วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ใจที่ไม่เบียดเบียน

ใจของชนเหล่าใดยินดีแล้วในความไม่เบียดเบียน ทั้งกลางวันกลางคืน ชนเหล่านั้นย่อมชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดม

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=25&item=31&items=7&preline=1

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ล่วงทางหมุนเวียนที่ข้ามได้ยาก

ภัย ทุกข์ โรค หัวฝี ลูกศร ความข้อง เปือกตม และ
การอยู่ในครรภ์ นี้เรียกว่ากามที่ปุถุชนข้องอยู่แล้ว อันกาม
สุขครอบงำแล้ว ย่อมไปเพื่อเกิดในครรภ์อีก ก็เพราะ
ภิกษุมีความเพียร ยินดีด้วยสัมปชัญญะ ภิกษุเห็นปานนี้นั้น
ก้าวล่วงทางหมุนเวียนที่ข้ามได้ยากนี้ได้แล้ว ย่อมพิจารณา
เห็นหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงชาติและชรา ดิ้นรนอยู่ ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=6077&Z=6097&pagebreak=0

สุภาพสตรี

สุภาพสตรีผู้มีปรีชา
ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี ผู้หมั่นเพียรขวนขวายอยู่เป็นนิตย์ เลี้ยงตนอยู่ทุกเมื่อ ให้ความปรารถนา
ทั้งปวง ไม่ยังสามีให้ขุ่นเคือง ด้วยถ้อยคำ ๑- แสดงความหึง หวง ๑- และย่อมบูชาผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใดย่อม  ประพฤติตามความชอบใจของสามีอย่างนี้ นารีนั้นย่อมเข้า ถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ฯ
*ปรีชา
ความหมาย

[ปฺรี-] น. ปัญญาสามารถ, ความรอบรู้จัดเจน. (ส. ปริชฺ?า; ป. ปริญฺ?า).

สัปบุรุษผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน

สัปบุรุษผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน
เป็นผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน
 บำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากในชั้นต้น
ระลึกถึงอุปการะที่ท่านทำไว้ก่อน ย่อมบูชามารดาบิดาโดยชอบธรรม
สัปบุรุษผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว และมีศีลเป็นที่รัก

 ทราบธรรมแล้ว ย่อมบูชาบรรพชิตผู้ไม่ครองเรือน
ผู้ไม่มีบาปประพฤติพรหมจรรย์ สัปบุรุษนั้นเป็นผู้เกื้อกูลต่อ
พระราชา ต่อเทวดา ต่อญาติและสหายทั้งหลาย ตั้งมั่นแล้ว
ในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง สัปบุรุษนั้น กำจัด
มลทินคือความตระหนี่ได้แล้ว ย่อมประสบโลกอันเกษม ฯ

จบสูตรที่ ๘


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=5059&Z=5078&pagebreak=0

การหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น

พืชอันหว่านลงในนาที่สมบูรณ์ เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล
ธัญชาติย่อมงอกงาม ไม่มีศัตรูพืช ย่อมแตกงอกงาม ถึง
ความไพบูลย์ให้ผลเต็มที่ ฉันใด...

โภชนะที่บุคคลถวายใน  สมณพราหมณ์ผู้มีศีลสมบูรณ์
 ก็ฉันนั้นย่อมนำมาซึ่งกุศลอันสมบูรณ์ เพราะกรรมที่เขาทำนั้นสมบูรณ์แล้ว
เพราะฉะนั้นบุคคลในโลกนี้ผู้หวังกุศลสัมปทา จงเป็นผู้มีประโยชน์
ถึงพร้อม พึงคบหาท่านผู้มีปัญญาสมบูรณ์ ปุญญสัมปทา
ย่อมสำเร็จได้อย่างนี้ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
ได้จิตสัมปทาแล้ว กระทำกรรมให้บริบูรณ์ ย่อมได้ผล
บริบูรณ์ รู้โลกนี้ตามเป็นจริงแล้ว พึงถึงทิฐิสัมปทา อาศัย
มรรคสัมปทา มีใจบริบูรณ์ ย่อมบรรลุอรหัต เพราะกำจัด
มลทินทั้งปวงได้แล้ว บรรลุนิพพานสัมปทาได้แล้ว ย่อม
หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง การหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น
จัดเป็นสรรพสัมปทา ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4904&Z=4949&pagebreak=0

การประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก


การประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก ชนเหล่า
ใดดำเนินไปตามมรรคาที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้ว

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4639&Z=4716/

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กาลใด กัปเสื่อม กัปเจริญ ไม่ง่ายเพื่อจะนับ.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งมี ๔ อสงไขย ๔ อสงไขย เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน กาลใด กัปเสื่อม. ตลอดกาลนั้นไม่ง่ายเพื่อจะนับ.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด สังวัฏฏกัปตั้งอยู่ ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด กัปเจริญ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด วิวัฏฏกัปตั้งอยู่. ตลอดกาลนั้น ไม่ง่ายนักที่จะนับ"
องฺ. จตุกก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๑๕๖

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A2

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เหตุแห่งความเสื่อมและความเจริญ ๔ ประการ



เหตุแห่งความเสื่อมและความเจริญ ๔ ประการ


[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๔ ประการนี้ ประการเป็นไฉน ?

คือ

เหตุเพื่อ ทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ฉิบหาย ๑

เหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ ๑

เหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความฉิบหาย ๑

เหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเหตุ ๔ ประการนั้น

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การตั้งความเพียร


   

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล

ภิกษุไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑

ไม่สละความสุขที่เกิดขึ้นโดยธรรม ๑

ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความสุขนั้น ๑



เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้จะยังมีเหตุ

แห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร อนึ่ง

ถึงเรานี้จะยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะก็ย่อมมีได้

เธอจึงเริ่มตั้งความเพียร

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=0&Z=511&pagebreak=0

ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล


             [๑๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
ภิกษุไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑
ไม่สละความสุขที่เกิดขึ้นโดยธรรม ๑
ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความสุขนั้น ๑
เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้จะยังมีเหตุ
แห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร อนึ่ง
ถึงเรานี้จะยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะก็ย่อมมีได้
เธอจึงเริ่มตั้งความเพียร
ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร ย่อมมี
วิราคะ เพราะการเริ่มตั้งความเพียร และบำเพ็ญอุเบกขา ในทำนองที่ภิกษุยังมี
เหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุ
แห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร แม้อย่างนี้
ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว
เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญ
อุเบกขาอยู่ วิราคะย่อมมีได้ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล แม้อย่างนี้ ฯ
             

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ



                บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มา
                          ถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่
                          ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน
                          ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึง
                          เจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสีย
                          ในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่า
                          ความผลัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เรา
                          ทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติเป็นอยู่อย่างนี้
                          มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า
ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
                         

สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน

             [๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ ! 
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
 เป็นทายาทแห่งกรรม
 มีกรรมเป็นกำเนิด
 มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
 มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย 
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ
อ่านต่อ>>>>http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=7623&Z=7798&pagebreak=0

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผู้เข้าถึงอาภัสสรพรหม

 
[๑๓๕] ในโลกนี้ ผู้ใดหยั่งลงสู่แสงจันทร์และแสงอาทิตย์ด้วยปัญญา ผู้นั้นย่อม เข้าถึงอาภัสสรพรหมโลก ด้วยฌานอันไม่มีวิตก
  จันทาภชาดกที่ ๕.
 

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สะเก็ดพรหมจรรย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทม-
*นัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ทั้งมวลนี้จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิด
ขึ้น. เขาไม่มีความยินดี(อ่านเพิ่ม)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=6309&Z=6504&pagebreak=0

ผู้ติดตาม