วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

อรรถกถาเทวทัตตสูตรที่  ๗



         เทวทัตตสูตรที่  ๗   มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
         บทว่า   อจิรปกฺกนฺเต  ได้แก่   เมื่อพระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว
ออกไปไม่นาน.  บทว่า   อารพฺภ  ได้แก่  อาศัย   เจาะจง   มุ่งหมาย.
บทว่า   อตฺตวิปตฺตึ    ได้แก่   ความวิบัติ   คือ  อาการอันวิบัติของตน.
แม้ในบทที่เหลือ  ก็นัยนี้เหมือนกัน.  บทว่า  อภิภุยฺย  ได้แก่ ครอบงำ
ย่ำยี.
                              จบ  อรรถกถาเทวทัตตสูตรที่  ๗

http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=3700158

เหตุ ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปพร้อม

ดูก่อนกัสสป  เหตุ  ๕  ประการเหล่านี้แล   ย่อมเป็นไป
พร้อมเพื่อความตั้งมั่น  ไม่ฟั่นเฟือน  ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม  เหตุ
๕ ประการเป็นไฉน  คือ
ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา  ในธรรมวินัยนี้    มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา
ในพระธรรม  ๑
ในพระสงฆ์  ๑
ในสิกขา  ๑
ในสมาธิ  ๑
เหตุ  ๕  ประการนี้แล  ย่อมเป็นไปพร้อม
เพื่อความตั้งมั่น  ไม่ฟั่นเฟือน   ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม.
                        จบสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่  ๑๓
                              จบกัสสปสังยุตที่  ๔

ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหากเกิด ขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป

ดูก่อนกัสสป     ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่
ได้      ธาตุน้ำ    ธาตุไฟ  ธาตุลม   ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้
ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหากเกิด ขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป
เปรียบเหมือนเรือจะอับปาง   ก็เพราะต้นหนเท่านั้น   พระสัทธรรมยังไม่ 
เลือนหายไป   ด้วยประการฉะนี้.

สูตรก็ไม่ขาดมูล (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 383

            อีกประการหนึ่ง  ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต    เล่าเรียนนิกาย  ทรงธรรม
ทรงวินัย  ทรงมาติกา  ภิกษุเหล่านั้นเอาใจใส่บอกสอนสูตรแก่ผู้อื่น  เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นล่วงไป  สูตรก็ไม่ขาดมูล   (อาจารย์)    มีที่อาศัยสืบกันไป   นี้ธรรม
ประการที่  ๓  เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป
            อีกประการหนึ่ง    ภิกษุผู้ใหญ่  ๆ  ไม่เป็นผู้สะสมบริขาร   ไม่ปฏิบัติ
ย่อหย่อน  เป็นผู้ทอดธุระในการลาสิกขา  มุ่งหน้าไปทางปวิเวก    ทำความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง  เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ   เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง  หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลัง  ได้เยี่ยงอย่างภิกษุผู้ใหญ่เหล่านั้น
ก็พากันเป็นผู้ไม่สะสมบริขาร ไม่ปฏิบัติย่อหย่อน  เป็นผู้ทอดธุระในการลาสิกขา
มุ่งหน้าไปทางปวิเวก   ทำความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง    เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ    เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้งไปตามกัน     นี้ธรรม
ประการที่  ๔   เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป
            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้แลธรรม ๔ ประการ เป็นเหตุให้พระสัทธรรม
ตั้งอยู่   ไม่เลอะเลือนอันตรธาน.
                                           จบสุคตสูตรที่  ๑๐
                                 จบอินทริยวรรคที่  ๑
๑๐. สุคตสูตร
               ว่าด้วยแบบแผนคำสั่งสอนของพระสุคต
            [๑๖๐]    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เมื่อพระสุคตก็ดี  วินัยพระสุคตก็ดี ยัง
ประดิษฐานอยู่ในโลก  อันนั้นเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนมาก   เพื่อความสุขของ
คนมาก    เพื่ออนุเคราะห์โลก   เป็นความเจริญ   เป็นผลดี   เป็นความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 381

            ก็พระสุคตเป็นไฉน ?   คือ   ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้   (อรหํ)  เป็น
พระอรหันต์   (สมฺมาสมฺพุทฺโธ)   เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ   (วิชฺชาจรณ-
สมฺปนฺโน)    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ    (สุคโต)    เป็นผู้ไปดี
(โลกวิทู)  เป็นผู้รู้แจ้งโลก   (อนุตฺตโร  ปุริสทมฺมสารถิ)    เป็นสารถีฝึก
คนไม่มีใครยิ่งกว่า    (สตฺถา  เทวมนุสฺสานํ)   เป็นผู้สอนเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย   (พุทฺโธ)   เป็นผู้ตื่นแล้ว   เป็นผู้เบิกบานแล้ว    (ภควา)   เป็นผู้
จำแนกธรรม  นี้คือ  พระสุคต
            วินัยพระสุคตเป็นไฉน ?   คือพระสุคตนั้นแสดงธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง    งามในที่สุด    ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้ง
พยัญชนะ    บริบูรณ์บริสุทธิ์สิ้นเชิง    (ธรรมที่พระสุคตแสดง    พรหมจรรย์
ที่พระสุคตประกาศ)  นี้คือ  วินัยพระสุคต
            ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อพระสุคตก็ดี  วินัยพระสุคตก็ดี    นี้ยังประดิษฐาน
อยู่ในโลก  อันนั้นเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนมาก  เพื่อความสุขของคนมาก  เพื่อ
อนุเคราะห์โลก   เป็นความเจริญ  เป็นผลดี   เป็นความสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย
            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     ธรรม  ๔   ประการนี้เป็นเหตุให้พระสัทธรรม
เลอะเลือนอันตรธานไป  ธรรม  ๔  ประการเป็นไฉน  คือ
            ภิกษุทั้งหลายในพระวินัยนี้        เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาผิดด้วยบท
พยัญชนะที่ใช้ผิด   เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ใช้ผิด  ย่อมมีนัยอันผิดไปด้วย
นี้
ธรรมประการที่  ๑  เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป
            อีกประการหนึ่ง    ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก    ประกอบด้วยธรรมอัน
ทำความว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำสั่งสอนโดยเบื้องขวา  นี้
ธรรมประการที่  ๒เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 382
อีกประการหนึ่ง  ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต   เล่าเรียนนิกาย  ทรงธรรม
ทรงวินัย  ทรงมาติกา    ภิกษุเหล่านั้นไม่เอาใจใส่บอกสอนแก่ผู้อื่น   เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นล่วงไป  สูตรก็ขาดผู้เป็นมูล  (อาจารย์)   ไม่มีที่อาศัยสืบไป   นี้
ธรรมประการที่  ๓  เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไปอีกประการหนึ่ง
 ภิกษุผู้ใหญ่ ๆ เป็นผู้สะสมบริขาร  ปฏิบัติย่อหย่อน
มุ่งไปทางจะลาสิกขา  ทอดธุระในปวิเวก  ไม่ทำความเพียร  เพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ  เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง
ปัจฉิมชนตา  (ประชุมชนผู้เกิดภายหลัง  คือสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกเป็นต้น )
ได้เยี่ยงอย่างภิกษุผู้ใหญ่เหล่านั้น   ก็พลอยเป็นผู้สะสมบริขาร   ปฏิบัติย่อหย่อน
มุ่งไปทางจะลาสิกขา    ทอดธุระในปวิเวก    ไม่ทำความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง  เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ  เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง
ไปตามกัน  นี้ธรรมประการที่  ๔ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป
            ภิกษุทั้งหลาย    นี้แลธรรม   ๔   ประการ    เป็นเหตุให้พระสัทธรรม
เลอะเลือนอันตรธาน

ผู้ติดตาม