วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

อุปัชฌายะพึงประณามสัทธิวิหาริก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประณามสัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ:-
๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะมิได้
๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้
๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้
๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ
๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้

http://www.vinaya.mbu.ac.th/sec2book4/page031.htm

อุปัชฌายะไม่พึงประณามสัทธิวิหาริก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประณามสัทธิวิหาริก ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะไม่พึงประณามสัทธิวิหาริก ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะ
๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
๓. มีความละอายอย่างยิ่ง
๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ
๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง

กรรมนั้นเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม

‎"ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความโลภ เกิดแต่ความโลภ มีความโลภเป็นเหตุ มีความโลภเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม"
http://www.facebook.com/nungmeedee?ref=tn_tnmn#!/boonyarith.bo
th.wikipedia.org/wiki/โลภ
โลภะ แปลว่า ความโลภ ความอยากได้ เป็นเป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ 3 อย่างคือ โลภะ โทสะ โมหะ. โลภะ เกิดจากตัณหาคือความทะยานอยากได้ ...

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

เลิศกว่าทานทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก
fair
ธรรม, ขาว, สวย, ทอง, อ่อน, ลออ

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

อย่าพูดดิรัจฉานกถา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าพูดดิรัจฉานกถา ซึ่งมีหลายอย่าง คือ
พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่อง
ผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่อง
นคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่
ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วย
ประการนั้นๆ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?  เพราะถ้อยคำนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นพรหมจรรย์
เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน

ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะพูด พึงพูดว่า นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร?  เพราะถ้อยคำนี้ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ
ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข-
*นิโรธคามินีปฏิปทา.



ภิกษุ
ความหมาย

น. ชายที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา. (ส.; ป. ภิกฺขุ).
คาถา
คาถา ๑
ความหมาย

น. คําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.
คาถา ๒, คาถาอาคม
ความหมาย

น. คําเสกที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์.

ปฏิปทา
ความหมาย

[-ปะทา] น. ทางดําเนิน; ความประพฤติ. (ป.).

มหาศาล

ผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ หวังจะเข้าถึงฐานะใด ๆ ได้แก่กษัตริย์มหาศาล , พราหมณ์มหาศาล , คฤหบดีมหาศาล , เทพชั้นจาตุมหาราช , ชั้นดาวดึงส์ , ชั้นยามะ , ชั้นดุสิต , ชั้นนิมมานรดี , ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี , ชั้นพรหม , เทพพวกอาภะ ( มีแสงสว่าง ) , พวกปริตตาภะ , พวกอัปปมาณาภะ , พวกอาภัสสระ , พวกปริตตสุภะ , อัปปมาณสุภะ, พวกสภกินหกะ , พวกเวหัปผละ , พวกอวิหะ , พวกอตัปปะ, พวกสุทัสสะ, พวกสุทัสสี, พวกอกนิฏฐกะ , พวกอากาสานัญจายตนะ , พวกวิญญาณัญจายตนะ , พวกอากิญจัญญายตนะ, พวกเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือหวังทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน ก็มีฐานะที่เป็นไปได้ เพราะผู้นั้นประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ.
พราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ เลื่อมใสพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต


มหาศาลที่นำมาต่อท้ายกษัตริย์ , พราหมณ์ , คฤหบดี หมายความว่ามีทรัพย์มาก

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/4.5.html

เหตุให้เข้าถึงสุคติโลกสรรค์

ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ โดยแยกออกเป็นทาง ๓ ทางวาจา ๔ ทางใจ ๓ (สุจริต ๓ ซึ่งแจกออกเป็น ๑๐ อย่าง เรียกกุศลกรรมบถ หรือทางแห่งกุศล ) ซึ่งเป็นเหตุให้เข้าถึงสุคติโลกสรรค์.

การบรรพชาเหมือนที่กลางแจ้ง

การครองเรือนเป็นเหมือนทางที่เต็มไปด้วยฝุ่น ส่วนการบรรพชาเหมือนที่กลางแจ้ง

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/4.4.html

สมณพราหมณ์ผู้ฉลาด

ทรงแสดงถึงคนเลี้ยงโคชาวมคธ ผู้ฉลาดให้โคผู้ ที่เป็นพ่อโค เป็นผู้นำฝูงข้ามน้ำก่อนแล้วจึงให้โคที่มีกำลัง โคฝึก ลูกโคตัวผู้ตัวเมีย และลูกโคที่อ่อนกำลังข้ามตามไป. ตรัสว่า แม้ลูกโคที่คลอดในขณะนั้น ก็ว่ายน้ำตามแม่โค ตัดกระแสน้ำไปได้. สมณพราหมณ์ผู้ฉลาดก็ฉันนั้น ทำให้คนที่เชื่อฟังได้รับประโยชน์ความสุขไปด้วยตลอดกาลนาน.
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/4.4.html

ทดลองความบริสุทธิ์เพราะเหตุต่าง ๆ

ทดลองความบริสุทธิ์เพราะเหตุต่าง ๆ

๑. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยอาหาร จึงทรงยังพระชนมชีพด้วยผลกะเบา เคี้ยวผลกะเบา ผลกระเบาป่น ดื่มน้ำกะเบา บริโภคกะเบาที่ทำเป็นชนิดต่าง ๆ; ทรงยังพระชนมชีพด้วยถั่ว , งา , ข้าวสาร ( ลองเป็นอย่าง ๆ ไป ) ลดลงจนเหลือเพียงกะเบา , ถั่ว , งา หรือข้าวสารเพียงเมล็ดเดียว เพราะขาดอาหารนั้น ทำให้พระกายซูบซีด ซวนล้ม เมื่อลูบพระกาย พระโลมาซึ่งมีรากเน่าก็หลุดจากพระกาย แต่มิได้ทรงบรรลุธรรมอันยิ่งของมนุษย์ เพราะมิได้ทรงบรรลุปัญญาอันประเสริฐอันจะทำให้ถึงที่สุดทุกข์ได้. ๒. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยสงสาร ( การท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิด ). ก็ไม่มีการท่องเที่ยวไป ในที่ใดที่ไม่ทรงเคยไป จะพึงหาได้ง่ายโดยกาลอันนานนี้ เว้นไว้แต่เทพชั้นสุทธาวาสเพราะถ้าท่องเที่ยวไปในเทพชั้นสุทธาวาส ( ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระอนาคามี ผู้ไม่กลับมาสู่มนุษย์โลกอีก ) พระองค์ก็จะไม่มาสู่โลกนี้อีก. ๓. และ ๔. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยการเกิด ( อุปบัติ ) , การอยู่ ( อาวาส ). ก็ไม่มีการเกิด , การอยู่ ในที่ไหนที่ไม่ทรงเคยเกิด , เคยอยู่ โดยกาลอันนานนี้ เว้นแต่เทพชั้นสุทธาวาส เพราะถ้าทรงเกิด , ทรงอยู่ในเทพชั้นสุทธาวาส ก็จะไม่มาสู่โลกนี้อีก. ๕. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยยัญ ก็ไม่มียัญชนิดไหนที่ไม่ทรงเคยบูชาโดยกาลอันนานนี้. ๖. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยการบำเรอไฟ ( คือหาเชื่อใส่ไฟตลอดเวลา ) ก็ไม่มีไฟที่ไม่เคยทรงบำเรอโดยกาลอันนานนี้.

คนอื่นเขาทำความชั่ว เราจักทำความดี

ตรัสสอนให้ทำการขัดเกลาว่า คนอื่นเขาทำความชั่ว เราจักทำความดี ( ทรงแสดงการเบียดเบียนและอกุศลกรรมบถ ๑๐ มีการฆ่าสัตว์ เป็นต้น มีความเห็นผิดเป็นที่สุด , มิจฉัตตะ ๑๐ (ความผิด ( มีความเห็นผิด เป็นต้น มีความหลุดพ้นผิดเป็นที่สุด และทรงแสดงโทษอื่น ๆ อีก เช่น อุปกิเลส เป็นฝ่ายชั่ว ตรงกันข้ามเป็นฝ่ายดี รวมฝ่ายละ ๔๔ ข้อ ).

เพียงแต่คิดในการกุศลธรรม

 เพียงแต่คิดในการกุศลธรรม ก็ยังมีอุปการะมาก จึงไม่ต้องกล่าวถึงการลงมือทำด้วยกายและวาจา . ฉะนั้น จึงควรคิดว่า คนอื่นเขาเบียดเบียน เราจักไม่เบียดเบียน เป็นต้น.
 

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

การแสวงหาที่ประเสริฐเป็นไฉน?

การแสวงหาที่ประเสริฐเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนบางคนในโลกนี้ โดยตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา
ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เกิด หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ โดยตนเองเป็นผู้มี-
*ชราเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีชราเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่แก่
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้เกษมจากโยคะ โดยตนเองเป็นผู้พยาธิเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมี
พยาธิเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาพระนิพพาน หาพยาธิมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ
โดยตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาพระ-
*นิพพาน ที่ไม่ตาย หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามีได้ เกษมจากโยคะ โดยตนเองเป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา
ทราบชัดโทษในสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพาน ที่หาโศกมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
เกษมจากโยคะ โดยตนเองเป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา
ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เศร้าหมอง หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้แล คือการแสวงหาที่ประเสริฐ.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=5384&Z=5762

การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐเป็นไฉน?

การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนบางคนในโลกนี้ โดยตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็นธรรมดาอยู่นั่น-
*แหละ เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชราเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ เป็นผู้มีพยาธิเป็น
ธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ยังแสวงหา
สิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา
อยู่นั่นแหละ เป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ
ก็อะไรเรียกว่า สิ่งมีชาติเป็นธรรมดา บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค
ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่า สิ่งมีชาติเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีชาติเป็นธรรมดาเหล่านั้น
(เป็นสิ่งที่มนุษย์เทิดทูนเอาไว้)เป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=5384&Z=5762

อุปธิ. อุป ( เข้าไป , ใกล้ , มั่น ) + ธิ ( สภาพที่ทรงไว้ ) สภาพที่เข้าไปทรงไว้ซึ่งทุกข์ หมายถึง สภาพธรรมที่เป็นที่อาศัยแห่งทุกข์หรือเป็น มูลแห่งทุกข์ ได้แก่ อุปธิ...


อุปธิ - บ้านธัมมะ

ผู้ติดตาม