วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

เธอย่อมไม่ดูหมิ่นบัณฑิต เพราะการอยู่ร่วมกันเนืองๆ แล หรือ การทรงคบเพลิง เพื่อมนุษย์ทั้งหลาย เธอนอบน้อม แล้วแลหรือ ฯ

ราหุลสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า เธอย่อมไม่ดูหมิ่นบัณฑิต เพราะการอยู่ร่วมกันเนืองๆ แล หรือ การทรงคบเพลิง เพื่อมนุษย์ทั้งหลาย เธอนอบน้อม แล้วแลหรือ ฯ
พระราหุลกราบทูลว่า ข้าพระองค์ย่อมไม่ดูหมิ่นบัณฑิต เพราะการอยู่ร่วมกันเนืองๆ การทรงคบเพลิงเพื่อมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพระองค์นอบน้อม แล้วเป็นนิตย์ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอละกามคุณห้ามีรูปเป็นที่รัก เป็นที่รื่นรมย์ใจ ออกบวช ด้วยศรัทธาแล้ว จงกระทำที่สุดทุกข์เถิด เธอจงคบกัลยาณมิตร จงเสพที่นอนที่นั่งอันสงัดเงียบ ปราศจากเสียง กึกก้อง จงรู้จักประมาณในโภชนะ เธออย่าได้กระทำ ความอยากในวัตถุเป็นที่เกิดตัณหาเหล่านี้ คือ จีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง และปัจจัย เธออย่ากลับมาสู่โลกนี้อีก จงเป็น ผู้สำรวมในปาฏิโมกข์และในอินทรีย์ ๕ จงมีสติไปแล้วในกาย จงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย จงเว้นสุภนิมิต อันก่อ ให้เกิดความกำหนัด จงอบรมจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ให้ตั้ง มั่นดีแล้วในอสุภภาวนา จงอบรมวิปัสนา จงละมานานุสัย แต่นั้นเธอจักเป็นผู้สงบ เพราะการละมานะเที่ยวไป ฯ
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระราหุล ด้วยพระคาถาเหล่านี้ เนืองๆ ด้วยประการฉะนี้แล ฯ

ทรงแสดงที่พึ่งไว้ เมื่อทรงล่วงลับไปแล้ว

อานนท์ ในกาลบัดนี้ก็ดี

ในโอกาสล่วงไปแห่งเราก็ดี

ใครก็ตาม

จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ

ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ

มีธรรมเป็นประทีปมีธรรมเป็นสรณะ

ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ

เป็นอยู่

อานนท์ ภิกษุใดเป็นผู้ใคร่ในสิกขา

ภิกษุนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด แล.









   -พุทธวัจน์-



     





       



       .

ตราบนั้นพวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่ำพวกเธอไม่หมกมุ่นกับการงานมากเกินไป ไม่พอใจด้วยการพูดคุยฟุ้งซ้าน ไม่ชอบใจในการนอนมากเกินควร ไม่ยินดีในการคลุกคลีกด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นผู้ปรารถนาลามก ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาชั่ว  ไม่คบมิตรเลว  ไม่หยุดความเำพียร  พยายามเำพื่อบรรลุคุณธรรมขั่นสูงขึ้นไปแล้ว  ตราบนั้นพวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญแต่ส่วนเดียว





พุทธโอวาทก่อนปรินิำพพาน/อ.วศิน อินทสละ






.

ผู้ปฏิบัติ มี ๔ ประเภท


ขึ้นชื่อว่า ผู้ปฏิบัติ มี ๔ ประเภท คือ

ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑
ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ๑
ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑
ไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑

บรรดาผู้ปฏิบัติเหล่านั้น ผู้ใดได้กถาวัตถุ ๑๐ เอง
ไม่กล่าวไม่สอนผู้อื่นในกถาวัตถุ ๑๐ นั้นเหมือนอย่างท่านพากุละ
ผู้นี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีโศก

ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีของรักเสียแล้ว
โศกภัย ก็ไม่มี.
ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์
ที่ใด..มีรัก ที่นั่น..มีทุกข์**


ปิยโต ชายเต โสโก
ปิยโต ชายเต ภยํ
ปิยโต วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๒ ฯ


ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีของรักเสียแล้ว
โศกภัย ก็ไม่มี.


From the beloved springs grief,
From the beloved springs fear;
For him who is free from the beloved
There is neither grief nor fear.

๘. วิสาขาสูตร
[๑๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพารามปราสาทของนางวิสาขา
มิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล หลานของนางวิสาขามิคารมารดา
เป็นที่รักที่พอใจ ทำกาละลง ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมารดามีผ้าเปียก ผมเปียก
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับในเวลาเที่ยง ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะนางวิสาขามิคารมารดาว่า เชิญเถิดนาง-
วิสาขา ท่านมาแต่ไหนหนอ มีผ้าเปียก มีผมเปียก เข้ามา ณ ที่นี้ในเวลาเที่ยง
นางวิสาขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลานของหม่อมฉัน เป็นที่รักที่
พอใจ ทำกาละเสียแล้ว เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงมีผ้าเปียกมีผมเปียก เข้ามา ณ
ที่นี้ในเวลาเที่ยง เจ้าค่ะ ฯ
พ. ดูกรนางวิสาขา ท่านพึงปรารถนาบุตรและหลานเท่ามนุษย์ในพระนคร
สาวัตถีหรือ ฯ
วิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ หม่อมฉันพึงปรารถนาบุตรและหลาน
เท่ามนุษย์ในพระนครสาวัตถี เจ้าค่ะ ฯ
พ. ดูกรนางวิสาขา มนุษย์ในพระนครสาวัตถีมากเพียงไร ทำกาละอยู่
ทุกวันๆ ฯ
วิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มนุษย์ในพระนครสาวัตถี ๑๐ คนบ้าง ๙ คน
บ้าง ๘ คนบ้าง ๗ คนบ้าง ๖ คนบ้าง ๕ คนบ้าง ๔ คนบ้าง ๓ คนบ้าง ๒ คนบ้าง
๑ คนบ้าง ทำกาละอยู่ทุกวันๆ ฯ
พ. ดูกรนางวิสาขา ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านพึงเป็นผู้มี
ผ้าเปียกหรือมีผมเปียกเป็นบางครั้งบางคราวหรือหนอ ฯ
วิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่ใช่อย่างนั้น เจ้าค่ะ พอเพียงแล้วด้วยบุตร
และหลานมากเพียงนั้นแก่หม่อมฉัน ฯ
พ. ดูกรนางวิสาขา ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐๐ ผู้ใดมีสิ่ง
ที่รัก ๙๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗๐
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕๐
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓๐
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖ ผู้นั้นก็มี
ทุกข์ ๖ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒ ผู้ใดมีสิ่ง
ที่รัก ๑ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑ ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้น
ไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส ฯ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง
อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี มากมายหลาย
อย่างนี้มีอยู่ในโลก เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก
เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไร
และความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มี
สัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหนๆ ผู้นั้นเป็นผู้มีความ
สุข ปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนาความไม่
โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขาร
ให้เป็นที่รัก ในโลกไหนๆ ฯ




ขอบคุณhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=abhinop&month=09-2011&date=27&group=2&gblog=57


ปุจฉา  - ทำไมต้องแอบรัก

ผู้ติดตาม