วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

เปตวิสัย

ในเปตวิสัย๑นั้น ไม่มีกสิกรรม (การทำไร่ไถนา)
ไม่มีโครักขกรรม (การเลี้ยงวัวไว้ขาย)
ไม่มีพาณิชกรรม (การค้าขาย) เช่นนั้น
การแลกเปลี่ยนซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี
ผู้ที่ตายไปเกิดเป็นเปรตในเปตวิสัยนั้น
ดำรงชีพด้วยผลทานที่พวกญาติอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราช

"ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทานมีจิตผู้พันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน
มุ่งการสั่งสมทาน ให้ทาน ด้วยคิดว่า เราตายไปแล้วจักได้เสวยผลแห่งทานนี้ เขาผู้นั้น เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราช"

http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=16677

ลาภสักการะ

สกฺกาโร แปลว่า สักการะที่ดี. อธิบายว่า ปัจจัยทั้งหลาย
ที่เขาปรุงแต่งให้ประณีต ประณีตและดีเรียกว่า สักการะ ซึ่งได้แก่การที่
คนอื่นเขาทำความเคารพตน หรือบูชาด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้เป็นต้น.
บทว่า สิโลโก แปลว่าการกล่าวสรรเสริญคุณ
ลาภ ๑
สักการะ๑
การกล่าวสรรเสริญ ๑ นั้น
 
ชื่อว่าลาภสักการะ และสิโลกะ.
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%A0%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

ภัยและสิ่งที่น่ากลัว

บรรดาภัยและสิ่งที่น่ากลัวทั้ง ๒ อย่างนั้น ภัย พึงทราบว่าเป็น
อกุศล เพราะมีความหมายว่ามีโทษ สิ่งที่น่ากลัว พึงทราบว่าเป็นอกุศล
เพราะมีความหมายว่าไม่ปลอดภัย.

บทว่า หเว เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า โดยส่วนเดียว.
บทว่า อกุสลํ ได้แก่สิ่งมีโทษและไม่ปลอดภัย.
บทว่า ภยเภรวํ แปลว่า ภัยและสิ่งที่น่ากลัว.
บทว่า ภยเภรวํ นี้ เป็นชื่อเรียกความหวาดสะดุ้งแห่งจิตและอารมณ์
อันน่ากลัว.

พระองค์ตรัสว่าบุคคลนั้นได้ชื่อว่าได้ลอยบาปเสียแล้ว

พระองค์ตรัสว่า บุคคลใดงดเว้น จากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ พูดคำหยาบ พูด ส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น พยาบาทปองร้ายผู้อื่น มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม บุคคล นั้นได้ชื่อว่า ได้ลอยบาปเสียแล้ว


http://www.siammedia.org/articles/dhamma/20080822.php

พราหมณ์ผู้ลอยบาปได้แล้ว

บุคคลที่ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะมีความหมายว่า เปล่งเสียงว่า
พรหมะ อธิบายว่า ได้แก่สาธยายมนต์. ก็คำว่า พราหมณ์นั้นเป็นภาษา
เรียกคนที่เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด. ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลายท่านก็เรียกว่า
พราหมณ์ เพราะลอยบาปได้แล้ว.

อรรถกถา ภยเภรวสูตร


http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%A0%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

ผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่ชนผู้มีความรังเกียจด้วยโคตร

กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด     ในหมู่ชนผู้มีความ

                   รังเกียจด้วยโคตร  ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ

                   จรณะ        เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและ

                   มนุษย์ดังนี้.

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=12057

ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุรุษพึงวางก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว  ๗  ก้อนไว้ที่ขุนเขาสิเนรุ  เธอทั้งหลาย
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน  ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว  ๗  ก้อนที่บุรุษ
วางไว้กับขุนเขาสิเนรุ   ไหนจะมากกว่ากัน. 

 ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ขุนเขาสิเนรุนี้แหละมากกว่า    ก้อนหินเท่าเมล็ด
ถั่วเขียว  ๗  ก้อนที่บุรุษวางไว้มีประมาณน้อย   ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว
๗  ก้อนที่บุรุษวางไว้เมื่อเทียบเข้ากับขุนเขาสิเนรุ      ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่  ๑๐๐
เสี้ยวที่  ๑,๐๐๐  เสี้ยวที่   ๑๐๐,๐๐๐  แม้ฉันใด.

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

ดูกรภิกษุ
เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง
ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น
๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป สิ้นไป เพราะความ
พยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนาน
อย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่
ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า สงสารนี้
กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้
พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่าย ในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะ
หลุดพ้น ดังนี้ ฯ

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไม่ควรทำมานะในมารดา บิดา พี่ชาย และในอาจารย์

ไม่ควรทำมานะในใคร ควรมีความเคารพในใคร พึงยำเกรง
                          ใคร บูชาใครด้วยดีแล้ว จึงเป็นการดี ฯ

             [๖๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
                          ไม่ควรทำมานะในมารดา บิดา พี่ชาย และในอาจารย์เป็น
                          ที่ ๔ พึงมีความเคารพในบุคคลเหล่านั้น พึงยำเกรงบุคคล
                          เหล่านั้น บูชาบุคคลเหล่านั้นด้วยดีแล้วจึงเป็นการดี บุคคล
                          พึงทำลายมานะเสีย ไม่ควรมีความกระด้างในพระอรหันต์ผู้
                          เย็นสนิท ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว หาอาสวะมิได้ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
                          เพราะอนุสัยนั้น ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=5740&Z=5784&pagebreak=0

ผู้มีปัญญาถึงจะเกิดบ่อยๆ ก็เพื่อได้มรรคแล้วไม่เกิดอีก

 [๖๘๐] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
กสิกรย่อมหว่านพืชบ่อยๆฝนย่อมตกบ่อยๆ
ชาวนาย่อมไถนาบ่อยๆแว่นแคว้นย่อมบริบูรณ์ด้วยธัญชาติบ่อยๆ
ยาจกย่อมขอบ่อยๆ ทานบดีก็ให้บ่อยๆ ทานบดีให้บ่อยๆ แล้ว ก็เข้าถึงสวรรค์
บ่อยๆ ผู้ต้องการน้ำนมย่อมรีดนมบ่อยๆ ลูกโคย่อมเข้าหาแม่โคบ่อยๆ บุคคล
ย่อมลำบากและดิ้นรนบ่อยๆ คนเขลาย่อมเข้าถึงครรภ์บ่อยๆ สัตว์ย่อมเกิดและ
ตายบ่อยๆ บุคคลทั้งหลายย่อมนำซากศพไปป่าช้าบ่อยๆ ส่วน
ผู้มีปัญญาถึงจะเกิดบ่อยๆ ก็เพื่อได้มรรคแล้วไม่เกิดอีก  ดังนี้ ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=5615&Z=5641&pagebreak=0

พระองค์ปฏิญาณว่าเป็นชาวนา

[๖๗๓] ครั้งนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ด้วยคาถาว่าพระองค์ปฏิญาณว่าเป็นชาวนา แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นการไถของพระองค์ พระองค์ผู้เป็นชาวนา ข้าพเจ้าถามแล้วขอจงตรัส บอก ไฉน ข้าพเจ้าจะรู้การทำนาของพระองค์นั้นได้ ฯ
             [๖๗๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
                          ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอก
                          และไถ หิริเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาล
                          และประตัก เรามีกายคุ้มครองแล้ว มีวาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้
                          สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้า (คือวาจา
                          สับปรับ) ด้วยคำสัตย์ โสรัจจะของเราเป็นเครื่องให้แล้ว
                          เสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวัง
                          นำไปถึงความเกษมจากโยคะ ไปไม่ถอยหลัง ยังที่ซึ่งบุคคล
                          ไปแล้วไม่เศร้าโศก ฯ
เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำนั้นย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคล
                          ทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=5561&Z=5614&pagebreak=0

มานะแลเป็นดุจภาระ

มานะแลเป็นดุจภาระคือ หาบของท่าน ความ
                          โกรธดุจควัน มุสาวาทเป็นดุจเถ้า ลิ้นเป็นประดุจภาชนะ
                          เครื่องบูชา หทัยเป็นที่ตั้งกองกูณฑ์ ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็น
                          ความรุ่งเรืองของบุรุษ

ความหมดจดอย่างยิ่ง ชาติกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล

เพราะชาติกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และ
                          คนเทหยากเยื่อ มีความเพียรอันปรารภแล้ว มีตนส่งไปแล้ว
                          มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ ย่อมถึงความหมดจดอย่างยิ่ง

พราหมณ์นั้นถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ

พราหมณ์บางคน ในโลกแม้เป็นผู้มีศีล กระทำตบะอยู่ ย่อม
                          หมดจดไม่ได้ พราหมณ์นั้นถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ
                          ย่อมหมดจดได้ หมู่สัตว์อื่นนอกนี้ย่อมหมดจดไม่ได้ ฯ

ไม่เป็นพราหมณ์

พราหมณ์ผู้กล่าวถ้อยคำแม้มาก เป็นผู้เน่าและเศร้าหมองใน
                          ภายใน อาศัยการโกหก (ลวงโลก) ย่อมไม่เป็นพราหมณ์

ประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย

ผู้มีสติสงบอยู่ได้ ผู้นั้นชื่อว่า
                          ย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและแก่ผู้อื่น
                          เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและของ
                          ผู้อื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า
                          เป็นคนเขลา ดังนี้ ฯ

ความอดกลั้นได้เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้งอยู่

ชนพาลกล่าวคำหยาบด้วยวาจา ย่อมสำคัญว่าชนะทีเดียว แต่
                          ความอดกลั้นได้เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้งอยู่

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=5247&Z=5284&pagebreak=0

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

ธรรมลามก ...

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  บรรดาธรรมดังกล่าวแล้วนั้น
 ความโกรธและความผูกโกรธไว้เป็นธรรมลามก ...
 ความลบหลู่และความตีเสมอ เป็นธรรมลามก ...
 ความริษยาและความตระหนี่เป็นธรรมลามก ...
 ความเจ้าเล่ห์และความโอ้อวด เป็นธรรมลามก ...
ความหัวดื้อและความแข่งดีเป็นธรรมลามก ...
ความถือตัวและความดูหมิ่น เป็นธรรมลามก ...
ความเมาและความเลินเล่อ เป็นธรรมลามก
มัชฌิมาปฏิปทาเพื่อละความเมาและความเลินเล่อมีอยู่ ทำความเห็น ทำความรู้ ย่อม
เป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.


*อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ
การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
มัชฌิมาปฏิปทานี้แล ทำความเห็น ทำความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ
ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=385&Z=516&pagebreak=0

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มี

ขัคควิสาณสูตรที่ ๓
ว่าด้วยผู้เที่ยวไปคนเดียวเหมือนนอแรด


หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มี

ปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้

มีปรกติอยู่ด้วยกรรมดี  เป็นนักปราชญ์ไซร้

พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว   ดุจพระราชาทรงละ

แว่นแคว้นอันพระองค์ทรงชนะแล้วเสด็จไป

แต่ผู้เดียว ดุจช้างชื่อมาตังคะละโขลงเที่ยว

อยู่ในป่าแต่ตัวเดียว ฉะนั้น. ...........   

       http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=16982

สหายผู้มีปัญญา

ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญา

เครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้มีปรกติ

อยู่ด้วยกรรมดี     เป็นนักปราชญ์ไซร้   พึง

ครอบงำอันตรายทั้งปวง    เป็นผู้มีใจชื่นชม

มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=16982

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน

ดูกรภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า
@๑. สัสสตทิฐิ ๒. อุจเฉททิฐิ
ภิกษุธรรมกถึก ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อ
ความดับชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าภิกษุ
เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ
เพราะไม่ถือมั่นชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน

------------------------------------------------------------------------------------
คลาย
ความหมาย[คฺลาย] ก. ทำให้หลวม, ขยายให้หลวม,

ลดลง, ทุเลา, บรรเทาลง, เช่น คลายทุกข์ คลายรัก พิษไข้คลาย คลายกังวล.

เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น
 อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก
ดูกรอานนท์เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ...
ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ
จาก ปัจจัยสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖
ภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้แล เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท
(ภิกฺขเว ยา ตตฺร ตถตา อวิตถตา อนฺถตา อิทปฺปจฺจยตา อย วุจฺจติ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท)
(ถ้าเขียนทับศัพท์จะได้ว่า -ภิกษุทั้งหลาย ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา หลักอิทัปปัจจยตา ดังพรรณนามาฉะนี้แล เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท)
จาก มหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97

ธรรมธาตุ

พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุอันนั้น  คือ
ธัมมฐิติ ๑-
ธัมมนิยาม ๒-
 อิทัปปัจจัย ๓-


 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า
ธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น ฯ
@๑. ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ๒. ความแน่นอนของธรรมดา ๓. มูลเหตุอันแน่นอน

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

ผู้หลงย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น

 ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ มีจิตอันความหลงกลุ้มรุมนี้
 ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคล ผู้หลงย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้

http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasut/02.html

บัญญัติความเกิดขึ้นแก่คนที่ยังมีอุปาทาน

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จริงทีเดียว ควรที่ท่านจะสงสัยเคลือบแคลงใจ ความเคลือบแคลงเกิดขึ้นแล้วแก่ท่านในฐานะที่ควรสงสัย ดูกรวัจฉะ เราย่อมบัญญัติความเกิดขึ้นแก่คนที่ยังมีอุปาทานเท่านั้น หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่ ดูกรวัจฉะ ไฟมีเชื้อจึงลุกโพลง ไม่มีเชื้อหาลุกโพลงไม่ แม้ฉันใด ดูกรวัจฉะ เราก็ย่อมบัญญัติความเกิดขึ้นแก่คนที่ยังมีอุปาทาน หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่ ฉันนั้นเหมือนกันแล

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

ผู้ล้างบาปเสียเเล้ว


ผู้มีกายสะอาดมีวาจาสะอาดมีใจสะอาด ไม่มีอาสวะเป็นผู้สะอาด ถึงพร้อมด้วยความสะอาดบัญฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นผู้ล้างบาปเสียแล้ว



โสเจยยสูตร๒



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=7154&Z=7186&pagebreak=0

ผู้ติดตาม