วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัญหา

สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา
[๕๑] คำว่า เราย่อมเห็น.... ดิ้นรนอยู่ในโลก มีความว่า
คำว่า ย่อมเห็น คือ ย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู
ด้วยมังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง ปัญญาจักษุบ้าง พุทธจักษุบ้าง สมันตจักษุบ้าง
คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก
ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก.
คำว่า ดิ้นรนอยู่ คือ เราย่อมเห็น ย่อมแลดู. ตรวจดู เพ่งดู
พิจารณาดู ซึ่งหมู่สัตว์นี้ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว
เอนเอียง กระสับกระส่ายอยู่
ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา
ด้วยความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ
ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลส
ด้วยความดิ้นรนเพราะความประกอบ
ด้วยความดิ้นรนเพราะผลกรรม
ด้วยความดิ้นรนเพราะทุจริต
ด้วยราคะของผู้กำหนัด
ด้วยโทสะของผู้ขัดเคือง
ด้วยโมหะของผู้หลงแล้ว
ด้วยมานะเป็นเครื่องผูกพัน
ด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้
ด้วยความฟุ้งซ่านที่ฟุ้งแล้ว
ด้วยความสงสัยที่ไม่แน่ใจ
ด้วยอนุสัยที่ถึงกำลังด้วยลาภ  ด้วยความเสื่อมลาภด้วยยศ ด้วยความเสื่อมยศ
ด้วยสรรเสริญ ด้วยนินทา  ด้วยสุข  ด้วยทุกข์
ด้วยชาติ ด้วยชรา ด้วยพยาธิ ด้วยมรณะ ด้วยโสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
ด้วยทุกข์คือความเกิดในนรก ด้วยทุกข์คือความเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ด้วยทุกข์คือความเกิดในวิสัยแห่งเปรต
ด้วยทุกข์คือความเกิดในมนุษย์ ด้วยทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล
ด้วยทุกข์มีความทั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์มีความตลอดจากครรภ์เป็นมูล
ด้วยทุกข์อันติดตามสัตว์ที่เกิดแล้ว ด้วยทุกข์อันเนื่องแห่งผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิดแล้ว
ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน
ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น
ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ทุกขเวทนา
ด้วยทุกข์อันเกิดแต่สังขาร
ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความแปรปรวน
ด้วยทุกข์เพราะโรคทางจักษุ โรคทางโสตะ โรคทางฆานะ โรคทางชิวหา โรคทางกาย
โรคทางศีรษะโรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไร้หวัด
โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด
โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ
โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด
โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ
โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง
ด้วยอาพาธมีดีเป็นสมุฏฐานอาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน
อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน
อาพาธเกิดขึ้นเพราะการบริหารไม่สม่ำเสมอ
อาพาธเกิดขึ้นแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่ผลกรรม
ด้วยความหนาว ด้วยความร้อน ด้วยความหิว ด้วยความกระหาย
ด้วยปวดอุจจาระ  ด้วยปวดปัสสาวะ
ด้วยความทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง  ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งมารดา ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งบิดา
ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งพี่ชายน้องชาย
ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งพี่สาวน้องสาว
ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งบุตร
ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งธิดา
ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งญาติ
ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์
ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค
ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล
ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมเห็น....ดิ้นรนอยู่ในโลก.__http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=18977

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตามความเป็นจริง

ภิกษุทั้งหลาย !
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง ;
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง รูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง ;
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง ;
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง ;
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง ;
บุคคล ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักษุ
ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในรูปทั้งหลาย
ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุวิญญาณ
ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุสัมผัส
ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในเวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม
www.HiDhamma.com

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สะสมทรัพย์7ประการ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
ทรัพย์คือ
ศรัทธา ๑
 ศีล ๑ 
หิริ ๑ 
โอตตัปปะ ๑ 
สุตะ ๑ 
จาคะ ๑ 
ปัญญา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ฯ
                          ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ
                          และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือ
                          ชายก็ตาม บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า
 เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของ
                          ผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ 
เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อ
                          ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า พึงประกอบศรัทธา ศีล
                          ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๕
             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๘๘ - ๙๘. หน้าที่ ๔ - ๕. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=88&Z=98&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=5              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_23

ผู้ติดตาม