่า
เป็นผู้สงบ มุนีนั้นแลเป็นผู้รู้เป็นผู้ถึงเวท รู้สังขตธรรมแล้วอัน
ตัณหาและทิฐิไม่อาศัยเป็นอยู่ในโลกโดยชอบ ย่อมไม่ทะเยอทะยาน
ต่ออะไรๆในโลกนี้ ผู้ใดข้ามกามทั้งหลาย และธรรมเป็นเครื่อง
ข้องยากที่สัตว์จะล่วงได้ในโลกนี้ได้แล้ว ผู้นั้นตัดกระแสตัณหาขาดแล้ว
ไม่มีเครื่องผูกพัน ย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็งท่านจงทำกิเลสชาติ
เครื่องกังวลในอดีตให้เหือดแห้ง กิเลสชาติเครื่องกังวลในอนาคตอย่า
ได้มีแก่ท่าน ถ้าว่าท่านจักไม่ถือเอาในปัจจุบันไซร้ ท่านจักเป็นผู้สงบ
เที่ยวไป ผู้ใดไม่มีความยึดถือในนามรูปว่าเป็นของเราโดยประการ
ทั้งปวง และไม่เศร้าโศกเพราะเหตุแห่งนามรูปอันไม่มี ผู้นั้นแล
ย่อมไม่เสื่อมในโลก ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา
และว่า สิ่งนี้ของผู้อื่น ผู้นั้นไม่ประสบการยึดถือในสิ่งนั้นว่าเป็นของ
เราอยู่ ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี บุคคลใดย่อมไม่เศร้าโศกว่า
ของเราไม่มี เราเป็นผู้ถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว จะบอก
อานิสงส์ ๔ อย่างในบุคคลนั้น ดังนี้ว่าบุคคลนั้นไม่มีความขวนขวาย
ไม่กำหนัดยินดี ไม่มีความหวั่นไหวเป็นผู้เสมอในอารมณ์ทั้งปวง
ธรรมชาติเครื่องปรุงแต่งอะไรๆ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่หวั่นไหวผู้รู้แจ้ง ผู้นั้น
เว้นแล้วจากการปรารภมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ย่อมเห็นความปลอด
โปร่งในที่ทุกสถาน มุนีย่อมไม่กล่าวยกย่องตนในบุคคลผู้เสมอกัน
ผู้ต่ำกว่า ผู้สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่
ยึดถือ ไม่สละธรรมอะไรๆในบรรดาธรรมมีรูปเป็นต้น ฯ
จบอัตตทัณฑสูตรที่ ๑๕
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%95_-_%E0%B9%94._%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_-_%E0%B9%91%E0%B9%95._%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สันทิฏฐิโก เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาจะถึงรู้ด้วยตนเอง

“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ ฟังเสียงด้วยหู.... ดมกลิ่นด้วยจมูก.... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย.... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว.... เป็นผู้เสวยรูปเป็นต้นนั้น แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูปเป็นต้นนั้น และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด รูปเป็นต้น อันมีอยู่ภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในรูปเป็นต้นในภายใน อาการที่ภิกษุ.... รู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปเป็นต้น อันมีในภายในว่าเรามีความกำหนัดในรูปเป็นต้นในภายใน... และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปเป็นต้นอันไม่มีในภายใน ว่าเราไม่มีความกำหนัด ในภายใน อย่างนี้แลชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ศึกษาจะถึงรู้ด้วยตนเอง....”

อุปวาณสูตร สฬา. สํ. (๗๙-๘๒)
ตบ. ๑๘ : ๕๐-๕๑ ตท. ๑๘ : ๔๐-๔๑
ตอ. K.S. ๔ : ๒๑-๒๒


http://www.84000.org/true/355.html

นี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์

"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์แปด ประเสริฐสุด บรรดาบททั้งหลาย บทสี่คืออริยสัจ ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ คือ การปราศจากความกำหนัดยินดีประเสริฐที่สุด บรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้า ผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด

มรรคมีองค์แปด นี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์แปด นี้ อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติ เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป ความเพียรพยายามเธอทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติตนดังนี้ พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร"


          มรรค8
 
  1. สัมมาทิฏฐิ
  2. สัมมาสังกัปปะ
  3. สัมมาวาจา
  4. สัมมากัมมันตะ
  5. สัมมาอาชีวะ
  6. สัมมาวายามะ
  7. สัมมาสติ
  8. สัมมาสมาธิ


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สวรรค์ชั้นยามา

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้วฃยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความจริงอันประเสริฐ

ภิกษุทั้งหลาย   นี้แลคือความจริงอันประเสริฐเรื่องการทำให้สัตว์ดับไม่เหลือแห่งทุกข์
คือข้อปฏิบัติเหมือนหนทางอันประเสริฐประกอบด้วยองค์ 8 ประการคือ



  
  1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง เห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
  2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
  3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
  4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
  5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
  6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
  7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอจิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
  8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ ทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มัจฉริยะสูตร

 [๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่) ๑ กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล) ๑ ลาภ-
*มัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) ๑ วรรณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ) ๑ ธรรมมัจฉริยะ
(ตระหนี่ธรรม) ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละ
มัจฉริยะ ๕ ประการนี้แล ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=9829&Z=9836

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันลือสีหนาท

ภิกษุทั้งหลาย !  พญาสัตว์ชื่อสีหออกจากถ้ำที่อาศัยในเวลาเย็นเหยียดกายเเล้วเหลียวมองดูทิศทั้งสี่โดยรอยบันลือสีหนาทสามคครั้งแล้ว ก็เที่ยวไปเพื่อหาอาหาร บันดาสัตว์เดรัจฉานเหล่าใดได้ยินเสียงบันลือสีหนาทสัตว์เหล่านั้นก็ สดุ้งกลัวเหี่ยวแห้งใจ พวกที่อาศัยโพรงก็เข้าโพรง อาศัยน้ำก็ลงน้ำ อยู่ป่าก็เข้าป่าเหล่าช้างของพระราชาในหมู่บ้านนิคม ในเมืองที่ผูกล่ามไว้ด้วยเชือกเหนียวก็พากันกลัวกระชากเชือกให้ขาดแล้ว ถ่ายมูลและกรีสพลางแล่นหนีไปพลาง ทั้งข้างโน้นและข้างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! พญาสัตว์ชื่อสีหะเป็นสัตว์ที่มีฤทธิ์ มาก มีศักดิ์มากมีอนุภาพมาก กว่าบันดาสัตว์เดรัจฉานด้วยอาการอย่างนี้แล ...


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ แปรโดยพุทธทาสภิกขุ

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พระพุทธองค์ทรงมิได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อให้เขานับถือ

ภิกษุทั้งหลาย! การประพฤติพรหมจรรย์นี้
มิใช่เพื่อหลอกลวงคนให้มานับถือ
มิใช่เพื่อเรียกคนมาเป็นบริวาร
มิใช่เพื่ออนิสงส์เป็นลาภสักการะเเละเสียงสรรเสริญ
มิใช่เพื่ออนิสงส์เพื่อเป็นเจ้าลัทธิหรือเพื่อค้านลัทธิอื่นให้ล้มไป
และมิได้พื่อให้ผู้อื่นคิดว่าเป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ก็หาได้ไม่
ภิกษุทั้งหลาย! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติเพื่อสมรวม เพื่อละ
เพื่อคลายกำหนัด และเพื่อดับทุกข์ให้สนิท


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ แปรโดยพุทธทาสภิกขุ


http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/005126.htm

การปรากฎของตถาคตจึงปรากฎสัมโพฌชงค์ทั้งเจ็ด

การปรากฎของ จักรพรรดิ์แก้ว จะปรากฏของรัตนทั้งเจ็ดประการคือ
จักรแก้ว
ช้างแก้ว
ม้าแก้ว
แก้วมณี
นางแก้ว
คหบดีแก้ว
ปรินายกแก้ว
(นี้เป็นฉันใด)
ภิกษุทั้งหลาย!
การปรากฎของตถาคตจึงปรากฎสัมโพฌชงค์ทั้งเจ็ดคือ
สติสัมโภฌชงค์
ธัมมวิจรณะสัมโพฌชงค์
วิริยะสัมโพฌชงค์
ปีติสัมโพฌชงค์
ปัสสัทธิสัมโพฌชงค์
สมาธิสัมโพฌชงค์
อุเบกขาสัมโพฌชงค์


จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์แปลโดยพุทธทาสภิกขุ

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

“อย่าเลย ! เทวทัต เธออย่าพอใจที่จะปกครองภิกษุสงฆ์เลย”

พระศาสดารับสั่งว่า
ภิกษุพึงถือเป็นวัตรได้ตามความสมัครใจ
ภิกษุรูปใดปรารถนาจะอยู่ป่าเป็นวัตร
รูปใดปรารถนาจะอยู่บ้าน
ก็จงอยู่บ้านรูปใดปรารถนาจะถือบิณฑบาตเป็นวัตร
ก็จงถือบิณฑบาตเป็นวัตร
รูปใดปรารถนาจะรับกิจนิมนต์ก็จงยินดีกิจนิมนต์
รูปใดปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ก็จงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใดจะรับผ้าคหบดีจีวร
ก็จงรับ เราอนุญาตการอยู่โคนไม้เป็นเสนาสนะ ๘ เดือน นอกฤดูฝน
ในฤดูฝนต้องอยู่ในที่มุงที่บัง
เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือ
ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ
คือไม่สงสัยว่าเขาฆ่าสัตว์นั้นเพื่อถวายพระ



http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18293

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิชชา-วิมุตติบริบูรณ์


เพราะโพชฌงค์บริบูรณ์
ภิกษุ ท.! โพชฌงค์ทั้งเจ็ด
 อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร ทำ ให้
มากแล้วอย่างไร จึงทำวิชชาและ
วิมุตติให้บริบูรณ์ได้?
ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญ
สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ
 อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละลง);



อริยสัจจากพระโอษฐ์
ภาคต้น
คณะธรรมทาน

ธรรมทานมูลนิธิ จัดพิมพ์ด้วยดอกผลทุนพระยาลัดพลีธรรม
ประคัลภ์เป็นหนังสืออันดับที่สอง ในหนังสือชุด “ลัดพลีธรรม
ประคัลภ์อนุสรณ์”“ลัดพลีธรรมประคัลภ์อนุสรณ์””
กองตำรา

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองหวังจะพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ

ดูกร!คฤหบดีและคฤหปตานี ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองหวังจะพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพไซร้
ทั้งสองเทียวพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามีทั้งสองนั้นย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจาคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุก ทั้งสองฝ่ายมีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก ฯ
จบสูตรที่ ๕


ขอบคุณข้อมูล
http://www.tipitaka.com/marriage.htm

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

จงอย่าตีเสมอผู้มีกรุณาวางคนได้ยก(เขา)ไว้ในฐานะ


 ความโกรธอันเกิดมาจากอาฆาต-วัตถุ  ๑๐  อย่าง 
ความผูกโกรธ    อันครอบคลุมจิตบ่อย  ๆ   
ก็ฉันนั้นความลบหลู่ อันการทำสิ่งที่เขาทำดีแล้วให้พินาศไป
ไม่ว่าของคฤหัสถ์หรือของบรรพชิต   (มีลักษณะเหมือนกัน)  
อธิบายว่า  ฝ่ายคฤหัสถ์ (เดิมที)
เป็นคนขัดสน  (ครั้นแล้ว)
ผู้มีกรุณาลางคนได้ยก (เขา) ไว้ในฐานะ ที่สูงส่ง   
 ต่อมา (เขากลับกล่าวว่า)ท่านทำอะไรให้ข้าพเจ้าชื่อว่า
ทำลายความดีที่คนผู้กรุณานั้นทำไว้แล้วให้พินาศไป       

ฝ่ายบรรพชิตแล จำเดิมแต่สมัยเป็นสามเณรน้อย
  อันอาจารย์หรืออุปัชฌาย์ท่านใดท่านหนึ่ง อนุเคราะห์
ด้วยปัจจัย ๔ และด้วยอุทเทศและปริปุจฉา  
 ให้สำเหนียกความ เป็นผู้ฉลาดในปกรณ์เป็นต้น 
 ด้วยธรรมกถา สมัยต่อมา อันพระราชา
และ ราชมหาอำมาตย์เป็นต้น   
 สักการะเคารพแล้ว (เธอ) กลับขาดความ



ยำเกรงในอาจารย์และอุปัชฌาย์เที่ยวไป อันอาจารย์เป็นต้นกล่าวว่า ผู้นี้
สมัยเขาเป็นเด็ก เราทั้งหลายช่วยอนุเคราะห์และส่งเสริมให้ก้าวหน้าอย่างนี้
ก็แต่ว่าบัดนี้ เขาไม่น่ารักเสียแล้ว ก็กล่าว ว่า พวกท่านทำอะไรให้ผม ดังนี้
ชื่อว่า ทำลายความดีที่อุปัชฌาย์และอาจารย์เหล่านั้น ทำแล้วให้พินาศไป

ความลบหลู่ที่ทำความดีที่ท่านทำไว้แล้วให้พินาศไป ของบรรพชิตนั้นย่อม
เกิดขึ้นทำร้ายจิต คือไม่ให้จิตผ่องใส เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
 เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ดังนี้. เหมือนอย่างว่า ความลบหลู่นี้เป็นฉันใด
การตีเสมอ (ซึ่งได้แก่) การถือเป็นคู่แข่ง ก็ฉันนั้น เกิดขึ้นลามไปอ้างถึงบุคคล
แม้เป็นพหูสูต โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านผู้เป็นพหูสูตเช่นนี้ ยังมีคติไม่แน่นอน(แล้ว)
ท่านกับผมจะมีอะไรวิเศษเล่า ความริษยา ได้แก่การนึกตำหนิสักการะ
เป็นต้นของคนอื่น.ความตระหนี่ ได้แก่(การที่ )ทนไม่ได้ที่สมบัติ
ของตนมีคนอื่นร่วมใช้สอย มายา ได้แก่กิริยาที่เป็นการประพฤติ หลอกลวง.
 ความโอ้อวดเกิดขึ้นโดย(ทำให้)เป็นคนคุยโต.จริงอยู่ คนคุย
โตย่อมเป็นเหมือนปลาอานนท์.





วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่เป็นโทษมาก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราไม่เห็นธรรมอื่นสักข้อ ที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) โทษทั้งหลายมีทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง



เอกนิบาต อังคุตรนิกาย
พุทธวัจนะ/จากหนังสือพระไตรปิฎกฉบับย่อ หน้า3
โดย พ.อ.(พ) เสามนัส โปตระนันทน์

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สาระ

"ผู้เห็นในสิ่งไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ
 เห็นในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ
มีความดำริผิดเป็นทางไป
 ย่อมไม่ได้บรรลุสิ่งที่เป็นสาระ."
      "ผู้รู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็นสาระ
สิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ
 มีความดำริชอบเป็นทางไป
 ย่อมบรรลุสิ่งเป็นสาระได้."

พละกำลังทั้ง ๗ ประการ


              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๗ ประการเหล่านี้ คือ
              ๑. กำลังคือความเชื่อ (สัทธาพละ)      
              ๒. กำลังคือความเพียร (วิริยพละ)
              ๓. กำลังคือความละอายต่อบาป (หิริพละ)   
              ๔. กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป (โอตตัปปพละ)
              ๕. กำลังคือสติความระลึกได้ (สติพละ)             
              ๖. กำลังคือความตั้งใจมั่น (สมาธิพละ)
              ๗. กำลังคือปัญญา (ปัญญาพละ)
              ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๗ ประการเหล่านี้แล."
 


สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๓/๒

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวันก็ฉันนั้นแล ฯ

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่ จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใดธรรมชาติที่เรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้างนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวันก็ฉันนั้นแล ฯ”

ดูก่อนวัจฉะ ผู้ใดแลห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง

 “.....ดูก่อนวัจฉะ ผู้ใดพูดว่าพระสมณโคดมตรัสว่า พึงให้ทานแก่เราคนเดียว ไม่ควรให้แก่คนอื่น ๆ พึงให้ทานแก่สาวกของเรานี้แหละ ไม่ควรให้ทานแก่สาวกของคนอื่น ๆ .. ดังนี้ ผู้นั้นชื่อว่าไม่พูดตามที่เราพูดทั้งกล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่ดี ไม่เป็นจริง
“.....ดูก่อนวัจฉะ ผู้ใดแลห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง วัตถุ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ

ย่อมทำอันตรายแก่บุญของทายก ๑
ย่อมทำอันตรายแก่ลาภของปฏิคาหก ๑
ตนของบุคคลนั้นย่อมเป็นอันถูกกำจัด และถูกทำลายก่อนทีเดียวแล ๑....
 http://84000.org/true.html

ฆ่าตัวตายไม่ควรตำหนิเสมอไป


 “ดูก่อนสารีบุตร พระฉันนะยังมีสกุลมิตร สกุลสหายและสกุลที่คอยตำหนิอยู่ก็จริง แต่เราหาเรียกบุคคลว่า ควรถูกตำหนิด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่...... บุคคลใดแลทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ ฉันนะภิกษุหามีลักษณะนี้ไม่ ฉันนะภิกษุหาศาสตรามาฆ่าตัว อย่างไม่ควรถูกตำหนิ”
ฉันโนวาทสูตร อุ. ม. (๗๕๓)
ตบ. ๑๔ : ๔๗๙ ตท. ๑๔ : ๔๐๗
ตอ. MLS. III : ๓๑๘-๓๑๙

เราไม่รับรู้เรื่องมีการด่า

“ ดูก่อนพราหมณ์..... ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่านโกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับรู้เรื่องมีการด่าเป็นต้นของท่านนั้น ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าของท่านผู้เดียว ดูก่อนพราหมณ์.... ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่ หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่.... ผู้นี้ เรากล่าวว่า ย่อมบริโภคร่วมกัน ย่อมกระทำตอบกัน เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบด้วยท่านเป็นอันขาด ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้น เป็นของท่านผู้เดียว”

อักโกสกสูตรที่ ๒ ส. สํ. (๖๓๒)
ตบ. ๑๕ : ๒๓๘ ตท. ๑๕ : ๒๒๕
ตอ. K.S. I : ๒๐๒

อย่าดูหมิ่นสตรี

ขณะที่พระเจ้าปเสนทิโกศลกำลังประทับนั่งเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่ ราชบุรุษได้เข้ามาทูลว่า พระราชินีประสูติพระราชธิดาออกมา พระราชาทรงผิดหวังมาก เพราะพระองค์ต้องการโอรส เช่นเดียวกับชาวอินเดียทั้งหลาย ที่อยากได้บุตรชายมากว่าบุตรหญิง ?

 “ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็นใหญ่ยิ่งกว่าปวงชน แท้จริงแม้สตรีบางคนก็เป็นผู้ประเสริฐ พระองค์จงชุบเลี้ยงไว้ สตรีที่มีปัญญา มีศีลปฏิบัติพ่อผัว แม่ผัวดังเทวดา จงรักสามี ฯ
“บุรุษที่เกิดจากสตรีนั้น ย่อมเป็นคนแกล้วกล้า เป็นเจ้าแห่งทิศได้บุตรของภริยาที่ดีเช่นนั้น แม้ราชสมบัติก็ครอบครองได้”

ธีตุสูตรที่ ๖ ส. สํ. (๓๗๗)
ตบ. ๑๕ : ๑๒๕ ตท. ๑๕ : ๑๒๑
ตอ. K.S. I : ๑๑๑

http://84000.org/true/112.html


ตัณหายังคนให้เกิดจิต

ภัยใหญ่ของมนุษย์

ปัญหา (เทวดาทูลถาม) อะไรหนอยังคนให้เกิด อะไรของเขาหนอย่อมวิ่งพล่าน อะไรของเขาหนอเวียนว่ายไปยังสงสาร อะไรหนอเป็นภัยใหญ่ของเขา ?

พุทธดำรัสตอบ “ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์เวียนว่ายไปยังสงสาร ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของเขา”

ปฐมชนสูตรที่ ๕ ส.สํ. (๑๖๗)
ตบ. ๑๕ : ๕๑ ตท. ๑๕ : ๕๐
ตอ. K.S. I : ๕๒

ความทุกข์ที่ผู้อื่นทำให้มีอยู่หรือไม่

เมื่อบุคคลถูกเวทนาทิ่มแทง [รู้] อยู่ว่า ผู้กระทำคนหนึ่ง ผู้เสวยเป็นอีกคนหนึ่ง เราจะกล่าวว่า ทุกข์ผู้อื่นกระทำให้ ดังนี้ อันนี้เป็นอุจเฉททิฏฐิไป ดูกร กัสสป ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้ง ๒ นั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับ ด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้



อเจลกัสสปสูตร
ว่าด้วย ความทุกข์
http://www.navy.mi.th/newwww/code/special/budham/tp/tp160117.htm

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

มัชฌิมาปฏิปทาเป็นไฉน?



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มี
สัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
อยู่... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่...

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัด อภิชฌา* และโทมนัส* ในโลกได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา


*อภิชฌา [อะพิดชา] น. ความโลภ, ความอยากได้. (ป.).
*โทมนัส[โทมมะ-] น. ความเสียใจ, ความเป็นทุกข์ใจ. (ป. โทมนสฺส).
 พจนานุกรม ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
guru.sanook.com

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ( มก. เล่ม 34 หน้า 595)
 เครดิต http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=6141&mode=threaded&pid=40753

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

๓๘. เรื่องพระอังคุลิมาลเถระ [๓๐๑]

 ภิกษุทั้งหลายถามพระอังคุลิมาล
ว่า  " ผู้มีอายุ ท่านเห็นช้างตัวดุร้าย   ยืนกั้นฉัตรอยู่แล้ว   ไม่กลัวหรือหนอ  ? "
พระอังคุลิมาลตอบว่า   " ไม่กลัว  ผู้มีอายุ."     
ภิกษุเหล่านั้น  กราบทูลพระศาสดา  "  พระเจ้าข้า  พระอังคุลิมาล
พยากรณ์พระอรหัตด้วยคำไม่จริง."
พระศาสดาตรัสว่า  " ภิกษุทั้งหลาย    อังคุลิมาลบุตรของเราย่อมไม่
กลัว,  เพราะว่า  ภิกษุทั้งหลายเช่นกับบุตรของเรา  ผู้องอาจที่สุดในระหว่าง
พระขีณาสพผู้องอาจทั้งหลาย   ย่อมไม่กลัว " 

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ทานอันเป็นเลิศ

 [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรม
ทาน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือ การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่าย
ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรม
เป็นเลิศ
 
๙. ทานสูตร


อามิษ, อามิส, อามิส*[อามิด, อามิดสะ] หมายถึง
 น. สิ่งของวัตถุเครื่องล่อใจมีเงินเป็นต้น,
 เช่น อย่าเห็นแก่อามิสสินจ้าง. (ส. อามิษ; ป. อามิส).
ธรรม, ธรรมะ*หมายถึง

[ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ
เป็นคนมีศีลมีธรรม; คําสั่งสอนในศาสนา 
ความความจริง ความยุติธรรม, ความถูกต้อง
กฎเกณฑ์,สิ่งทั้งหลาย

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

-ขอบคุณข้อมูล

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ภิกษุทั้งหลายจงรู้เห็นตามที่เป็นว่าไม่เห็นโทษย่อมไม่ถึงทางออก

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่รู้ด้วยจักษุตามที่มันเป็น เห็นรูปทั้งหลายตามที่มันเป็น รู้จักขุวิญญาณตามที่มันเป็น รู้เห็นจักขุสัมผัสตามที่มันเป็น รู้เห็นเวทนาอันเป็นสุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้นกับจักษุสัมผัส เป็นปัจจัยตามที่มันเป็น ย่อมไม่ติดพันในจักษุ ไม่ติดพันในรูป ไม่ติดพันในจักขุวิญญาณ ไม่ติดพันในจักขุสัมผัส ไม่ติดพันในเวทนา อันเป็นสุขหรือทุกข์ ที่เกิดขึ้นที่จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
  เมื่อไม่ติดพัน ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง รู้ทันเเละเห็นโทษตะหนักอยู่
อุปทานทั้งหลายย่อมไม่ก่อตัวพอกพูนต่อไป ลดลงไปเรื่อยๆ เมือนันทิราคะไม่เเส่ซ่าน ย่อมถูกละไปเรื่อยๆ ภพชาติใหม่ก็จะไม่เกิด

พระองค์ทรงรับรองสงฆ์บางรูปเท่านั้นที่เป็นคนของพระองค์

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเหล่าใด ที่เป็นคนหลอกลวง กระด้าง พูดพล่าม ยกตัว จองหอง ใจฟุ้งเฟ้อ ภิกษุเหล่านั้นไม่ใช่คนของเรา ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นได้ออกจากพระธรรมวินัยเสียแล้วย่อมไม่ถึงแห่งความเจริญและไพบูลย์งอกงาม ในธรรมวินัยได้เลย



พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ แปลโดยพุทธทาสภิกขุ

การอบรมอินทรีย์(อินทรีภาวนาที่ยอดเยี่ยม)

ดูกรณ์ ! อานนท์ การอบรมอินทรีย์ภาวนาที่ยอดเยี่ยมเป็นอย่างไรเล่า  เพราะเห็นด้วยตา เพราะได้ยินด้วยหู เพราะได้กลิ่นด้วยจมูก เพราะรู้รสด้วยลิ้น เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย เพราะรู้ธรรมมารมณ์ด้วยใจ ย่อมเกิดชอบใจบ้างไม่ชอบใจบ้าง แก่ภิกษุ เธอจงเข้าใจดังนี้ว่าความชอบใจไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นนี้เป็นสิ่งปรุงแต่ง เป็นธรรมหยาบ เป็นของอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ภาวะต่อไปนี้จึงเกิดความสงบนิ่ง นั่นคืออุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) ทั้งนั้นความชอบใจไม่ชอบใจจึงดับไปอุเบกขาจึงตั่งมั่น

ภิกษุทั้งหลาย  ผู้ที่รู้เห็นจักษุตามที่มันเป็นไป รู้เห็นรูปตามที่มันเป็นไป
รู้เห็นจักขุวิญญาณตามที่มันเป็นไป
รู้เห็นจักษุสัมผัสตามที่มันเป้นไป
รู้เห็นเวทนาอันเป็นสุขหรือทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์รู้เท่าทันโทษเเตระหนักอยู่
ตัญหาอันเป้นตัวก่อภพใหม่ อันประกอบด้วยนันทิราคะก็จะถูกละไปด้วย

อย่างไรจึงจะชื่อว่าได้อยู่ด้วยความไม่ประมาท

ภิกษุ! ทั้งหลายอย่างไรจึงจะชื่อว่าอยู่ด้วยความไม่ประมาท  เมื่อภิกษุทั้งหลายสังวรจักขุนทรีย์ จิตย่อมไม่แส่ซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้ด้วยจักษุ เมื่อจิตไม่แส่ซ่าน ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อปราโมทย์แล้วปีติก็เกิด เมื่อใจปีติกายก็สงบระงับ ผู้มีกายสงบย่อมเป็นสุข ผู้มีจิตสุขย่อมได้สมาธิ เมื่อสมาธิเกิดธรรมก็ปรากฏ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท

จากหนังสือพุทธธรรม พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

เรือนมีการอยู่ครองไม่ดี นำความทุกข์มาให้

เรือนมีการอยู่ครองไม่ดี นำความทุกข์มาให้ การ
อยู่ร่วมกับบุคคลผู้ไม่เสมอกัน นำความทุกข์มาให้ ชนผู้
เดินทางไกลอันทุกข์ตกตามแล้ว เพราะเหตุนั้น บุคคล
ไม่พึงเดินทางไกลและไม่พึงเป็นผู้อันทุกข์ตกตามแล้ว กุลบุตร
ผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เพรียบพร้อมแล้วด้วยยศ
และโภคะ ไปถึงประเทศใดๆ เป็นผู้อันคนบูชาแล้วใน
ประเทศนั้นๆ แล สัตบุรุษย่อมปรากฏได้ในที่ไกล เหมือน
ภูเขาหิมวันต์ อสัตบุรุษแม้นั่งแล้วในที่นี้ก็ย่อมไม่ปรากฏ
เหมือนลูกศรที่บุคคลยิงไปแล้วในเวลากลางคืน ฉะนั้น ภิกษุ
พึงเสพการนั่งผู้เดียว การนอนผู้เดียว ไม่เกียจคร้าน เที่ยวไป
ผู้เดียว ฝึกหัดตนผู้เดียว พึงเป็นผู้ยินดีแล้วในที่สุดป่า ฯ

ความงามแห่งหีบศพอันวิจิตร

 “ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ! ร่างกายนี้เป็นเหมือนเรือนซึ่งสร้างด้วยโครงกระดูก มีหนังและเลือดเป็นฉาบทา ที่มองเห็นเปล่งปลั่งผุดผาดนั้น เป็นเพียงผิวหนังเท่านั้น เหมือนมองเห็นความงามแห่งหีบศพอันวิจิตรตระการตา ผู้ไม่รู้ก็ติดในหีบศพนั้น แต่ผู้รู้เมื่อทราบว่าเป็นหีบศพ แม้ภายนอกจะวิจิตรตระการตาเพียงไร ก็หาพอใจยินดีไม่ เพราะทราบชัดว่าภายในแห่งหีบอันสวยงามนั้นมีสิ่งปฏิกูลพึงรังกียจ”

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต

ดูกร!..วักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม
 ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเราตถาคต
 ผู้ใด เห็นเราตถาคต....
ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม


พุทธวัจนะ



วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ
เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท. ! ความดับสนิท เพราะ
ความจางคลายไปโดยไม่เหลือ
 ของตัณหานั้นนั่นเทียว ความละ
ไปของตัณหานั้น ความสลัดกลับ
คืนของตัณหานั้น ความหลุดออกไป
 ของตัณหานั้น และความไม่มีที่
-อาศัยอีกต่อไปของตัณหานั้น
อันใดอันนี้ เราเรียกว่า
คือความดับไม่เหลือของทุกข์

อริยสัจจากพระโอษฐ์ : พุทธทาสภิกขุ



วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปุญญวิปากสูตร(เจริญเมตตาจิต)

[๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้
เป็นชื่อของความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมรู้ชัดซึ่งผลแห่งบุญอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ที่เราเสวยแล้วตลอดกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี
ครั้นแล้ว เราไม่ได้กลับมายังโลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป
ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อโลกถึงความพินาศ [ถูกไฟไหม้] เราเข้าถึงพรหมโลกชั้น
อาภัสสระ เมื่อโลกยังไม่ถึงความพินาศ เราย่อมเข้าถึงวิมานพรหมอันว่างเปล่า
ได้ยินว่า ในวิมานพรหมนั้น เราเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่
ใครๆ ครอบงำไม่ได้ มีความเห็นแน่นอน มีอำนาจเต็ม เป็นท้าวสักกะผู้เป็น
ใหญ่แห่งทวยเทพ ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ตั้งอยู่ในธรรม เป็นธรรมราชา
มีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ผู้ชนะสงคราม มีชนบทถึงความสถาพรตั้งมั่น
ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ รัตนะ ๗ ประการของเรานั้นคือ จักรแก้ว
ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ขุนพลแก้วเป็นที่ ๗ อนึ่ง
เราเคยมีบุตรมากกว่าพันคน ล้วนแต่เป็นคนกล้าหาญชาญชัย ย่ำยีข้าศึกได้ เรา
ครอบครองปฐพีมณฑลนี้ อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต โดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา
ไม่ต้องใช้ศาตรา ฯ(สูตรที่๙)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=1939&Z=1976&pagebreak=0

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พึงเห็นสิ่งเป็นปัจจุบันและเฉพาะหน้า



















“ผู้มีปัญญา ไม่ควรให้สิ่งล่วงไปแล้วมาตาม ไม่ควรหวังสิ่งซึ่งยังมาไม่ถึง เพราะว่าสิ่งใดล่วงพ้นไปแล้ว สิ่งนั้นอันเราละเสียแล้ว อนึ่ง สิ่งใดซึ่งไม่มาถึงเล่าสิ่งนั้นก็ยังไม่มาถึง เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา จึงไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงไปแล้วมาตามไม่ควรหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ก็ผู้มีปัญญาได้มาเห็นธรรมเป็นปัจจุบันเกิดขึ้น เฉพาะหน้าแจ้งชัดอยู่ในที่นั้น ๆ ใครจะพึงรู้ว่า ความตายจักไม่มีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าสู้ความหน่วงเหนี่ยว ความผูกพันด้วยมฤตยู ความตาย ซึ่งมีเสนาใหญ่นั้นมิได้เลย ฉะนั้นความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน อันผู้มีปัญญาควรทำเสียในวันนี้เลยทีเดียว ไม่มีความเกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างนี้ ผู้นั้นแลเป็นผู้มีราตรีเดียวเจริญดังนี้”

http://www.csd.go.th/news/27102006/

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

*ปุญญกิริยวัตถุสูตร

ดูกร เธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! บุคคลบางคนในโลกนี้กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อถึงแก่กาลกิริยาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

*ปุญญกิริยวัตถุสูตร

(อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๖ หน้า ๑๔๕ บาลีฉบับสยามรัฐ)

เรียบเรียงจากโลกทีปนี และภูมิวิลาสินี โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี

(วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
จากสมาชิกพันทิป

http://www.pantip.com/

การให้ทานนั้นเป็นทางไปสู่สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

ดูกรสารีบุตร! ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวัง ให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า"เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เช่นเดียวกับฤาษีทั้งหลาย แต่กาลก่อนคือท่านอัฏฐกฤาษี ท่านวามกฤาษี ท่านวามเทว ฤาษี ท่านเวสสามิตฤาษี ท่านยมทัคคฤาษี ท่านอังคีรสฤาษี ท่านภารทวาชฤาษี ท่านวาเสฏฐฤาษี ท่านกัสสปฤาษี ท่านภคฤาษี" ดังนี้ แต่เขาให้ทานด้วยคิดว่า "เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตของเราจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส" เขาผู้นั้นให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาทั้งหลาย ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

*ทานสูตร (อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ หน้า ๖๐ บาลีฉบับสยามรัฐ)
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.pantip.com

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อหังการ มมังการ และมานานุสัย

ดูกรราหุล ขันธ์5อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งในอดีต ในอนาคต หรือในปัจจุบัน ที่ภายในตนหรือภายนอกตน หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม บุคคลพึงพิจารณาขันธ์5 ทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูกรราหุล เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อหังการ มมังการ และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอกนี้ จึงจะไม่มี ก้าวล่วงด้วยดีในส่วนแห่งมานะ สงบแล้ว หลุดพ้นแล้วด้วยดี



พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม9 สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เถรวรรค
ขอบคุณข้อมูลhttp://wandeedee.wordpress.com/category/uncategorized/page/3/
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



.

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

น้ำตาที่ไหลของมนุษย์ที่เกิดและตายในวัฎที่ไม่มีที่สิ้นสุดนี้มากมายกว่าน้ำในมหาสมุทธทั้ง๔

๓. อัสสุสูตร

[๔๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่
ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔สิ่งไหนจะ
มากกว่ากัน ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ย่อมทราบธรรมตามที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกข้าพระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญ
ร้องไห้อยู่ เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจเพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้
แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ
[๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้
ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯโดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า
ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน
น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะ
ประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร
ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา ... ของพี่ชายน้องชาย พี่สาว
น้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ... ความเสื่อมแห่งญาติ ...ความเสื่อมแห่งโภคะ ... ได้ประ
สบความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบความ
เสื่อมเพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ
นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียว
เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัดพอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค - อนมตัคคสังยุตต์ - ปฐมวรรค - ๓. อัสสุสูตร
[พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]

ขอบขอมูลจากhttp://th.wikisource.7val.com/

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จักรของพระองค์ไม่มีใครต้านทานได้


ภิกษุ ท. ! ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็เป็นฉันนั้น. ตถาคต
ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการแล้ว ย่อมหมุน ธรรมจักรอันไม่มีจักรอื่นยิ่ง
ไปกว่า
ให้เป็นไปได้โดยธรรม. และจักรนั้น เป็นจักรที่สมณะหรือพราหมณ์
เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถต้านทานให้หมุนกลับได้.
ธรรม ๕ประการนั้นเป็นอย่างไรเล่า?
 ภิกษุ ท.! ตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง
ย่อมเป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักประมาณที่พอเหมาะ รู้จักกาละ รู้จักบริษัท.
ตถาคตประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล จึงหมุน ธรรมจักรอันไม่มีจักรอื่น
ยิ่งกว่า ให้เป็นไปได้โดยธรรม, และจักรนั้นเป็นจักรที่สมณะ หรือพราหมณ์
เทวดา มารพรหม หรือใครๆ ในโลกไม่สามารถต้านทานให้หมุนกลับได้ ดังนี้.

บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๖/๑๓๑. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.

คำว่าจักร ย่อมหมายถึงอำนาจครอบงำ ซึ่งจะเป็นทางกายหรือทางจิต ย่อมแล้วแต่กรณี.


วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อดทน



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ที่อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่า เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ด้อยกว่าตนได้เราเรียกว่าความอดทนนั้นว่าสูงสุด





พุทธวัจน์






.

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปหาสนรก

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารเวฬุวันในเมืองราชคฤห์ มีหัวหน้าช่างฟ้อนชื่อ ตาลบุตรมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วถามปัญหาว่า " ครูอาจารย์ของนักฟ้อนสอนเอาไว้ว่านักฟ้อนคนใดสร้างความรื่นรมย์ให้กับชนทั้งหลายด้วยเรื่องจริงบ้างไม่จริงบ้าง(การแสดงละคร) เมื่อตายไปแล้วจะได้ไปเกิดเป็นสหายกับเทพเจ้าผู้รื่นเริงบนสวรรค์ เรื่องนี้เป็นจริงหรือไม่ " พระพุทธเจ้าตรัสเตือนว่าอย่าถามเรื่องนี้กับพระองค์เลย แต่นายตาลบุตรก็ไม่ยอมหยุดได้ถามปัญหานี้ถึงสามครั้ง เมื่อพระพุทธองค์เห็นว่าห้ามแล้วยังไม่หยุดจึงทรงตอบว่า " ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีราคะ ถูกล่ามด้วยโซ่แห่งราคะ เป็นผู้มีโทสะ ถูกล่ามด้วยโซ่แห่งโทสะ เป็นผู้มีโมหะ ถูกล่ามด้วยโมหะ อยู่ก่อนแล้ว นักฟ้อนยังพยายามเอาสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ เข้าไปยั่วยวนในท่ามกลางเวทีละครอีก ทำให้คนทั้งหลายยิ่งมัวเมาในราคะ โทสะ โมหะเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก ครั้นเมื่อตายไปแล้วก็จักไปเกิดใน ปหาสนรก ด้วยเพราะเขามีมิจฉาทิฏฐิหลงผิดดังที่ท่านกล่าวถามมานี้แล" 

เมื่อนายตาลบุตรทราบว่าจะต้องตกนรกก็ร้องไห้รำพันว่าถูกครูอาจารย์นักฟ้อนหลอกลวงจึงกลับใจ ขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะแล้วขอออกบวชหลังจากนั้นไม่นานก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ( สํ. สฬา. ๑๘/๓๗๗ ข้อ ๔๘๙ ) 

คำว่า " ปหาสนรก " นี้แปลว่า " นรกรื่นเริง " ตามคัมภีร์อรรถกถา สารัตถปกาสินี พระพุทธโฆษาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์นี้อธิบายว่า " ปหาสนรก เป็นส่วนหนึ่งที่มีอยู่ในอเวจีนรก เขาเหล่านี้จะแต่งตัวเหมือนกับนักฟ้อนนักแสดง และการตกนรกของเขาก็เป็นการแสดงการฟ้อน การขับร้องอยู่ในส่วนหนึ่งของอเวจีนรกนั่นเอง " 

ดังพระบาลีแสดงเอาไว้ว่า " ปหาโส นาม นิรโยติ วิสุง ปหานามโก นิรโย นาม นตฺถิ อวิจีสฺเสว ปน เอกสมิง โกฏฐาเเส นจฺจนฺตา วิย คายนฺตา วิย จ นฏเวสํ คเหตฺวาว ปจฺจนฺติ ตํ สนฺธาเยตํ วุตฺตํ " ( สา. ปกา. ๓/๑๖๕ ข้อ ๓๕๔ (มหาจุฬาฯ)






ขอบคุณ http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=buddha_story&topic=374

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เมื่อเธอไม่มี

พาหิยะ! เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น ได้ฟังเสียงแล้วสักว่าฟัง ได้กลิ่นแล้วสักว่าลิ้ม ได้สัมผัสทางผิวกายแล้ว สักว่าสัมผัส ได้รู้แจ้งธรรมมารมณ์ก็สักว่าได้รู้แจ้งแล้ว  เมื่อนั้น"เธอ" จักไม่มี เมื่อใดเธอไม่มี เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้ ไม่ปรากฏในโลกอื่น ไม่ปรากฏในโลกทั้งสอง นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์.






พุทธวัจน์






.

ท่อนไม้ที่ลอยออกไปได้ถึงทะเล

ภิกษุทั้งหลาย  ถ้าท่อนไม้นั้นจะไม่เข้าไปติดเสียที่ ฝั่งใน หรือฝั่งนอก ไม่จมในกลางน้ำ ไม่ขึ้นไปติดแห้ง
อยู่บนบก  ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้ ไม่ผุเสียเองภายในไซร้  ท่อนไม้เช่นกล่าวนี้ จักลอยไหลพุ่งไปสู่ทะเล เพราะเหตุว่า ลำแม่น้ำคงคาโน้มน้อม ลุ่มลาดเอียงเทไปสู่ทะเล.

ภิกษุทั้งหลาย! คำว่า"ฝั่งใน" เป็นชื่อของอายตนะภายใน๖
คำว่า"ฝั่งนอก" เป็นชื่อของอายตนะภายนอก๖
คำว่า"จมเสียในท่ามกลาง"เป็นชื่อของนันทิราคะ(ความกำหนัดเพลิดเพลิน)
คำว่า"ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก" เป็นชื่อของอัสมิมานะ(ความสำคัญว่าเป็นเรา)
คำว่า"ถูกมนุษย์จับไว้"ได้แก่ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้ระคนด้วยพวกคฤหัสถ์เพลิดเพลินด้วยกัน โศกเศร้าด้วยกัน มีสุขเมื่อคฤหัสเหล่านั้นมีสุข  มีทุกข์เมื่อคฤหัสเหล่านั้นเป็นทุกข์  ประกอบการงานในกิจการที่บังเกิดขึ้นแก่คฤหัสนั้นด้วยตนเองภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้ถูกมนุษย์จับไว้
 คำว่า"ถูกอมนุษย์จับไว้" ได้แก่ภิกษุบางรูปในกรณีย์ประพฤติพรหมจรรย์โดยตั่งความปรารถนาเทพนิกายชั้นใดชั้นหนึ่งว่าด้วศีลนี้หรือวัตรนี้หรือว่าด้วยตบะเราจักได้เป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่หรือเป็นเทวดาผู้มีศักดาน้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง เราเรียกว่าผู้ถูกอมนุษย์จับไว้
"คำว่าถูกเกลียวน้ำวนวนไว้" เป็นชื่อของกามคุณ๕
"เป็นผู้เน่าเสียเองภายใน"  คือภิกษุบางรูปในกรณีนี้เป็นคนทุศีล มีความอยู่ลามกไม่สะอาดมีความประพฤติที่ตนเองนึกแล้ว ก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าสมณะ
ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าและเปียกเเฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย ภิกษุเหล่านี้เราเรียกว่าเน่าเสียเองภายในแล.




พุทธวัจน์







.

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ตราบนั้นพวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่เธอยังหมั่นประชุมเนืองนิตย์ พร้อมเำพรียงกันประชุม เคารพในสิกขาบทบัญญัติยำเกรง ภิกษุผู้เป็นสังฆเถระ สังฆบิดร ไม่ยอมตนให้ตกอยู่ใต้อำนาจแห่งตัญหาำ  พอใจในการอยู่อาศัยเสนาสนะป่า  ปรารถนาให้เำพื่อนำพรหมจารีย์ มาสู่สำนักและอยู่เป็นสุขตราบนั้นพวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่เจริญแต่ส่วนเดียว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่ำพวกเธอไม่หมกมุ่นกับการงานมากเกินไป ไม่พอใจด้วยการพูดคุยฟุ้งซ้าน ไม่ชอบใจในการนอนมากเกินควร ไม่ยินดีในการคลุกคลีกด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นผู้ปรารถนาลามก ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาชั่ว  ไม่คบมิตรเลว  ไม่หยุดความเำพียร  พยายามเำพื่อบรรลุคุณธรรมขั่นสูงขึ้นไปแล้ว  ตราบนั้นพวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญแต่ส่วนเดียว





พุทธโอวาทก่อนปรินิำพพาน/อ.วศิน อินทสละ






.

ที่ภิกษุจะไม่ดูแลสตรีเพศเสียเลยนั้นเป็นการดี



ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า! ในพรหมจรรย์นี้มีสุภาพสตรีเป็นอันมากเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยฐานะต่างๆ เป็นมารดาบ้างเป็นพี่หญิงน้องหญิงบ้าง เป็นเครืองญาติบ้าง และเป็นผู้เลื่อมใสในพระรัตนะตรัยบ้าง ภิกษุจะปฏิบัติต่อสตรีอย่างไร ? 
    "อานนท์การที่ภิกษุจะไม่ดูแลสตรีเพศเสียเลยนั้นเป็นการดี" 
    " ถ้าจำเป็นต้องเห็นเล่าพระเจ้าข้า " พระอานนท์ทูลซัก
    "ถ้าจำเป็นต้องเห็นก็อย่าพูดด้วย อย่าสนทนาด้วยเป็นการดี" พระศาสดาตอบ
    "ถ้าจำเป็นต้องสนทนาด้วยเล่าพระพุทธเจ้าข้า จะปฏิบัติอย่างไร "
   "ถ้าจำเป็นต้องสนทนาด้วยก็จงมีสติไว้ ควบคุมสติให้ดี สำรวมอินทรีย์ วาจาให้เรียบร้อย อย่าให้กำหนัดยินดี
หรือความหลงไหลครอบงำจิตใจได้
อานนท์!เรากล่าวว่าสตรีที่บุรุษเอาใจเข้าไปเกี่ยวเกาะนั้น เป็นมลทินของพรหมจรรย์
"แล้วสตรีที่บุรุษมิได้เอาใจเข้าไปเกี่ยวเกาะเล่าพระพุทธเจ้าข้าจะเป็นมลทินของพรหมจรรย์หรือไม่? "

"ไม่เป็นซิอานนท์! เธอระลึกได้อยู่หรือ เราเคยพูดไว้ว่า อารมณ์อันวิจิต ความสวยงามในโลกนี้มิใช่กาม แต่ความกำหนัดที่เกิดขึ้นเพราะดำริต่างหากเล่าเป็นกามของคน เมื่อกระชากความพอใจออกเสียเเล้ว สิ่งวิจิตรสวยงามก็อยู่อย่างเก้อๆ ทำพิษอะไรไม่ได้อีกต่อไป"



วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเกิดแห่งวงศ์สากยะ

อัมพัฏฐะ! เรื่องดึกดำบรรพ์ พระเจ้าอุกกากราช ปรารถนา จะยกราชสมบัติ ประทานแก่โอรสที่โปรดปรานต้องพระทัย จึงได้ขับราชกุมาร ผู้มีพระชนแก่กว่า คือเจ้า อุกกากมุข  กรกัณฑุ  หัตถินีกะ สินีปุระ ออกจากราชอาณาจักรไปตั่งสำนักอยู่  ณ.ป่าสากใหญ่ ใกล้สระโบกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์ เธอเหล่านั้นกลัวชาติระคนกัน จึงสมสู่กับพี่น้องหญิงของเธอเอง ต่อมาพระเจ้าอุกกากราช ตรัสกับอำมาตย์ว่า บัดนี้กุมารเหล่านั้นอยู่ที่ไหน กราบทูลว่า กุมารเหล่านั้นเสด็จอยู่นะป่าสากใหญ่  ขณะนั้น พระเจ้าอุกกากราชทรงเปล่งวาจาว่า กุมารผู้อาจหาญหนอ กุมารผู้อาจหาญอย่างยิ่งหนอ    เพราะเหตุนั้นเป็นเดิม จึงเป็นพวกสากยะ  สืบมา



---พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ แปลโดยพุทธทาสภิกขุ---





ทรงพยายามในญาณทัศนะเป็นขั้นๆก่อนตรัสรู้

    ภิกษุทั้งหลาย! ครั้งก่อน แต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์  เราย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูปทั้งหลาย
   ภิกษุทั้งหลาย!  ความรู้ึสึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างได้ด้วย ข้อนั้นจักเป็นญาณ ทัศนะที่บริสุทธิยิ่งของเรา ภิกษุทั้งหลาย!  โดยสมัยอื่นอีกเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็จำแสงสว่างได้ด้วย เห็น รูปทั้งหลายได้ด้วย แต่ไม่ได้ตั่งใจอยู่ร่วม ไม่ได้เจรจาร่วม  ไม่ได้โต้ตอบร่วมกับเทวดาทั้งหลายเหล่านั้นๆ
   ภิกษุทั้งหลาย! ความรู้สึกนั้นได้เกิดขึ้นแก่เราว่าถ้าเราจะจำแสงสว่างนั้นเป็นต้น ก็ได้ด้วย ข้อนั้นจะเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิยิ่งของเรา ภิกษุทั้งหลาย !  โดยสมัยอื่นอีกเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร  มีตนส่งไปอยู่ ก็โต้ตอบกับเทวดาเหล่านั้นๆได้ด้วย แต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ มาจากเทพนิกายไหนๆ
   ภิกษุทั้งหลาย! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างได้เป็นต้น ก็ได้ด้วย ตลอดถึงการรู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกายนั้นๆด้วยแล้ว ข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิยิ่งของเรา ภิกษุทั้งหลายโดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็รู้ว่าเทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกายนั้นๆ แต่ไม่รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้ๆเคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นๆ ด้วยวิบากกรรมอย่างไหน
   ภิกษุทั้งหลาย!  ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้นก็ได้ด้วย ตลอดจนรู้ได้ด้วยว่า
เทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นได้ ด้ววิบากกรรมอย่างนี้ๆ แล้วข้อนั้น จักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นของเรา ภิกษุ ทั้งหลาย! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่แล้วแล อยู่ ก็รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นได้ด้วยวิบากของกรรมอย่างนี้ แต่ไม่รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้ๆ มีอาหารอย่างนี้ๆเป็นปกติเสวยสุขและทุกข์อย่างนี้อย่างๆ เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนเท่านี้ๆ ตั้งอยู่ได้นานเท่านี้ๆ เราเองเคยอยู่ร่วมกับเทวดา ทั้งหลายเหล่านี้ หรือไม่เคยอยู่ร่วมหนอ ภิกษุทั้งหลาย !  โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปแล้ว แล อยู่ ก็รู้ได้ตลอดถึงข้อว่า  เราเคยอยู่ร่วมกับเทวดา ทั้งหลายเหล่านี้ ๆหรือไม่แล้ว


------พุทธประวัติจากพระโอษฐ์แปลโดยพุทธทาสภิกขุ---------




วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พึงได้ความเป็มนุษย์ได้ยาก

ภิกษุทั้งหลาย!สมมุติว่ามหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน้ำทั่วถึง
เป็นอันเดียวกันหมด บุรุษคนหนึ่งทิ้งแอก(ไม้ไผ่!) ซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียวลงไปในน้ำนั้น ลมตะวันตกพัดพาไปทางทิศทางตะวันออก ลมเหนือพัดพาไปทางทิศใต้ อยู่ดังนี้ ในน้ำมีเต่าตาบอดตัวหนึ่ง ล่วงไปร้อยปีมันจะผุดขึ้นขึ้นมาหนึ่งครั้งๆ ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นไปได้ไหมที่เต่าตาบอดจะจะพึงยื่นคอไปในรูซึ่งมีเพียงรูเดียวในแอกเท่านั้น
 ข้อนี้เป็นไปได้ยากพระเจ้าข้า !
  ภิกษุทั้งหลาย!  ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกันที่ที่ใครๆจะพึงได้ความเป็นมนุษย์ ยากที่จะได้พบพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นอันยากที่พระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วนั้นจะรุ่งเรืองไปทั่วโลก.





พุทธวัจน์






วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พระพุทธเจ้าไม่ทรงมีความลับ ที่ต้องให้ใครช่วยปกปิด

โมคคัลลานะ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี ศีลบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอ จึงปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้ว. ศีลของเรา บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลย, สาวกทั้งหลาย จึงไม่ต้องช่วยกันทำการป้องกันให้ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับศีล, ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการป้องกันจากสาวกทั้งหลาย ในเรื่องอันเกี่ยวกับศีลเลย. โมคคัลลานะ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี อาชีวะบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอ จึงปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์แล้ว. อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลย, สาวกทั้งหลาย จึงไม่ต้องช่วยกันทำการป้องกันให้ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับอาชีวะ, ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการป้องกันจากสาวกทั้งหลาย ในเรื่องอันเกี่ยวกับอาชีวะเลย. โมคคัลลานะ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี การแสดงธรรมบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอ จึงปฏิญญาว่า เราเป็นผู้มีการแสดงธรรมบริสุทธิ์. การแสดงธรรมของเราบริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลย, สาวกทั้งหลาย จึงไม่ต้องช่วยการทำการป้องกันให้ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับการแสดงธรรม, ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการป้องกันจากสาวกทั้งหลาย ในเรื่องอันเกี่ยวกับการแสดงธรรมเลย. โมคคัลลานะ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี การตอบคำถามบริสุทธิ์ดีอยู่เสมอ จึงปฏิญญาว่า เราเป็นผู้มีการตอบคำถามบริสุทธิ์. การตอบคำถามของเราบริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลย, สาวกทั้งหลาย จึงไม่ต้องช่วยการทำการป้องกันให้ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับการตอบคำถาม, ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการป้องกันจากสาวกทั้งหลาย ในเรื่องอันเกี่ยวกับการตอบคำถามเลย. โมคคัลลานะ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอ จึงปฏิญญาว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์แล้ว. ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลย, สาวกทั้งหลายจึงไม่ต้องช่วยการทำการป้องกันให้ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับญาณทัสสนะ, ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการป้องกันจากสาวกทั้งหลาย ในเรื่องอันเกี่ยวกับณาณทัสสนะเลย, ดังนี้.


พุทธวัจน์



บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๔๒/๑๐๐. ตรัสแก่พระมหาโมคคัลลานะ ที่โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี. พุทธ
ประวัติจากพระโอฐษ์ แปลโดยพุทธทาสภิกขุ


 และขอบคุณ supatra.p
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/01/Y8735183/Y8735183.html



http://www.buddhadasa.org/html/life-work/dhammakot/01-buddha/3-14.html

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การปรากฏของพระตถาคตมีได้ยากในโลก

ภิกษุ! ทั้งหลาย การมาปรากฏของ บุรุษเอก (ไม่มีใครซ้ำสอง) มีได้ยากในโลก . ใครเล่าจะเป็นบุคคลเอก ตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเองเป็นบุคคลเอก (ไม่มีใครซ้ำสอง )การปรากฏของบุคคลเอกแลมีได้ยากในโลก.



บาลีเอก.อํ.๒o/๒๙/๑๔o ตรัสแก่พระภิกษุทั้งหลาย.

...โลกธาตุหนึ่ง....มีพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว...

อานนท์! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ และอฐานะนั้น ย่อมรู้ว่าข้อนี้มิใช่ฐานะ ข้อนี้มีโอกาศที่จะมีคือข้อที่มีโลกธาตุอันเดียว จะมีพระตถาคตผู้อรหันต์ สัมมาสัมพุทธะ สององค์เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่ก่อนไม่หลังกัน นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
ส่วนฐานะที่มีได้นั้นคือ ในโลกธาตุเดียวมีพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะองค์เดียว เกิดขึ้นนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้








พุทธวัจนะ

๑.บาลี พหุธาตุกสูตร อุปริ.ม. ๑๔/๑๗๑/๒๔๕
(จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์แปลโดยพุทธทาสภิกขุ)

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บัวสี่เหล่า

บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยย ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล. ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง ชื่ออุคฆฏิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร ชื่อว่าวิปจิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแบบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าเนยย. บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่าปทปรมะ.

— 'อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร ธมฺมเทสนาธิฏฺฐานวณฺณนา'

มหาอานิสงส์ของการพิมพ์หนังสือธรรมะ

“ ดูก่อนสารีบุตร นรชนใดมีใจเปี่ยมด้วยศรัทธาได้สร้างหนังสือพระธรรมไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่ชนทั้งหลายได้อ่านได้สดับฟัง จะได้รับอานิสงส์ใหญ่อันประมาณมิได้ ดูก่อนสารีบุตร อย่าว่าแต่พระพุทธวจนะตลอดทั้งไตรปิฎกนั้นเลย “แม้อักขระธรรมหนึ่งตัว” เป็นเครื่องหมายเพื่อน้อมนำจิตระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย นำมาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้ได้พบเห็น เป็นบ่อเกิดให้ประพฤติคุณงามความดีได้ฉะนั้นแล้วจะยังผลให้ผู้สร้างได้เสวยสุขเกษมสิ้นกาลช้านาน จักได้เสวยราชสมบัติเป็นบรมจักรพรรดิถึง 84,000 กัป ใช่แต่เท่านั้น เมื่อเคลื่อนจากความเป็นจักรพรรดิมาแล้วจะได้เสวยราชสมบัติเป็นพระราชาทรงมหิธานุภาพอีก 9 อสงไขย ต่อแต่นั้นมาก็จะได้เสวยสมบัติในตระกูลต่างๆ เป็นลำดับไปอันมีตระกูล พราหมณมหาศาล ตระกูลเศรษฐี คฤหบดี และภูมิเทวดาอย่างละ 9 อสงไขย ต่อแต่นั้นก็จะได้ไปเสวยสมบัติในฉกามาพจรสวรรค์ 6 ชั้นประณีีตเป็นลำดับขึ้นไปชั้นละ 9 อสงไขย เมื่อจุติจากเทวโลกแล้วก็จะถือเอากำเนิดในมนุษย์มีกายผุดผ่องโสภาเป็นที่ปฏิพัทธ์รักใคร่ของผู้ได้พบเห็น ทั้งน้ำใจก็สุจริตปราศจากมลทิน อานิสงส์ดังกล่าวมานี้เพราะอำนาจการสร้างอักขระธรรมหนึ่งตัว


พุทธวัจน์






.

นางจิญจมาณวิกา

ในปฐมโพธิกาล คือระยะต้นแห่งการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า เมื่อพระสาวกของพระองค์มีมากประมาณไม่ได้ เมื่อเทวดาและมนุษย์เป็นจำนวนมากหยั่งลงในอริยภูมิ คือภูมิแห่งพระอริยะ คือเป็นพระอริยะ และเมื่อคุณสมุทัย คือเหตุที่จะให้ทราบถึงพระคุณของพระศาสดากำลังแผ่ไพศาลอยู่นั้นเอง ลาภสักการะและความนับถือเป็นอันมาก เกิดขึ้นแก่พระศาสดาและพระสาวก พวกเดียรถีย์นิครนถ์ทั้งหลาย เป็นเช่นกับแสงหิ่งห้อย ท่ามกลางแสงอาทิตย์ เสื่อมจากลาภสักการะเพราะไม่มีใครนับถือ หรือมีผู้นับถือน้อยลงมาก

พวกเดียรถีย์ก็มายืนอยู่กลางถนนแล้วประกาศว่าพระโคดมเท่านั้นหรือที่เป็นพระ พุทธเจ้า พวกเราก็เป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ทานที่ให้แก่พระสมณโคดมเท่านั้นหรือที่มีผลมาก ทานที่ให้แก่พวกเราก็มีผลมากเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงให้ทานแก่พวกเราบ้าง

เรียกว่าขอกันดื้อๆ เลยทีเดียว แม้กระนั้นก็ไม่สามารถที่จะกระทำให้ลาภสักการะเกิดขึ้นได้ จึงประชุมกันว่า พวกเราควรจะหาโทษใส่พระสมณโคดมสักอย่างหนึ่ง ให้คนทั้งหลายหมดความเชื่อ หมดความเลื่อมใสในพระสมณโคดม ลาภสักการะ ความนับถือจะได้เกิดขึ้นกับพวกเราดังเดิม เขาตกลงกันว่าจะใช้หญิงหนึ่งทำลายชื่อเสียงของพระพุทธเจ้า อันนี้ก็เป็นไปด้วยอำนาจของกิเลส

กิเลสเป็นสิ่งน่ากลัว บรรดาศัตรูทั้งหลาย กิเลสเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของมนุษย์เรา เรื่องที่ยุ่งๆ กันอยู่ในสังคมมนุษย์ ก็มีกิเลสเป็นแดนเกิด คือต้นเหตุอยู่ที่กิเลส มันถึงทำให้เกิดเรื่องยุ่งยากมากมายในสังคมมนุษย์ ในสังคมใดที่คนมีกิเลสน้อย เรื่องยุ่งยากก็มีน้อย แต่พอมีกิเลสมากขึ้น หรือว่าไม่สามารถดับมันได้ ระงับมันอยู่ มันก็สร้างปัญหาต่างๆ สร้างเรื่องต่างๆ ให้เกิดขึ้น ใส่ร้ายผู้อื่นบ้าง กล่าวร้ายผู้อื่นบ้าง ทำร้ายผู้อื่นบ้าง มากมายเหลือที่จะคณานับ เพราะว่าดูเรื่องราวยิ่งดูก็ยิ่งสังเวชใจในพฤติกรรมของมนุษย์ ทำไมมนุษย์จึงทำกันได้ถึงขนาดนี้ ทำลายและทำร้ายกันได้ถึงขนาดนี้

นี่ก็ทำนองเดียวกัน แรงริษยาที่เกิดขึ้นในใจของพวกเดียรถีย์นิครนถ์ทั้งหลาย ก็ใส่ร้ายป้ายสีพระพุทธเจ้า และได้เครื่องมือคือหญิงคนหนึ่ง

ในครั้งนั้น มีหญิงคนหนึ่งชื่อจิญจมาณวิกา รูปสวยมาก ท่านกล่าวว่า สวยงามเหมือนเทพอัปสร แต่เราก็ไม่เคยเห็นเทพอัปสรหรือเทพธิดา ก็ไม่รู้ว่าสวยขนาดไหน ต้องถามท่านที่เคยเห็น ท่านว่ารัศมีออกจากกายของเธอ น่าดูน่าชม เป็นพวกเดียวกับเดียรถีย์

วันหนึ่ง ขณะที่นางจิญจมาณวิกาปริพาชิกา ไปหาพวกเดียรถีย์ที่อาราม ทำความเคารพแล้วยืนอยู่ ที่เคยมานั้นเดียรถีย์ก็ย่อมแสดงอาการยินดีต้อนรับเมื่อนางมา แต่วันนั้นทุกคนเฉยไปหมด นางพูดว่า

“พระคุณเจ้า ดิฉันไหว้” อย่างนี้ถึง 3 ครั้ง แต่พวกเดียรถีย์ก็ยังคงเฉยดังเดิม นางคิดว่าเธออาจมีความผิดอะไรสักอย่างหนึ่ง จึงถามว่า “ดิฉันมีความผิดอะไรหรือ ดิฉันได้ทำอะไรให้ไม่เป็นที่พอใจพระคุณเจ้าหรือ จึงพากันนิ่งไปหมด ไม่ยอมพูดกับดิฉัน”

เดียรถีย์จึงกล่าวขึ้นว่า “เจ้าไม่ทราบดอกหรือว่าเวลานี้ลาภสักการะของเราเสื่อมหมดแล้วเพราะใคร เพราะพระสมณโคดมคนเดียว เจ้าไม่รู้สึกเจ็บร้อนแทนพวกเราบ้างเลยหรือ”

จิญจมาณวิกาตอบว่า “ความทุกข์ของพระคุณเจ้าทั้งหลายก็เหมือนความทุกข์ของดิฉันเอง ไว้เป็นหน้าที่ของดิฉันเถิด จะจัดการให้เรียบร้อย ทำลาภสักการะให้เกิดแก่พระคุณเจ้าทั้งหลายดังเดิม”

พูดอย่างนี้แล้วก็จากไป นางก็วางแผนว่าจะทำอย่างไร นางก็เริ่มแต่งกายอย่างดี ห่มผ้าสีสวยเหมือนสีปีกแมลงก้อนทอง ถ้าไม่ผิดก็เป็นสีเขียวและมีสีทองปนอยู่ ถือของหอมและดอกไม้มุ่งหน้าไปวัดเชตวัน ในเวลาที่ชาวเมืองสาวัตถีฟังธรรมแล้วก็กลับออกมา นางเดินสวนเข้าไป เมื่อมหาชนถามว่าจะไปไหนเวลานี้ นางตอบว่า “ธุระอะไรของพวกท่านในการไปหรือการมาของข้าพเจ้า”

อย่างนี้แล้วก็เดินผ่านวัดเชตวันไปพักวัดของพวกเดียรถีย์ ใกล้วัดเชตวันนั้นเอง ตอนเช้าเมื่ออุบาสกอุบาสิกาชาวนครสาวัตถีออกจากนครไปวัดเชตวัน เพื่อถวายบังคมพระศาสดา นางจิญจมาณวิกาทำทีเหมือนตนพักอยู่ในวัดเชตวันทั้งคืน ด้วยการเดินสวนออกมา

เมื่อถูกถามว่า พักอยู่ที่ไหน นางตอบว่า “ธุระอะไรของพวกท่านกับที่พักของข้าพเจ้า” นางทำอยู่อย่างนี้ประมาณ 2 เดือน

เมื่อคนทั้งหลายถามอีก จึงตอบว่า “ข้าพเจ้าพักอยู่ในพระคันธกุฎีของพระสมณโคดม ในวัดเชตวันนั่นเอง”

ชาวพุทธที่เป็นปุถุชนทั้งหลายสงสัยกันมากว่า ข้อความที่นางจิญจมาณวิกากล่าวนั้น เป็นความจริงหรือหนอ ส่วนพระอริยบุคคลไม่มีใครเชื่อเลย

ล่วงไป 3-4 เดือน นางเอาผ้าพันท้องให้หนาขึ้นเพื่อแสดงว่ามีครรภ์ และให้คนทั้งหลายเข้าใจว่านางตั้งครรภ์เพราะร่วมอภิรมย์กับพระโคดมบรมศาสดา ที่คันธกุฎีในวัดเชตวัน

พอถึงเดือนที่ 8 ที่ 9 นางก็เอาไม้กลม ๆ ผูกไว้ที่ท้อง เอาผ้าห่มทับไว้ ให้คนเอาไม้คางโคทุบหลังมือหลังเท้าให้บวมขึ้น ให้มีอวัยวะต่างๆบอบช้ำ ล่อลวงคนทั้งหลายให้เข้าใจว่าตนมีครรภ์แก่จวนคลอดเต็มทีแล้ว

เย็นวันหนึ่ง ขณะที่พระศาสดากำลังแสดงธรรมอยู่ ท่ามกลางพุทธบริษัทในธรรมสภา นางได้เข้าไปยืนตรงพระพักตร์พระตถาคตเจ้า แล้วก็กล่าวว่า

“มหาสมณะ พระองค์ดีแต่แสดงธรรมแก่มหาชนเท่านั้น กระแสเสียงของพระองค์ไพเราะยิ่งนัก พระโอษฐ์ของพระองค์ดูสนิทดี แต่พระองค์มิได้สนพระทัยในหม่อมฉันเลย หม่อมฉันซึ่งตั้งครรภ์ครบกำหนดคลอดแล้ว ครรภ์นี้อาศัยพระองค์ตั้งขึ้น พระองค์ไม่เอาพระทัยใส่ต่อเครื่องบริหารครรภ์เลย แม้ไม่ทำเองก็ควรตรัสบอกสานุศิษย์คนใดคนหนึ่ง เช่น นางวิสาขา หรืออนาถบิณฑิกะ หรือพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้ช่วยเหลือในการนี้ พระองค์ทรงรู้แต่การอภิรมย์อย่างเดียว แต่ไม่ทรงสนพระทัยในการคลอดของหม่อมฉันเลย”

ความพยายามของนางเป็นเหมือนจับก้อนคูถขึ้นปาพระจันทร์ พระตถาคตเจ้าหยุดแสดงธรรมอยู่ครู่หนึ่ง เมื่อนางพูดจบ พระองค์ก็ตรัสด้วยพระกระแสเสียงอันเรียบว่า

“น้องหญิง เรื่องนี้เราทั้งสองคนเท่านั้นที่รู้ว่าจริงหรือไม่จริง”

นางจิญจมาณวิกาโกรธมาก เต้นด่าพระตถาคตเจ้าจนเชือกขาด ผ้าและท่อนไม้กลมเกลี้ยงหล่นลงมาจากท้องของนาง

อันนี้ขอเล่าเพิ่มเติมนิดหนึ่งคือ ถ้าเล่าตามตำนานในอรรถกถา ท่านกล่าวว่า เมื่อพระศาสดาตรัสเช่นนี้แล้ว ก็ร้อนถึงท้าวสักกะเทวราช เทวดามาช่วย ท้าวสักกะมาถึงด้วยเทพบุตร 4 องค์ เทพบุตรแปลงเป็นลูกหนูเข้าไปกัดเชือกที่นางผูกไว้ จนเชือกขาด ผ้าและท่อนไม้ก็หล่นลงมา อรรถกถาท่านว่าอย่างนั้น

มหาชนได้เห็นกับตาเช่นกัน ก็แช่งด่านางจิญจมาณวิกาว่าเป็นหญิงกาลกรรณี ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า ก็พากันถ่มน้ำลายใส่บ้าง ขว้างด้วยก้อนดินและท่อนไม้ใส่บ้าง ฉุดกระชากออกไปจากวัดเชตวัน พอลับคลองพระเนตรของพระศาสดาไปเท่านั้น นางจิญจมาณวิกาก็ถูกแผ่นดินสูบไปเกิดในอเวจีมหานรก

วันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภา ถึงเรื่องที่นางจิญจมาณวิกาใส่ร้ายพระพุทธเจ้าแล้วถูกแผ่นดินสูบ พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อนนางจิญจมาณวิกานี้ ก็เคยหาเรื่องใส่ร้ายเราตถาคตแล้วเหมือนกัน และก็ถึงความพินาศเหมือนกัน ดังนี้แล้วตรัสใจความสำคัญในมหาปทุมชาดกว่า

“ผู้เป็นใหญ่ ยังไม่เห็นโทษน้อยใหญ่ของผู้อื่นโดยประการทั้งปวงแล้ว ไม่พิจารณาด้วยตนเองแล้ว ไม่พึงลงโทษหรืออาชญา”

ความย่อในมหาปทุมชาดก จะนำมาเล่าให้ฟังนิดหนึ่ง

ครั้งนั้นนางจิญจมาณวิกา เป็นหญิงร่วมสามีกับพระมารดาของพระมหาปทุมกุมาร นางเป็นมเหสีองค์หนึ่งของพระราชา คือพระราชบิดาของพระมหาปทุมโพธิสัตว์

นางมีจิตประดิพัทธ์ในมหาปทุมนั้น จึงเย้ายวนชวนเชิญให้ประกอบกามกิจกับนาง แต่พระโพธิสัตว์ไม่ทรงยินยอมตาม ด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องไม่สมควร

นางจึงแกล้งทำอาการว่าเป็นไข้ และมีอาการแห่งผู้ตั้งครรภ์ เมื่อพระราชาตรัสถามก็ใส่ความว่า มหาปทุมกุมารราชโอรสของพระองค์ ทำให้หม่อมฉันมีอาการอันแปลกนี้

พระราชาทรงกริ้ว จึงให้ทิ้งพระโพธิสัตว์ลงในเหวที่ทิ้งโจร เทวดาที่สิงสถิตอยู่อุ้มพระโพธิสัตว์ไว้ ให้ประดิษฐานอยู่ที่พังพานนาคราช พระยานาคราชนำท่านไปสู่นาคพิภพ แบ่งราชสมบัติให้ครองครึ่งหนึ่ง

พระโพธิสัตว์อยู่ในนาคพิภพปีหนึ่ง อยากจะบวช จึงไปสู่หิมวันตประเทศ บวชได้ฌานและอภิญญา

อันนี้ก็แสดงถึงว่า คนดีเมื่อตกทุกข์ได้ยากก็จะมีผู้ช่วยเหลือ จะเป็นใครก็แล้วแต่ แล้วก็นำไปให้ได้รับความสุขพอสมควรแก่อัตภาพ แต่ท่านก็ไม่พอใจในสภาพเช่นนั้น ก็อยู่ไประยะหนึ่งแล้วก็มีความสังเวชสลดใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็อยากบวชแล้วไปบวชที่หิมวันตประเทศ ได้ฌานและอภิญญา

ต่อมาพรานไพรผู้หนึ่งมาพบพระโพธิสัตว์เข้าจำได้ จึงกลับไปกราบทูลพระราชา พระราชาเสด็จมาเฝ้า ทรงทราบเรื่องความเป็นมาทั้งหมดแล้ว ทรงเชื้อเชิญให้ไปครองราชสมบัติ แต่พระโพธิสัตว์ทรงปฏิเสธ ขอร้องให้พระราชาทรงครองแผ่นดินโดยธรรม อย่าได้มีอคติ

พระราชาเสด็จกลับพระนคร ให้จับพระมเหสีผู้กลั่นแกล้งใส่ร้ายพระโพธิสัตว์นั้นไปทิ้งที่เหวทิ้งโจร แล้วครองแผ่นดินโดยธรรม

อันนี้เรียกว่ากรรมสนอง ถึงเวลาที่กรรมที่ได้กระทำไว้มาสนอง แต่ว่าคนที่ไม่ดีก็ไม่มีใครช่วย ก็ต้องได้รับผลแห่งกรรมของตนไป

พระศาสดาทรงประชุมชาดกว่า หญิงผู้นั้นในกาลนั้นมาเป็นนางจิญจมาณวิกา ส่วนพระมหาปทุมนั้นคือพระองค์เอง




พุทธวัจนะ


จากหนังสือ พุทธชัยมงคลคาถา
โดยอาจารย์วศิน อินทสระ




.

ผู้ติดตาม