วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อาสวานํ ขยาย สมโณ บุคคลที่เป็นอาสวักขันแล้วเรียกว่าเป็นสมณะมั่นคงแล้ว

 มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า  พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียก
นรชาติฝูงคนอันเป็นสมังคี  มีความพร้อมเพรียงด้วยธรรม ๔ ประการว่าเป็นสมณะ
 และ
คุณธรรม ๔ ประการนี้ คือ
ขนฺตี ความอดทนประการ ๑
อปฺปาหารตา  บริโภคอาหารแต่น้อยประการ๑
รติวิปฺปหานํ  คือประหารเสียซึ่งกำหนัดประการ ๑
อกิญฺจนํ  หากังวลมิได้ประการ ๑
สิริเป็นคุณธรรม ๔ และธรรมทั้ง ๔ นี้  มีอยู่ในสันดานบุคคลเป็น
ปุถุชนประกอบด้วยกิเลส  นี่แหละคำพระองค์ตรัสไว้ว่า  บุคคลที่เป็นอาสวักขันแล้วเรียกว่า
เป็นสมณะมั่นคงแล้ว


อัคคาอัคคสมณปัญหา ที่ ๑๐

             ภนฺเต  นาคเสน  ภาสิตํ  เจตํ  ภควตา  อาสวานํ  ขยาย  สมโณ  โหตีติ


มิลินทปัญหา




อาสวักขยญาณ
ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มี กิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ(พิจารณา)

ขอบคุณข้อมูล
http://nkgen.com/427.htm

จิตใจของผู้บรรลุถึงอาสวขยญาณ เป็นจิตใจที่ผ่องแพ้ว ชื่นบาน เยือกเย็น และมั่นคง ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่ตื่นเต้น ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ใดๆ แม้จะร้ายแรงสักปานใดก็ตาม
ขอบคุณข้อมูล
บุญญสิกขา บุญญสิกขา ได้ร่วมบริจาคเข้าโครงการของเว็บพลังจิตเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา ในระยะ2เดือนนี้
ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่ แน่นิ่ง

[๓๐๐]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน ป่าช้า  อันฝูงกา
จิกกินอยู่บ้าง  ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง  ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง  หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง
หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง  สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆ  ชนิดฟอนกินอยู่บ้าง  จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบ
กายนี้ว่า  แม้กายนี้แล  ก็เหมือนอย่างนี้  เป็นธรรมดา  มีความเป็นอย่างนี้  ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
เมื่อภิกษุนั้นไม่  ประมาท  มีความเพียร  ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้  ย่อมละความดำริพล่านที่
อาศัยเรือนเสียได้ 
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้  จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่  แน่นิ่ง
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น  ตั้งมั่น
  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  แม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ  ฯ

กายคตาสติ 
คำว่า อาการ 32 เป็นคำที่มาจากคติในทางพระพุทธศาสนา ที่ถือว่าร่างกายของคนเราสามารถพิจารณาจำแนกออกเป็นธาตุทั้ง 4 คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)  อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)  เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) และ วาโยธาตุ (ธาตุลม)  ในจำนวนธาตุทั้ง 4 นี้ มีอยู่ 2 ธาตุ ที่สามารถจับต้องได้ คือ ปฐวีธาตุ กับ อาโปธาตุ

ปฐวีธาตุ เป็นธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง มี 19 อย่าง ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า  กับ มันสมอง อีก 1 อย่าง รวมเป็นทั้งหมด 20 อย่าง  ส่วน อาโปธาตุ เป็นธาตุที่มีลักษณะเอิบอาบ มี 12 อย่าง ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร   หากเรานับรวม ปฐวีธาตุ และ อาโปธาตุ ก็จะได้ 32 อย่าง เราจึงเรียกว่า อาการ 32 ซึ่งตรงกับภาษาบาลีว่า ทวัตติงสาการ     อาการ 32 จึงมิได้หมายถึงอวัยวะ 32 ส่วน อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่หมายถึงส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายของเราตามที่อธิบายไว้เบื้องต้น


http://www.etipitaka.com/compare?lang1=thai&lang2=pali&p1=164&p2=205&volume=14

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สิ้นสงสัยด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้อง


พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มากแล้วจะสิ้นสงสัย" ความสงสัยจะไม่มีวันสิ้นไปได้ ด้วยการคิด ด้วยทฤษฎี ด้วยการคาดคะเน หรือด้วยการถกเถียงกัน หรือจะอยู่เฉยๆไม่ปฏิบัติภาวนาเลย ความสงสัยก็หายไปไม่ได้อีกเหมือนกัน กิเลสจะหายสิ้นไปได้ก็ด้วยการพัฒนาทางจิต ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น


หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=38483

พระสัจธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป

พวกภิกษุ  เล่าเรียนสูตร อันถือกันมาผิด
ด้วยบทและพยัญชณะที่ใช้กันมาผิด
เมื่อบทและพยัญชนะใช้ผิดกันแล้ว
แม้แต่ความหมายก็มีนัยอันคลาดเคลื่อน
ภิกษุทั้งหลาย! นี้มูลกรณีย์หนึ่ง
ซึ่งทำให้พระสัจธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป

บาลี พระพุทธภาษิต จตุกก. อ. ๒๑/๑๙๗/๑๖0

สัจธรรม คือ ความเป็นไปของธรรมชาติ โดยปราศจากความเป็นตัวเรา ของเรา อย่างสิ้นเชิง

บัวสี่เหล่า

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนมหานทีไหลไปสู่ทิศปราจีน


๖. มหานทีปาจีนนินนสูตร
ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนมหานทีไหลไปสู่ทิศปราจีน


[๒๓๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหิ
ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีนแม้ฉันใด   ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘  เมื่อกระทำให้มาก

ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์  ๘  ก็น้อมไปสู่นิพพาน    โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน  ฉันนั้นเหมือนกัน.                                 
[๒๓๖]   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์  ๘ อย่างไรเล่า
จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน   โน้มไปสู่นิพพาน  โอนไปสู่นิพพาน   ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย   ภิกษุในธรรมวินัยนี้     ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ    อันน้อมไปสู่นิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน  โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ   อันน้อมไป

ปาจีนนินนสูตร














แดงเสรีชน

แดงเสรีชน : ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
ให้ลมพัดพา ใจฉันไปหาใจเธอ   ล่องลอยดั่งนกละเมอ ห่วงเธอหนอคนเสื้อแดง
สู้แดดตากฝน อดทนแม้วันอับแสง  ฝากดาราดวงสีแดง จันทร์ช่วยอีกแรงให้เธอปลอดภัย..
ถนนคนจริง ย่างเดินย่ำรอยศรัทธา  เลือดเรากลั่นเป็นน้ำตา ผ่านมาไม่เคยหวั่นไหว
จะทรนง ไร้เส้นแต่มีหัวใจ  แลกเอาประชาธิปไตย จะหนักแค่ไหนไม่เห็นกังวล..
* คนเสื้อแดง สุดแรงแดงทั้งแผ่นดิน  โค่นล้มชนชั้นหมดสิ้น แผ่นดินเท่าเทียมทุกคน
จะกอดคอเธอ จะเคียงข้างกัน ฝ่าวันทุกข์ทน  ลบรอยอำมาตย์ให้พ้น ปลดแอกผองชนพ้นผู้กดขี่..
** ฟ้าอัสดง หลงลืมก้อนดินหรือเปล่า  ฝากใจฝากคืนไร้ดาว ห่มหนาวให้เธอฝันดี
ตรงเส้นขอบฟ้า เมฆดำบังตาไม่มี  แสงทองส่องชัยศึกนี้ ประกาศศักดิ์ศรี แดงเสรีชน…



ทิศตะวันตก หรือ ทิศประจิม หรือ ทิศปัจฉิม เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออกขวามือของทิศใต้และซ้ายมือของทิศเหนือโดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกอยู่ด้านซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ด้านขวาของแผนที่ดาว
ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตกพอดีในวันวิษุวัต
คตินิยมและความเชื่อ

ตาม
ตำราพรหมชาติมีความเชื่อว่าพืชมงคลประจำทิศตะวันตกคือ มะยมและ มะขามส่วนเทวดาประจำทิศตะวันตกคือพระพฤหัสบดี


ทิศตะวันตก

N. West
    def:[ทิศทางที่พระอาทิตย์ลับในเวลาเย็น]
    syn:{ทิศประจิม}
    ant:{ทิศตะวันออก}
    sample:[ทิศตะวันตกของไทยติดกับประเทศพม่า]

ทิศตะวันออก

N. east
    def:[ทิศทางที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้า]
    syn:{ทิศบูรพา}
    ant:{ทิศตะวันตก}{ทิศประจิม}
    sample:[ประเทศไทยมีอาณาเขตทิศตะวันออกจดประเทศลาว และประเทศกัมพูชา]

http://th.w3dictionary.org/index.php?q=%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81
http://www.palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=3000157

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พระองค์ทรงบัญญัญํติโลกกุตตรธรรมของคนทั่วไป

โลกย่อมยอมรับบัญญัติแห่งทรัพย์สี่ประการอย่างนั้นหรือพราหมณ์!
หามิได้  พระโคดม...
พราหมณ์เอย    เราขอบัญญัติโลกกุตรธรรมอันประเสริฐว่าเป็นของคน
ก็ต่อเมื่อ

ระลึกถึงสกุลวงศ์ทางมารดาบิดาแต่กาลก่อนว่าเป็นตะกูลใดอัตตภาพของเขาย่อมเป็นดังนั้น

เช่นเดียวกับไฟได้อาศัยอะไรเกิดขึ้นย่อมเป็นดังนั้นเช่น ไม้ฟืน สเก็ดไม้ หญ้าแห้ง หรือขี้วัว
เราบัญญัติว่าโลกกุตรธรรมเป็นของคนก็ต่อเมื่อระลึกได้ว่าอัตตภาพของตนมาจากสกุลใดๆฉันนั้น

พราหมณ์! แต่หากกุลบุตรแห่งกษัตริย์ต้องการลาออกจากสกุลกษัตริย์และได้อาศัยพระธรรมวินัยแห่งตถาคตเพื่อละเว้นการทำปาณาติปาต อทินนาทานจากเมถุนธรรม  เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท ปิสาวาท ผรุสวาท จากสัมผัปปลาปวาท เป็นผู้ไม่มีอภิชฌาไม่มีจิตพยาบาท เป็นผู้มีสัมมาทิฐิ
ย่อมสำเร็จเเละเป็นเครื่องนำพาออกจากทุกข์ได้
  กุลบุตรเเห่งพราหมณ์ เวสส์ สูทณ ก็ย่อมเป็นเช่นเดียวกัน

พราหมณ์!   พราหมณ์ท่านเข้าใจว่าพราหมณ์เป็นพวกเดียวเท่านั้นหรือที่จะเจริญเมตตากรุณาจิต ชนเหล่าอื่นมิควรเจริญเมตตาจิตและลดการเบียดเบียน ?


หาได้ไม่พระเจ้าข้าพระโคดม    กษัตริย์ก็สมควร เวสส์ก็สมควร สูทรก็สมควร

พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์๔ประการให้แก่

ข้าแต่พระสมณะโคดมผู้เจริญ
พราหมณ์ทั้งหลายได้บัญญัติทรัพย์๔ประการให้แก่
กษัตริย์ พราหมณ์ เวสส์ และสูทรคือ

การเที่ยวภิกขาจารเป็นของพราหมณ์
คันศรและกล่องธนูเป็นของกษัตริย์
คันไถและโครักขกรรมเป็นของเวสส์
เคียวและไม้คานเป็นทรัพของสูทร

เมื่อพราหมณ์เหยียด*การภิกขาจารย์
กษัตริย์เหยียดคันศร  เวสส์เหยียดคันไถ
สูทรเหยียดคันไถและโครักขกรรม
คือการทำกิจนอกหน้าที่




วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่ใคร ๆ ไม่อาจท้วงติงได้

          ภิกษุ ท.! ตถาคตเป็นผู้ที่ใครๆ ไม่อาจท้วงติงได้ด้วยธรรม ๓ อย่างคือ:-
          ภิกษุ ท.! (๑) ตถาคตมีธรรมอันตนกล่าวไว้ดีแล้ว, ในธรรมนั้นๆ ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม,หรือใครๆ ในโลก จักท้วงติงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ท่านไม่ใช่เป็นผู้มีธรรมอันตนกล่าวไว้ดีแล้ว เพราะเหตุเช่นนี้ๆ" ดังนี้.
          ภิกษุ ท.! (๒) ปฏิปทาเครื่องทำผู้ปฏิบัติให้ถึงพระนิพพาน เป็นสิ่งที่เราบัญญัติไว้ดีแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย, โดยอาการที่สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติแล้วย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ ท. ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมอันตนเห็นแล้วนี่เองเข้าถึงวิมุตตินั้นแล้วแลอยู่. ในปฏิปทานั้นๆ ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่าสมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม, หรือใครๆ ในโลก จักท้วงติงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ปฏิปทาเครื่องทำผู้ปฏิบัติให้ถึงพระนิพพาน เป็นสิ่งที่ท่านบัญญัติไว้ดีแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย, -โดยอาการที่ ฯลฯ แล้วแลอยู่ ก็หาไม่" ดังนี้.
          ภิกษุ ท.! (๓) สาวกบริษัทของเรา นับด้วยร้อยเป็นอเนก ที่ได้ทำให้แจ้ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ* ฯลฯ. ในข้อนั้น เราไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม, หรือใคร ๆ ในโลกจักท้วงติงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "สาวกบริษัทของท่าน มีนับด้วยร้อยเป็นเอนกก็หามิได้ ที่ได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ" ดังนี้.
          ภิกษุ ท.! เมื่อเรามองไม่เห็นวี่แววช่องทางนั้นๆ ก็เป็นผู้ถึงความเกษมถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้. นี้แล เป็นสิ่งที่ใครไม่ท้วงติงตถาคตได้ ๓ อย่าง.
บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๘๔/๕๕.

http://www.buddhadasa.org/html/life-work/dhammakot/01-buddha/3-13.html

ทรงมีวิธี "รุก" ข้าศึกให้แพ้ภัยตัว

ดูก่อนปริพพาชกทั้งหลาย!
ถ้าผู้ใดกล่าวหาเราว่า "ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้น ไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ประพฤติตาม" ดังนี้. เราก็จักซักไซ้สอบถามไล่เลียงเขาให้เป็นอย่างดี (ถึงประโยชน์ที่เขาว่าจะเป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ประพฤติตาม). เขานั้น ครั้นถูกเราซักไซ้สอบถามไล่เลียงเป็นอย่างดีแล้ว ย่อมหมดหนทาง ย่อมเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากจะตกอยู่ในฐานะลำบาก ๓ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือตอบถลากไถลนอกลู่นอกทางบ้าง, แสดงความขุ่นเคือง โกรธแค้น น้อยอกน้อยใจ ออกมาให้ปรากฏบ้าง, หรือต้องนิ่งอั้น หมดเสียง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีคำพูดหลุดออกมาได้ เหมือนอย่างสรภะปริพพาชกนี้บ้าง.

บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๓๘/๕๐๔. ตรัสแก่ปริพพาชกทั้งหลาย ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินี.

-ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากhttp://www.buddhadasa.org/html/life-work/dhammakot/01-buddha/3-09.html

ผู้ติดตาม