วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราช

"ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทานมีจิตผู้พันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน
มุ่งการสั่งสมทาน ให้ทาน ด้วยคิดว่า เราตายไปแล้วจักได้เสวยผลแห่งทานนี้ เขาผู้นั้น เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราช"

http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=16677

ลาภสักการะ

สกฺกาโร แปลว่า สักการะที่ดี. อธิบายว่า ปัจจัยทั้งหลาย
ที่เขาปรุงแต่งให้ประณีต ประณีตและดีเรียกว่า สักการะ ซึ่งได้แก่การที่
คนอื่นเขาทำความเคารพตน หรือบูชาด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้เป็นต้น.
บทว่า สิโลโก แปลว่าการกล่าวสรรเสริญคุณ
ลาภ ๑
สักการะ๑
การกล่าวสรรเสริญ ๑ นั้น
 
ชื่อว่าลาภสักการะ และสิโลกะ.
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%A0%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

ภัยและสิ่งที่น่ากลัว

บรรดาภัยและสิ่งที่น่ากลัวทั้ง ๒ อย่างนั้น ภัย พึงทราบว่าเป็น
อกุศล เพราะมีความหมายว่ามีโทษ สิ่งที่น่ากลัว พึงทราบว่าเป็นอกุศล
เพราะมีความหมายว่าไม่ปลอดภัย.

บทว่า หเว เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า โดยส่วนเดียว.
บทว่า อกุสลํ ได้แก่สิ่งมีโทษและไม่ปลอดภัย.
บทว่า ภยเภรวํ แปลว่า ภัยและสิ่งที่น่ากลัว.
บทว่า ภยเภรวํ นี้ เป็นชื่อเรียกความหวาดสะดุ้งแห่งจิตและอารมณ์
อันน่ากลัว.

พระองค์ตรัสว่าบุคคลนั้นได้ชื่อว่าได้ลอยบาปเสียแล้ว

พระองค์ตรัสว่า บุคคลใดงดเว้น จากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ พูดคำหยาบ พูด ส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น พยาบาทปองร้ายผู้อื่น มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม บุคคล นั้นได้ชื่อว่า ได้ลอยบาปเสียแล้ว


http://www.siammedia.org/articles/dhamma/20080822.php

พราหมณ์ผู้ลอยบาปได้แล้ว

บุคคลที่ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะมีความหมายว่า เปล่งเสียงว่า
พรหมะ อธิบายว่า ได้แก่สาธยายมนต์. ก็คำว่า พราหมณ์นั้นเป็นภาษา
เรียกคนที่เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด. ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลายท่านก็เรียกว่า
พราหมณ์ เพราะลอยบาปได้แล้ว.

อรรถกถา ภยเภรวสูตร


http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%A0%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

ผู้ติดตาม