วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ธรรม๗ประการผู้ปฏิบัติแล้วย่อมเป็นที่รัก

พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปฐมปัณณาสก์ ธนวรรคที่ ๑
อัปปิยสูตรที่ ๑
             [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-              สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับพระผู้มี- *พระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๗ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่ เป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มุ่งลาภ ๑ เป็นผู้มุ่งสักการะ ๑ เป็น ผู้มุ่งความมีชื่อเสียง ๑ เป็นผู้ไม่มีหิริ ๑ เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีความปรารถนา ลามก ๑ มีความเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ มุ่งลาภ ๑ ไม่เป็นผู้มุ่งสักการะ ๑ ไม่เป็นผู้มุ่งความมีชื่อเสียง ๑ มีหิริ ๑ มี โอตตัปปะ ๑ มีความปรารถนาน้อย ๑ มีความเห็นชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑
             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๑ - ๒๖. หน้าที่ ๑ - ๒. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=0&Z=26&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_23

รู้ยิ่งเเห่งราคะ๙


วรรคที่ ๕
             [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๙ ประการ เพื่อ รู้ยิ่งราคะ ๙ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหารปฏิกูล- *สัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ              [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ๙ ประการเป็นไฉน คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตถฌาน ๑ อากาสานัญจายตนฌาน ๑ วิญญาณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญาย- *ตนฌาน ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ              [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อความดับ เพื่อสละ เพื่อสลัดคืนซึ่งราคะ เธอทั้งหลาย พึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้น เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อ สลัดคืนซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯ              พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจ ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล ฯ
จบนวกนิบาต
-----------------------------------------------------
             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๙๕๖ - ๙๙๗๗. หน้าที่ ๔๓๐. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=9956&Z=9977&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=281              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_23

ผู้ติดตาม