วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปุญญวิปากสูตร(เจริญเมตตาจิต)

[๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้
เป็นชื่อของความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมรู้ชัดซึ่งผลแห่งบุญอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ที่เราเสวยแล้วตลอดกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี
ครั้นแล้ว เราไม่ได้กลับมายังโลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป
ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อโลกถึงความพินาศ [ถูกไฟไหม้] เราเข้าถึงพรหมโลกชั้น
อาภัสสระ เมื่อโลกยังไม่ถึงความพินาศ เราย่อมเข้าถึงวิมานพรหมอันว่างเปล่า
ได้ยินว่า ในวิมานพรหมนั้น เราเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่
ใครๆ ครอบงำไม่ได้ มีความเห็นแน่นอน มีอำนาจเต็ม เป็นท้าวสักกะผู้เป็น
ใหญ่แห่งทวยเทพ ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ตั้งอยู่ในธรรม เป็นธรรมราชา
มีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ผู้ชนะสงคราม มีชนบทถึงความสถาพรตั้งมั่น
ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ รัตนะ ๗ ประการของเรานั้นคือ จักรแก้ว
ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ขุนพลแก้วเป็นที่ ๗ อนึ่ง
เราเคยมีบุตรมากกว่าพันคน ล้วนแต่เป็นคนกล้าหาญชาญชัย ย่ำยีข้าศึกได้ เรา
ครอบครองปฐพีมณฑลนี้ อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต โดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา
ไม่ต้องใช้ศาตรา ฯ(สูตรที่๙)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=1939&Z=1976&pagebreak=0

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พึงเห็นสิ่งเป็นปัจจุบันและเฉพาะหน้า



















“ผู้มีปัญญา ไม่ควรให้สิ่งล่วงไปแล้วมาตาม ไม่ควรหวังสิ่งซึ่งยังมาไม่ถึง เพราะว่าสิ่งใดล่วงพ้นไปแล้ว สิ่งนั้นอันเราละเสียแล้ว อนึ่ง สิ่งใดซึ่งไม่มาถึงเล่าสิ่งนั้นก็ยังไม่มาถึง เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา จึงไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงไปแล้วมาตามไม่ควรหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ก็ผู้มีปัญญาได้มาเห็นธรรมเป็นปัจจุบันเกิดขึ้น เฉพาะหน้าแจ้งชัดอยู่ในที่นั้น ๆ ใครจะพึงรู้ว่า ความตายจักไม่มีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าสู้ความหน่วงเหนี่ยว ความผูกพันด้วยมฤตยู ความตาย ซึ่งมีเสนาใหญ่นั้นมิได้เลย ฉะนั้นความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน อันผู้มีปัญญาควรทำเสียในวันนี้เลยทีเดียว ไม่มีความเกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างนี้ ผู้นั้นแลเป็นผู้มีราตรีเดียวเจริญดังนี้”

http://www.csd.go.th/news/27102006/

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

*ปุญญกิริยวัตถุสูตร

ดูกร เธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! บุคคลบางคนในโลกนี้กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อถึงแก่กาลกิริยาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

*ปุญญกิริยวัตถุสูตร

(อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๖ หน้า ๑๔๕ บาลีฉบับสยามรัฐ)

เรียบเรียงจากโลกทีปนี และภูมิวิลาสินี โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี

(วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
จากสมาชิกพันทิป

http://www.pantip.com/

การให้ทานนั้นเป็นทางไปสู่สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

ดูกรสารีบุตร! ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวัง ให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า"เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เช่นเดียวกับฤาษีทั้งหลาย แต่กาลก่อนคือท่านอัฏฐกฤาษี ท่านวามกฤาษี ท่านวามเทว ฤาษี ท่านเวสสามิตฤาษี ท่านยมทัคคฤาษี ท่านอังคีรสฤาษี ท่านภารทวาชฤาษี ท่านวาเสฏฐฤาษี ท่านกัสสปฤาษี ท่านภคฤาษี" ดังนี้ แต่เขาให้ทานด้วยคิดว่า "เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตของเราจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส" เขาผู้นั้นให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาทั้งหลาย ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

*ทานสูตร (อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ หน้า ๖๐ บาลีฉบับสยามรัฐ)
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.pantip.com

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อหังการ มมังการ และมานานุสัย

ดูกรราหุล ขันธ์5อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งในอดีต ในอนาคต หรือในปัจจุบัน ที่ภายในตนหรือภายนอกตน หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม บุคคลพึงพิจารณาขันธ์5 ทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูกรราหุล เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อหังการ มมังการ และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอกนี้ จึงจะไม่มี ก้าวล่วงด้วยดีในส่วนแห่งมานะ สงบแล้ว หลุดพ้นแล้วด้วยดี



พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม9 สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เถรวรรค
ขอบคุณข้อมูลhttp://wandeedee.wordpress.com/category/uncategorized/page/3/
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



.

ผู้ติดตาม