วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปหาสนรก

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารเวฬุวันในเมืองราชคฤห์ มีหัวหน้าช่างฟ้อนชื่อ ตาลบุตรมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วถามปัญหาว่า " ครูอาจารย์ของนักฟ้อนสอนเอาไว้ว่านักฟ้อนคนใดสร้างความรื่นรมย์ให้กับชนทั้งหลายด้วยเรื่องจริงบ้างไม่จริงบ้าง(การแสดงละคร) เมื่อตายไปแล้วจะได้ไปเกิดเป็นสหายกับเทพเจ้าผู้รื่นเริงบนสวรรค์ เรื่องนี้เป็นจริงหรือไม่ " พระพุทธเจ้าตรัสเตือนว่าอย่าถามเรื่องนี้กับพระองค์เลย แต่นายตาลบุตรก็ไม่ยอมหยุดได้ถามปัญหานี้ถึงสามครั้ง เมื่อพระพุทธองค์เห็นว่าห้ามแล้วยังไม่หยุดจึงทรงตอบว่า " ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีราคะ ถูกล่ามด้วยโซ่แห่งราคะ เป็นผู้มีโทสะ ถูกล่ามด้วยโซ่แห่งโทสะ เป็นผู้มีโมหะ ถูกล่ามด้วยโมหะ อยู่ก่อนแล้ว นักฟ้อนยังพยายามเอาสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ เข้าไปยั่วยวนในท่ามกลางเวทีละครอีก ทำให้คนทั้งหลายยิ่งมัวเมาในราคะ โทสะ โมหะเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก ครั้นเมื่อตายไปแล้วก็จักไปเกิดใน ปหาสนรก ด้วยเพราะเขามีมิจฉาทิฏฐิหลงผิดดังที่ท่านกล่าวถามมานี้แล" 

เมื่อนายตาลบุตรทราบว่าจะต้องตกนรกก็ร้องไห้รำพันว่าถูกครูอาจารย์นักฟ้อนหลอกลวงจึงกลับใจ ขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะแล้วขอออกบวชหลังจากนั้นไม่นานก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ( สํ. สฬา. ๑๘/๓๗๗ ข้อ ๔๘๙ ) 

คำว่า " ปหาสนรก " นี้แปลว่า " นรกรื่นเริง " ตามคัมภีร์อรรถกถา สารัตถปกาสินี พระพุทธโฆษาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์นี้อธิบายว่า " ปหาสนรก เป็นส่วนหนึ่งที่มีอยู่ในอเวจีนรก เขาเหล่านี้จะแต่งตัวเหมือนกับนักฟ้อนนักแสดง และการตกนรกของเขาก็เป็นการแสดงการฟ้อน การขับร้องอยู่ในส่วนหนึ่งของอเวจีนรกนั่นเอง " 

ดังพระบาลีแสดงเอาไว้ว่า " ปหาโส นาม นิรโยติ วิสุง ปหานามโก นิรโย นาม นตฺถิ อวิจีสฺเสว ปน เอกสมิง โกฏฐาเเส นจฺจนฺตา วิย คายนฺตา วิย จ นฏเวสํ คเหตฺวาว ปจฺจนฺติ ตํ สนฺธาเยตํ วุตฺตํ " ( สา. ปกา. ๓/๑๖๕ ข้อ ๓๕๔ (มหาจุฬาฯ)






ขอบคุณ http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=buddha_story&topic=374

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เมื่อเธอไม่มี

พาหิยะ! เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น ได้ฟังเสียงแล้วสักว่าฟัง ได้กลิ่นแล้วสักว่าลิ้ม ได้สัมผัสทางผิวกายแล้ว สักว่าสัมผัส ได้รู้แจ้งธรรมมารมณ์ก็สักว่าได้รู้แจ้งแล้ว  เมื่อนั้น"เธอ" จักไม่มี เมื่อใดเธอไม่มี เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้ ไม่ปรากฏในโลกอื่น ไม่ปรากฏในโลกทั้งสอง นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์.






พุทธวัจน์






.

ท่อนไม้ที่ลอยออกไปได้ถึงทะเล

ภิกษุทั้งหลาย  ถ้าท่อนไม้นั้นจะไม่เข้าไปติดเสียที่ ฝั่งใน หรือฝั่งนอก ไม่จมในกลางน้ำ ไม่ขึ้นไปติดแห้ง
อยู่บนบก  ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้ ไม่ผุเสียเองภายในไซร้  ท่อนไม้เช่นกล่าวนี้ จักลอยไหลพุ่งไปสู่ทะเล เพราะเหตุว่า ลำแม่น้ำคงคาโน้มน้อม ลุ่มลาดเอียงเทไปสู่ทะเล.

ภิกษุทั้งหลาย! คำว่า"ฝั่งใน" เป็นชื่อของอายตนะภายใน๖
คำว่า"ฝั่งนอก" เป็นชื่อของอายตนะภายนอก๖
คำว่า"จมเสียในท่ามกลาง"เป็นชื่อของนันทิราคะ(ความกำหนัดเพลิดเพลิน)
คำว่า"ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก" เป็นชื่อของอัสมิมานะ(ความสำคัญว่าเป็นเรา)
คำว่า"ถูกมนุษย์จับไว้"ได้แก่ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้ระคนด้วยพวกคฤหัสถ์เพลิดเพลินด้วยกัน โศกเศร้าด้วยกัน มีสุขเมื่อคฤหัสเหล่านั้นมีสุข  มีทุกข์เมื่อคฤหัสเหล่านั้นเป็นทุกข์  ประกอบการงานในกิจการที่บังเกิดขึ้นแก่คฤหัสนั้นด้วยตนเองภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้ถูกมนุษย์จับไว้
 คำว่า"ถูกอมนุษย์จับไว้" ได้แก่ภิกษุบางรูปในกรณีย์ประพฤติพรหมจรรย์โดยตั่งความปรารถนาเทพนิกายชั้นใดชั้นหนึ่งว่าด้วศีลนี้หรือวัตรนี้หรือว่าด้วยตบะเราจักได้เป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่หรือเป็นเทวดาผู้มีศักดาน้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง เราเรียกว่าผู้ถูกอมนุษย์จับไว้
"คำว่าถูกเกลียวน้ำวนวนไว้" เป็นชื่อของกามคุณ๕
"เป็นผู้เน่าเสียเองภายใน"  คือภิกษุบางรูปในกรณีนี้เป็นคนทุศีล มีความอยู่ลามกไม่สะอาดมีความประพฤติที่ตนเองนึกแล้ว ก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าสมณะ
ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าและเปียกเเฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย ภิกษุเหล่านี้เราเรียกว่าเน่าเสียเองภายในแล.




พุทธวัจน์







.

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ตราบนั้นพวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่เธอยังหมั่นประชุมเนืองนิตย์ พร้อมเำพรียงกันประชุม เคารพในสิกขาบทบัญญัติยำเกรง ภิกษุผู้เป็นสังฆเถระ สังฆบิดร ไม่ยอมตนให้ตกอยู่ใต้อำนาจแห่งตัญหาำ  พอใจในการอยู่อาศัยเสนาสนะป่า  ปรารถนาให้เำพื่อนำพรหมจารีย์ มาสู่สำนักและอยู่เป็นสุขตราบนั้นพวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่เจริญแต่ส่วนเดียว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่ำพวกเธอไม่หมกมุ่นกับการงานมากเกินไป ไม่พอใจด้วยการพูดคุยฟุ้งซ้าน ไม่ชอบใจในการนอนมากเกินควร ไม่ยินดีในการคลุกคลีกด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นผู้ปรารถนาลามก ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาชั่ว  ไม่คบมิตรเลว  ไม่หยุดความเำพียร  พยายามเำพื่อบรรลุคุณธรรมขั่นสูงขึ้นไปแล้ว  ตราบนั้นพวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญแต่ส่วนเดียว





พุทธโอวาทก่อนปรินิำพพาน/อ.วศิน อินทสละ






.

ที่ภิกษุจะไม่ดูแลสตรีเพศเสียเลยนั้นเป็นการดี



ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า! ในพรหมจรรย์นี้มีสุภาพสตรีเป็นอันมากเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยฐานะต่างๆ เป็นมารดาบ้างเป็นพี่หญิงน้องหญิงบ้าง เป็นเครืองญาติบ้าง และเป็นผู้เลื่อมใสในพระรัตนะตรัยบ้าง ภิกษุจะปฏิบัติต่อสตรีอย่างไร ? 
    "อานนท์การที่ภิกษุจะไม่ดูแลสตรีเพศเสียเลยนั้นเป็นการดี" 
    " ถ้าจำเป็นต้องเห็นเล่าพระเจ้าข้า " พระอานนท์ทูลซัก
    "ถ้าจำเป็นต้องเห็นก็อย่าพูดด้วย อย่าสนทนาด้วยเป็นการดี" พระศาสดาตอบ
    "ถ้าจำเป็นต้องสนทนาด้วยเล่าพระพุทธเจ้าข้า จะปฏิบัติอย่างไร "
   "ถ้าจำเป็นต้องสนทนาด้วยก็จงมีสติไว้ ควบคุมสติให้ดี สำรวมอินทรีย์ วาจาให้เรียบร้อย อย่าให้กำหนัดยินดี
หรือความหลงไหลครอบงำจิตใจได้
อานนท์!เรากล่าวว่าสตรีที่บุรุษเอาใจเข้าไปเกี่ยวเกาะนั้น เป็นมลทินของพรหมจรรย์
"แล้วสตรีที่บุรุษมิได้เอาใจเข้าไปเกี่ยวเกาะเล่าพระพุทธเจ้าข้าจะเป็นมลทินของพรหมจรรย์หรือไม่? "

"ไม่เป็นซิอานนท์! เธอระลึกได้อยู่หรือ เราเคยพูดไว้ว่า อารมณ์อันวิจิต ความสวยงามในโลกนี้มิใช่กาม แต่ความกำหนัดที่เกิดขึ้นเพราะดำริต่างหากเล่าเป็นกามของคน เมื่อกระชากความพอใจออกเสียเเล้ว สิ่งวิจิตรสวยงามก็อยู่อย่างเก้อๆ ทำพิษอะไรไม่ได้อีกต่อไป"



วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเกิดแห่งวงศ์สากยะ

อัมพัฏฐะ! เรื่องดึกดำบรรพ์ พระเจ้าอุกกากราช ปรารถนา จะยกราชสมบัติ ประทานแก่โอรสที่โปรดปรานต้องพระทัย จึงได้ขับราชกุมาร ผู้มีพระชนแก่กว่า คือเจ้า อุกกากมุข  กรกัณฑุ  หัตถินีกะ สินีปุระ ออกจากราชอาณาจักรไปตั่งสำนักอยู่  ณ.ป่าสากใหญ่ ใกล้สระโบกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์ เธอเหล่านั้นกลัวชาติระคนกัน จึงสมสู่กับพี่น้องหญิงของเธอเอง ต่อมาพระเจ้าอุกกากราช ตรัสกับอำมาตย์ว่า บัดนี้กุมารเหล่านั้นอยู่ที่ไหน กราบทูลว่า กุมารเหล่านั้นเสด็จอยู่นะป่าสากใหญ่  ขณะนั้น พระเจ้าอุกกากราชทรงเปล่งวาจาว่า กุมารผู้อาจหาญหนอ กุมารผู้อาจหาญอย่างยิ่งหนอ    เพราะเหตุนั้นเป็นเดิม จึงเป็นพวกสากยะ  สืบมา



---พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ แปลโดยพุทธทาสภิกขุ---





ทรงพยายามในญาณทัศนะเป็นขั้นๆก่อนตรัสรู้

    ภิกษุทั้งหลาย! ครั้งก่อน แต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์  เราย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูปทั้งหลาย
   ภิกษุทั้งหลาย!  ความรู้ึสึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างได้ด้วย ข้อนั้นจักเป็นญาณ ทัศนะที่บริสุทธิยิ่งของเรา ภิกษุทั้งหลาย!  โดยสมัยอื่นอีกเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็จำแสงสว่างได้ด้วย เห็น รูปทั้งหลายได้ด้วย แต่ไม่ได้ตั่งใจอยู่ร่วม ไม่ได้เจรจาร่วม  ไม่ได้โต้ตอบร่วมกับเทวดาทั้งหลายเหล่านั้นๆ
   ภิกษุทั้งหลาย! ความรู้สึกนั้นได้เกิดขึ้นแก่เราว่าถ้าเราจะจำแสงสว่างนั้นเป็นต้น ก็ได้ด้วย ข้อนั้นจะเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิยิ่งของเรา ภิกษุทั้งหลาย !  โดยสมัยอื่นอีกเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร  มีตนส่งไปอยู่ ก็โต้ตอบกับเทวดาเหล่านั้นๆได้ด้วย แต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ มาจากเทพนิกายไหนๆ
   ภิกษุทั้งหลาย! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างได้เป็นต้น ก็ได้ด้วย ตลอดถึงการรู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกายนั้นๆด้วยแล้ว ข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิยิ่งของเรา ภิกษุทั้งหลายโดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็รู้ว่าเทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกายนั้นๆ แต่ไม่รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้ๆเคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นๆ ด้วยวิบากกรรมอย่างไหน
   ภิกษุทั้งหลาย!  ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้นก็ได้ด้วย ตลอดจนรู้ได้ด้วยว่า
เทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นได้ ด้ววิบากกรรมอย่างนี้ๆ แล้วข้อนั้น จักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นของเรา ภิกษุ ทั้งหลาย! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่แล้วแล อยู่ ก็รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นได้ด้วยวิบากของกรรมอย่างนี้ แต่ไม่รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้ๆ มีอาหารอย่างนี้ๆเป็นปกติเสวยสุขและทุกข์อย่างนี้อย่างๆ เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนเท่านี้ๆ ตั้งอยู่ได้นานเท่านี้ๆ เราเองเคยอยู่ร่วมกับเทวดา ทั้งหลายเหล่านี้ หรือไม่เคยอยู่ร่วมหนอ ภิกษุทั้งหลาย !  โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปแล้ว แล อยู่ ก็รู้ได้ตลอดถึงข้อว่า  เราเคยอยู่ร่วมกับเทวดา ทั้งหลายเหล่านี้ ๆหรือไม่แล้ว


------พุทธประวัติจากพระโอษฐ์แปลโดยพุทธทาสภิกขุ---------




ผู้ติดตาม