วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน?

ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมี
อารมณ์.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=6742&Z=6822

ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อ
ว่า ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง.
             ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง เป็นไฉน?
             กุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรม
วิบาก, รูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น, มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง.


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=6742&Z=6822
มหันตรทุกะ

สภาพแห่งทุกข์เเท้

สภาพที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ๑
สภาพแห่งทุกข์ อันปัจจัยปรุงแต่ง ๑
สภาพที่ให้เดือดร้อน ๑
สภาพที่แปรไป ๑

สภาพแห่งทุกข์เป็นทุกข์๔ ประการนี้ เป็นของแท้

คุณศัพท์
grievous
สาหัส, ทุกข์, ร้ายแรง, มหันต์, หนัก, รุนแรง
joyless
ไม่ยินดี, ทุกข์, เศร้าโศก, ไม่ร่าเริง, ไม่สนุกสนาน, ไม่รื่นเริง

วิปลาส ๔

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔ ประการ
นี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญผิด (แปรปรวน) ความคิด
ผิด ความเห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ใน
สภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ในสภาพที่ไม่งามว่างาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา-
*วิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=7274&Z=7310

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิธีกำจัดอหังการ มมังการ

“.....ดูก่อนราธะ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ใกล้หรือไกล อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็น รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามคามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อน ราธะ บุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก...”

ราธสูตร ขันธ. สํ. (๑๔๗)
ตบ. ๑๗ : ๙๘ ตท. ๑๗ : ๘๗-๘๘
ตอ. K.S. ๓ : ๑๗ : (๙) ๖๖-๖๗


รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ด้วยเหตุเท่าไร ฯ
ดูกรอานนท์ ธาตุนี้มี ๑๘ อย่างแล ได้แก่ ธาตุคือจักษุ ธาตุคือรูป
ธาตุคือจักษุวิญญาณ ธาตุคือโสต ธาตุคือเสียง ธาตุคือโสตวิญญาณ ธาตุคือฆานะ
ธาตุคือกลิ่น ธาตุคือฆานวิญญาณ ธาตุคือชิวหา ธาตุคือรส ธาตุคือชิวหาวิญญาณ
ธาตุคือกาย ธาตุคือโผฏฐัพพะ ธาตุคือกายวิญญาณ ธาตุคือมโน ธาตุคือธรรมารมณ์
ธาตุคือมโนวิญญาณ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๑๘ อย่าง ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้
อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3432&Z=3646

ภิกษุเป็นบัณฑิต

จะควรเรียกว่าภิกษุเป็นบัณฑิต มี
ปัญญาพิจารณา ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุเป็น
ผู้ฉลาดใน*ธาตุ
ฉลาดใน*อายตนะ
ฉลาดใน*ปฏิจจสมุปบาท
และฉลาดใน*ฐานะและอฐานะ
ดูกร อานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า
 ภิกษุเป็นบัณฑิต มีปัญญาพิจารณา ฯ




        *Element ธาตุ

 
*sense
ความรู้สึก, ความหมาย, สัมผัส, สติ, ประสาท, อายตนะ

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ยศเจริญแก่คนเช่นไร

ยศเจริญแก่คนเช่นไร
              "ยศย่อมเจริญแก่คนที่มีความหมั่น.
มีสติ, มีการงานสะอาด, ใคร่ครวญแล้วจึงทำ
, สำรวมระวังครองชีวิตอยู่โดยธรรม และเป็นผู้ไม่ประมาท."
ธรรมบท ๒๕/๑๘

มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ

อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี
ใครก็ตาม
จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเป็นอยู่
อานนท์ ! ภิกษุพวกใดเป็นผู้ใคร่ในสิกขา
ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด แล.

( บาลี มหาวาร. ส°. ๑๙/๒๐๕/๗๑-๓, พุทธวัจน์
ตรัสแก่พระอานนท์ ที่เวฬุวคาม เมืองเวสาลี

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผู้ที่จะยืนยันว่าไม่มีโรคทางใจแม้เพียงเวลาครู่เดียวนั้นหาได้ยากใน โลก

ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย โรค ๒ อย่างนี้ โรค ๒ อย่างเป็นไฉนคือ โรคกาย ๑ โรคใจ ๑ ปรากฏอยู่ว่าสัตว์ทั้งหลายผู้ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๑ ปีก็มี ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๒ ปีก็มี ๓ ปีก็มี ๔ ปีก็มี ๕ ปีก็มี ๑๐ ปีก็มี ๒๐ ปีก็มี ๓๐ ปีก็มี ๔๐ ปีก็มี ๕๐ ปีก็มี ๑๐๐ ปีก็มี ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีก็มี แต่ว่าผู้ที่จะยืนยันว่าไม่มีโรคทางใจแม้เพียงเวลาครู่เดียวนั้นหาได้ยากใน โลก เว้นแต่พระขีณาสพ…
( อัง.จตุกก. 35/157/373 )


http://www.watprasaat.com/UserFiles/File/jitbumbud/index.html
ขีณาสพ หรือ กษีณาศรพ /กะสีนาสบ/ แปลว่า ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว, ผู้สิ้นอาสวะแล้ว

ว่าด้วยความไม่เที่ยงแท้แน่นอนแห่งขันธ์ ๕

ดูก่อนภิกษุ ไม่มีเลย รูปบางอย่าง ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงที่อยู่อย่างนั้นเอง เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีเวทนาอะไรบางอย่าง... สัญญาบางอย่าง... สังขารบางอย่าง... วิญญาณบางอย่าง ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงที่อยู่อย่างนั้นเอง เสมอด้วยสิ่งที่ ยั่งยืนทั้งหลาย.

โคมยปิณฑสูตร
http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=2700284

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก


คำว่า เมื่อสิ่งที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก
ความว่า ไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวนไปแล้ว หรือเมื่อวัตถุแปรปรวน
ไปแล้วไม่เศร้าโศกถึง คือไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ
ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย
ใจของเรา แปรปรวนไปแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของเรา
แปรปรวนไปแล้ว สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเรา แปรปรวนไปแล้ว
มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง บุตร ธิดา มิตร
พวกพ้อง ญาติสาโลหิตของเรา แปรปรวนไปแล้ว แม้เพราะเหตุอย่างนี้
ดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มี.

อ่านเพิ่มเติมได้ที่http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=22046

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสนเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความ
กระเสือกกระสนเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรม
เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรม
อันใดไว้ เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น




http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=4055

กระเสือกกระสน

V. strive
    def:[ดิ้นรนเพื่อให้พ้นความทุกข์ยาก]
    syn:{เสือกสน}{ดิ้นรน}

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เบ็ดและเหยื่อเป็นชื่อของลาภสักการะ

ภิกษุทั้งหลาย! พรานเบ็ดเป็นชื่อของมารใจบาป เบ็ดและเหยื่อเป็นชื่อของลาภสักการะ และ ชื่อเสียง ภิกษุบางรูปยินดีพอใจในลาภสักการะ และ ชื่อเสียง ที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า กลืนเบ็ดของมาร ได้รับทุกข์ถึงความพินาศ

พระสัทธรรมขจัดมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด ) ให้อันตรธานหายไปจนหมดสิ้น



ดูกร.....สัจจกนิครนถ์ บุญกุศลที่ท่านได้บำเพ็ญใน

ภพนี้ จักไม่สูญหายไปพร้อมกับ การดับของจิต เพราะจิต

ดวงใหม่มีเหตุมีปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม
เพื่อสืบต่อบุญที่

ท่านสั่งสมไว้ ไปจนกว่าจะนิพพาน

http://www.oknation.net/blog/NVC/2011/01/20/entry-1

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีสร้างอิทธิฤทธิ์

“.....ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝ่ากำแพง ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์...ก็ได้”
“ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่าเราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์... ถ้าภิกษุจะถึงหวังว่าเราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่าเราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือพึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง.... พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง .... ว่าในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้.....
“ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม... ด้วยประการฉะนี้เถิด ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารฯ”อากังเขยยสูตร มู. ม. (๘๕-๘๙)
ตบ. ๑๒ : ๖๐-๖๓ ตท.๑๒ : ๕๑-๕๓
ตอ. MLS. I : ๔๓-๔๔

*อิทธิฤทธิ์
ความหมาย

น. อํานาจศักดิ์สิทธิ์; (ปาก) อำนาจ.

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แสดงอริยธรรมและอนริยธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอริยธรรมและอนริยธรรม
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
อนริยธรรมเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าอนริยธรรม ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยธรรมเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่า
อริยธรรม ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=5671&Z=5678


civilization
 
 
barbarism
อารยธรรม, ความเจริญ, ศิวิไลซ์
 
ความป่าเถื่อน, อนารยธรรม
savagery
ความดุร้าย, ความป่าเถื่อน, ความโหดเหี้ยม, ความอำมหิต, ความทารุณ, อนารยธรรม
baseness
ความเลว, ความเลวทราม, ความต่ำช้า, อนารยธรรม, สิ่งโสโครก

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พระปัจเจกพุทธเจ้า

พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ในคัมภีร์ปัจเจกพุทธาปธานว่า "ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย"
พระปัจเจกพุทธเจ้า (บาลี: ปจฺเจกพุทฺธ, สันสกฤต: ปฺรตฺเยกพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยกำไรแสนกัป และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นพระพุทธศาสนา และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้) ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานให้ท่าน จะอุบัติขึ้นในช่วงพุทธันดร กล่าวคือ เป็นช่วงเวลาที่โลกว่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ จึงไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละองค์มีประวัติคล้ายกัน คือ เป็นมาจากกษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดี ในสมัยโบราณที่เบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติ ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่เขาคันธมาทน์กูฏ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งของเทือกเขาหิมพานต์หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ
คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี ๒ นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อหังการ มมังการ และมานานุสัย

“.....ดูก่อนราธะ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ใกล้หรือไกล อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็น รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามคามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อน ราธะ บุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก...”
ราธสูตร ขันธ. สํ. (๑๔๗)
ตบ. ๑๗ : ๙๘ ตท. ๑๗ : ๘๗-๘๘
ตอ. K.S. ๓ : ๑๗ : (๙) ๖๖-๖๗

http://www.84000.org/true/306.html

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการคือ

 “ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการคือ
๑. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมาดังนี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๑ นี้
๒. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๒ นี้
๓. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๓ นี้
๔. สัตว์นั้นเมื่อเขากำลังฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๔ นี้
๕. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๕ นี้



*วัตถุเป็นกัปปิยะ และอกัปปิยะ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสประทาน
สำหรับอ้าง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้:-
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่
ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร
ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่
ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่ง
ที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
ขอบเขตของพุทธอาณานี้ จะกว้างขวาง ครบคลุมสังวรศีล 227 ข้อ

*โทมนัส
[โทม-มะ-นัด] (มค. โทมนสฺส) น. ความเศร้าใจ, ความเสียใจ, ความเป็นทุกข์ใจ.

เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้

ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการคือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น ๑ เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน ๑ เนื้อที่ตนไม่รังเกียจ ๑
ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้”

รูปใดฉันเนื้อที่ไม่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ เป็นอาบัติทุกกฎ รูปใดฉันเนื้อมนุษย์เป็นอาบัติถุลลัจจัย รูปใดฉันเนื้อต้องห้าม ๙ อย่างที่เหลือ เป็นอาบัติทุกกฎ

http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=30

*เนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ คือโดยไม่เห็น ๑ โดยไม่ได้ยิน ๑ และโดยไม่สงสัย ๑
อาบัติ แปลว่า การต้อง, การล่วงละเมิด หมายถึงโทษที่เกิดจาการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ ใช้เรียกความผิดทางวินัยของพระภิกษุว่า ต้องอาบัติ

อาบัติ มี 7 อย่าง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. ครุกาบัติ หมายถึงอาบัติหนัก อาบัติที่มีโทษร้ายแรง มี 2 อย่างคือ อาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส
2. ลหุกาบัติ หมายถึงอาบัติเบา อาบัติที่ไม่มีโทษร้ายแรงเท่าครุกาบัติ มี 5 อย่าง คือ อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฎ อาบัติทุพภาสิต

การปฏิบัติตนเพื่อแก้อาบัตินั้นมีต่างๆ กันไป สุดแท้แต่ความหนักเบาของศีลที่อาบัติ มีตั้งแต่การประกาศความผิดของตนต่อภิกษุอื่น การอยู่ในบริเวณจำกัดเฉพาะเพื่อสำนึกผิด จนถึงการขาดจากความเป็นภิกษุ เช่น ภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกจะต้องสึกออกไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ไม่สามารถดำรงเพศเป็นภิกษุต่อไปอีกได้

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ธรรมเจดีย์

ธรรมเจดีย์ คือ พระวาจาเคารพธรรม เธอทั้งหลายจงเรียนธรรมเจดีย์นี้ไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเจดีย์นี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์”

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นก็จริง



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนา แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร จะพึงกล่าวได้ว่าเพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร เพราะไม่ได้เจริญ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘

สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม


http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/011061.htm

นิมิตปรากฏ ฉันใด พรหมจักปรากฏ

นิมิตปรากฏ ฉันใด พรหมจักปรากฏ ฉันนั้นการที่
โอภาสอันไพบูลย์มากปรากฏนี้ เป็นบุพพนิมิตที่พรหมจะ
ปรากฏ ฯ
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงข้ามความสงสัยได้แล้วปราศจาก
ความคลางแคลง มีความดำริถึงที่สุด ด้วยพระอัธยาศัยเป็นเบื้องต้นแห่งพรหม-
*จรรย์

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ

ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ มีจิตอันความโลภ กลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่ง ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้





เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร)
ว่าด้วย ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง
พระไตรปีฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๒๕
เล่ม ๒๐ ข้อ ๕๐๕ หน้า ๑๗๙ - ๑๘๔
ดูพระสูตรความย่อตอนเดียวกัน โดยคลิกที่   

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ธรรมะที่พระองค์นำมากล่าวสอน



สิ่งที่ตรัสรู้แต่ไม่ทรงนำมาสอน มีมากกว่าที่ทรงนำมาสอนมากนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำใบไม้สีสปา ที่ร่วงอยู่ตามพื้นดินขึ้นมาหน่อยหนึ่ง แล้วตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า.

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายเข้าใจว่าอย่างไร: ใบไม้สีสปาที่เรากำขึ้นหน่อยหนึ่งนี้มาก หรือว่าใบไม้สีสปาที่ยังอยู่บนต้นเหล่านั้นมาก ?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ใบไม้ที่ผูมีพระภาคทรงกำขึ้นหน่อยหนึ่งนั้นเป็นของน้อย ส่วนใบไม้ที่ยังอยู่บนต้นสีสปาเหล่านั้นย่อมมีมาก"

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ธรรมมะส่วนที่เรารู้ยิ่งด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วไม่กล่าวสอนนั้น มีมากกว่าส่วนที่นำมาสอน. ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุไรเล่า เราจึงไม่กล่าวสอนธรรมมะส่วนนั้นๆ ? ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุว่า ธรรมมะส่วนนั้นๆ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ที่เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์,ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นเพื่อความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน, ฉะนั้นเราจึงไม่กล่าวสอน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมมะอะไรเล่าเป็นธรรมมะที่เรากล่าวสอน  ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมมะที่เรากล่าวสอน คือข้อที่ว่าความทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุเป็นที่เกิดของความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ, ความดับสนิทของความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ, ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับสนิทของความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุไรเล่า ธรรมมะส่วนนี้เราจึงนำมากล่าวสอน ? ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะว่าธรรมมะส่วนนี้ ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความดับ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน, เพราะเหตุนั้นแล เราจึงนำมากล่าวสอน.

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อินทรียปโรปริยัตตญาณ


อินทรียปโรปริยัตตญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ
มีอินทรีย์แก่กล้า
มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการชั่ว
พึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย พึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก
บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
บางพวกมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ฯ


 

อินทริยปโรปริยัตตญาณ

ปรีชาหยั่งรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือรู้ว่า สัตว์พวกไหนมีอินทรีย์ คือสัทธาเป็นต้นอ่อน พวกไหนมีอินทรีย์แก่กล้า พวกไหนมีจริตมีอัธยาศัย เป็นต้น อย่างไรๆ พวกไหนสอนยาก พวก ไหนสอนง่าย ดังนี้เป็นต้น (ข้อ ๖ ในทศพลญาณ)
http://palungjit.com/dict/406433-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความรู้มีมากมาย แต่ที่ให้พ้นทุกข์ คือสิ่งที่นำมาสอนพวกเธอเท่านั้น




















พระพุทธองค์ทรงหยิบใบไม้ขึ้
นมาหนึ่งกำมือแล้วตรัสถามพร
ะภิกษุว่า

พระพุทธองค์ "ปริมาณของใบไม้ในมือกับในป
่า อันไหนมากกว่ากัน"
พระภิกษุ "ในป่ามีมากกว่ากันจนประมาณ
ไม่ได้"
พระพุทธองค์ "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ที่ตถาคตนำมาสอนพวกเ
ธอก็เช่นเดียวกัน เพราะความรู้มีมากมาย แต่ที่ให้พ้นทุกข์ คือสิ่งที่นำมาสอนพวกเธอเท่านั้น"


ที่มา : หนังสือกายสิทธิ์

อสูร พักตร์
http://www.facebook.com/#!/photo.php?fbid=344208275664552&set=a.117458295006219.29726.100002261469079&type=1&theater

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความหวังและไม่หวัง

“.....ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการน้ำมัน.... เกลี่ยทรายลงในรางแล้วคั้นไป เอาน้ำพรมไป ๆ ถ้าแม้ทำความหวัง...... เขาก็ไม่สามารถจะได้น้ำมัน ถ้าแม้ไม่ทำความหวัง..... เขาก็ไม่สามารถจะได้น้ำมัน
“.....ดูก่อนภูมิชะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่มีทิฐิชอบมีสังกัปปะชอบ มีวาจาชอบ มีกัมมันตะชอบ มีอาชีวะชอบ มีวายามะชอบมิสติชอบ มีสมาธิชอบ ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ไม่ทำความหวังประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล
“.....ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการน้ำมัน..... เกลี่ยงาป่นลงในรางแล้วคั้นไป......
 ถ้าแม้ทำความหวัง...... เขาก็สามารถได้น้ำมัน 
 ถ้าแม้ไม่ทำความหวัง..... เขาก็สามารถได้น้ำมัน.....”

ภูมิชสูตร อุ. ม. (๔๐๙-๔๑๕)
ตบ. ๑๔ : ๒๗๖-๒๘๐ ตท. ๑๔ : ๒๔๑-๒๔๔
ตอ. MLS. III : ๑๘๕-๑๘๗

http://www.84000.org/true/070.html

พระอริยะกับคนธรรมดา


ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ข้อที่ความข้อนั้นเขา (สมณะ) รู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วย เนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรง หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้ง ความข้อนั้นได้ นั้นไม่ใช้ฐานะที่จะมีได้
“.....ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนภูเขาใหญ่ไม่ห่างไกลบ้านหรือนิคมสหายสองคนออกจากบ้านหรือนิคมนั้น ไปยังภูเขาลูกนั้นแล้ว..... สหายคนหนึ่งยืนที่เชิงภูเขาเบื้องล่าง อีกคนหนึ่งขึ้นไปข้างบนภูเขา สหายที่ยืนตรงเชิงภูเขาข้างล่าง เอ่ยถามสหายผู้ยืนบนภูเขานั้นอย่างนี้ว่า แนะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขานั้น เพื่อนเห็นอะไร สหายคนนั้นตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย เรายืนบนภูเขาแล้ว เห็นสวนป่าไม้ภูมิภาคและสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์
“สหายข้างล่างกล่าวอย่างนี้ว่า แนะเพื่อน ข้อที่เพื่อยืนบนภูเขาแล้ว เห็น สวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลย
“สหายที่ยืนบนภูเขาจึงลงมายังเชิงเขาข้างล่าง แล้วจูงแขนสหายคนนั้นให้ขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น ให้สบายใจครู่หนึ่งแล้ว เอ่ยถามสหายนั้นว่า แนะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขาแล้ว เพื่อนเห็นอะไร ?
“สหายคนนั้นตอบอย่างนี้ว่า แนะเพื่อ เรายืนบนภูเขาแล้ว แลเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์.....”
ทันตภูมิสูตร อุ. ม. (๓๙๒-๓๙๔)
ตบ. ๑๔ : ๒๖๒-๒๖๔ ตท. ๑๔ : ๒๒๙-๒๓๑
ตอ. MLS. III : ๑๗๖-๑๗๗


http://www.84000.org/true/069.html

เนกขัมมะ แปลว่า การออก, การออกบวช, ความไม่มีกามกิเลส ใช้คำว่า เนกขัม ก็มี
เนกขัมมะ หมายถึงการละเหย้าเรือนออกไปบวชเป็นพระเป็นนักบวช, การละชีวิตทางโลกไปสู่ชีวิตอันบริสุทธิ์ เป็นการปลดเปลื้องตนจากโลกียวิสัยไปบำเพ็ญเพียรเพื่อความปลอดจากราคะและตัณหา ปกติใช้เรียกการออกบวชของนักบวชทุกประเภทและใช้ได้ทั้งชายและหญิง
เนกขัมมะ ในพระพุทธศาสนาจัดเป็นบารมีอย่างหนึ่งเรียกว่า เนกขัมมบารมี คือบารมีที่เกิดจากการออกบวช
กิเลส 3























http://dhammanatural.blogspot.com/search?updated-max=2011-10-31T00:06:00-07:00&max-results=7&start=42&by-date=false

บันไดสู่อรหัตตผล

“.....ท่านจงเป็นผู้มีศีล ระวังในปาฏิโมกข์อยู่ เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยมารยาทและธรรมเป็นโคจร จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย

“..... ท่านจงเป็นผู้มีทวารอันระวังแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย (สำรวมอินทรีย์ อย่าถือนิมิต (ของรูปนั้น) ไว้ อย่าถือโดยอนุพยัญชนะ ซึ่งเป็นเหตุให้เหล่าอกุศลธรรมอันลามกมีอภิชฌาและโทมนัส เป็นต้น ไหลตามบุคคลผู้ไม่ระวังอินทรีย์คือตา...... จงปฏิบัติเพื่อระวังอินทรีย์ถือนัยน์ตานั้น...... ได้ยินเสียงด้วยหู แล้วดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ต้องโผฏฐัพพะ (สัมผัส) ด้วยกายแล้ว รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าถือนิมิต (ของอารมณ์นั้น ๆ ) ไว้อย่างถือโดยอนุพยัญชนะ
“...... ท่านจงเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ พิจารณาโดยอุบายอันชอบแล้ว เสพโภชนาหาร (พิจารณาว่า) เราเสพโภชนะนี้ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อให้ร่างกายสดใส ไม่ใช่เพื่อให้ร่างกายผุดผ่อง เพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อปราศจากความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยการเสพโภชนะนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
“...... ท่านจงประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่ ท่านจงชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดิน ด้วยการนั่งสิ้นวันยังค่ำ จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดิน ด้วยการนั่งตลอดยามต้นแห่งราตรีถึงยามกลางแห่งราตรี พึงสำเร็จการนอนอย่างราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา วางเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ผูกใจหมายจะลุกขึ้น ถึงยามสุดแห่งราตรี จงกลับลุกขึ้น ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง
“...... ท่านจงมาตามพร้อมด้วยสติและสัปชัญญะในอันก้าว ในอันถอย ในอันแล ในอันเหลียว ในอันคู้ ในอันเหยียด ในอันทรงสังฆาฏิบาตรจีวร ในอันกิน ดื่มเคี้ยวแลจิบ ในอันถ่ายอุจาระแลปัสสาวะ ในอันเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด แลนิ่ง ท่านจงเป็นคนรูตัวกระ (ทุก ๆ อย่าง)
“...... ท่านจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า ดง โคน ต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำในเขา ป่าช้า ป่าเปลี่ยว ที่แจ้ง ลอมฟาง ในปัจฉาภัตต์ (นอกเพล) เธอกลับมาจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงตั้งสติไว้เฉพาะหน้า... ย่อมทำจิตใจให้บริสุทธิ์ จากอภิชฌา ย่อมทำจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายเพราพยาบาท....... มีจิตปราศจากถีนมิทธะแล้ว มีสติสัมปชัญญะ มีสำคัญในอาโลกกสิณอยู่ ทำจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ ) ทำจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา (ความสงสัยลังเล) ละนิวรณ์ทั้ง ๕ อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิต เป็นเครื่องทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้แล้ว สงัดจากกามารมณ์ สงัดจากอกุศลธรรมนั่นเทียว.....บรรลุปฐมฌาน..... บรรลุทุติยฌาน..... บรรลุตติยฌาน...... บรรลุจตุตถฌาน
“ภิกษุเหล่าใดแล ยังเป็นเสขบุคคล ยังไม่ได้ถึงอรหัตตมรรคแล้ว ปรารถนาพระนิพพานเป็นที่สิ้นโยคะ ไม่มีธรรมอื่นจะยิ่งกว่า วาจาพร่ำสอนเช่นนี้ ของเรา มีอยู่ในภิกษุเหล่านั้น
“ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว เป็นผู้อยู่จบแล้ว มีกิจควรทำให้ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว ธรรมทั้งหลายเหท่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในอัตตภาพนี้ ทั้งสติแลสัมปชัญญะ แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น”
คณกโมคคัลลาน ปญ
สูตร อุ. ม. (๙๔-๑๐๐)
ตบ. ๑๔ : ๘๒-๘๕ ตท. ๑๔ : ๖๗-๗๐
ตอ. MLS. III : ๕๒-๕๕

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บุคคลผู้ไม่ประประทุษร้ายมิตรย่อมมีอานิสงค์ ๑๐ ประการคือ

สาเหตุของการลอบทำร้าย อาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง หรือหลาย ๆ สาเหตุดังต่อไปนี้
๑. ความขัดแย้งทางการเมือง
๒. ความขัดแย้งกันเป็นการส่วนตัว
๓. ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
๔. การกระทำของกลุ่มมือบอน หรือพวกจิตผิดปกติ หรือโรคจิต
๕. การข่มขวัญคู่แข่ง หรือศัตรู
ความคิดที่ว่า สาเหตุจากการที่โรงเรียนถูกเผากว่า ๓๐ แห่ง จะมีผลกระทบต่อองค์ประกอบพื้นฐาน ในการพัฒนาประเทศ และความไม่มั่นคงของสังคม ได้แก่
๑. เมื่อคนในชาติเผาโรงเรียนได้ ย่อมเผาชาติได้
๒. เมื่อโรงเรียนถูกเผา แล้วจะเอาอะไรไปพัฒนาศักยภาพของพลเมืองและประเทศชาติจะเจริญได้อย่างไร
๓. เมื่อคนไม่ต้องการพัฒนาคน ไม่ต้องการพัฒนาญาติพี่น้องแล้ว ต่อไปคนในชาติก็ไร้คุณภาพ มนุษย์ก็จะกลายเป็นอมนุษย์ไป
๔. เมื่อคนในชาติไม่สามารถป้องกันแก้ไขปัญหานี้ได้ ก็คงไม่พ้นความสิ้นชาติหรือเสียบางส่วนของชาติไป

ผลของปัญหา
เมื่อพิจารณาคลุมถึงการใช้อำนาจพลการ ในรูปแบบต่าง ๆ พอจะกล่าวได้ว่า ย่อมก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ดังนี้
๑. ผลเสียทางสังคม
๒. ในด้านเศรษฐกิจ
๓. ทางด้านการเมือง
การป้องกันแก้ไข
การที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจพลการนั้น มีหลายวิธีที่อาจช่วยได้เป็นต้นว่า
๑. การอบรมปลูกฝังประชาชนในชาติให้มีจริยธรรมอันดีงาม มีศีลธรรมประจำใจ
๒. ควรสร้างค่านิยมหรือพฤติกรรมหลักให้ยึดถือ
๓. การขจัดตัวกลางที่จะเสริมให้เกิดการใช้ความรุนแรง
๔. การปรับปรุงโครงสร้างของสังคม ปรับปรุงสถาบันสังคมทั้งหลายให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างดีที่สุด
๕. โดยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

ปัญหาลอบทำร้าย
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนบุคคลผู้ไม่ประประทุษร้ายมิตรย่อมมีอานิสงค์ ๑๐ ประการคือ : -
๑. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , ออกจากเรือนของตนไปในที่ไหน ๆ ย่อมมีอาหารมากมาย คนเป็นอันมากย่อมอาศัยผู้ไม่ประทุษร้ายมิตรเป็นอยู่
๒. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , ไปในชนบท นิคม หรือราชธานี ย่อมได้รับการต้อนรับทุกแห่ง
๓. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , โจรก็ไม่ข่มเหง พระราชาก็ไม่ดูหมิ่น ย่อมข้ามพ้นศัตรูได้
๔. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , ไม่เคยโกรธเคืองใครไปในที่ใดย่อมได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ทั้งในหมู่ญาติและมิตร
๕. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , สักการะคนอื่นแล้ว ย่อมได้รับสักการะตอบ เคารพคนอื่นแล้ว ย่อมได้ความเคารพตอบ และได้รับการสรรเสริญเกียรติคุณ
๖. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , บูชาผู้อื่นย่อมได้รับการบูชาตอบ ไหว้ผู้อื่นย่อมได้รับการไหว้ตอบ ย่อมถึงซึ่งอิศริยยศเกียรติคุณ
๗. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , ย่อมรุ่งโรจน์เหมือนไฟ ย่อมไพโรจน์เหมือนเทวดาและมีสิริในทุกสถาน
๘. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , โภคทรัพย์ย่อมเกิดมากมาย พืชพันธ์ธัญญาหาร ย่อมงอกงาม ย่อมได้รับผลผลิตที่หว่านลงไปในนานั้น
๙. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , แม้พลาดตกจากภูเขาหรือพลาดตกลงมาจากต้นไม้ย่อมได้ที่พึ่ง คือไม่เป็นอันตรายแต่ประการใด
๑๐. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , ศัตรูทั้งหลายย่อมไม่ข่มขี่เบียดเบียนบีฑาเหมือนต้นไทรใหญ่

ขอบคุณข้อมูลจาก


มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ ถนนพระสุเมรุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 0-2282-8303, 0-2281-6427 โทรสาร 0-2281-0294






ข้อมูลเพิ่ม>>>>>> http://www.dhamma.mbu.ac.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=42&Itemid=57

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ก็เป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้น เหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจนั้น เป็นเรื่องทรมานยิ่งและเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพราก ก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคน จะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ไม่วันใด ก็วันหนึ่ง”
http://www.wuttanan.com/few/?p=65

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อามิสทาน ธรรมทาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรม
ทาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือ การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่าย
ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรม
เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ การอนุเคราะห์ด้วย
อามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์
๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=6453&Z=6470

อุปมากถาปัญหา

อุปมากถาปัญหา
โฆรสวรรคที่ ๑
อุปมาองค์ ๑ แห่งลา
" ข้าแต่พระนาคเสน ที่ว่าควรถือองค์ ๑ แห่งลานั้น องค์หนึ่งแห่งลานั้นได้แก่อะไร ? "
" ขอถวาบพระพร ธรรมดาว่า ลา นั้น ไม่เลือกที่นอน นอนบนกองหยากเยื่อก็มี ที่ทาง ๔ แพร่งก็มี ๓ แพร่งก็มี ที่ประตูบ้านก็มี ที่กองแกลบก็มีฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่เลือกที่นอนฉันนั้น ปูแผ่นหนังลงไป ในที่ปูด้วยหญ้าหรือใบไม้ หรือเตียงไม้ หรือแผ่นดินแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วก็นอนฉันนั้น ข้อนี้สมกับที่มีพระพุทธดำรัสไว้ว่า
" ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ ทำกายเหมือนท่อนไม้ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร "
ส่วน พระสารีบุตรเถระ ได้กล่าวไว้ว่า
" การนั่งคู้บัลลังก์ คือนั่งขัดสมาธิก็พออยู่สบาย สำหรับภิกษุผู้มุ่งต่อพระนิพพาน "
ดังนี้ขอถวายพระพร"
อุปมาองค์ ๕ แห่งไก่
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งไก่นั้นได้แก่อะไร? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดา ไก่ ย่อมอยู่ในที่สงัดแต่ในเวลายังวันฉันใด พระโยคาวจรก็กวาดลานพระเจดีย์ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ อาบน้ำชำระกาย ไหว้พระเจดีย์แต่ในเวลายังวัน แล้วไปหาอยู่ในที่สงัดแต่ในเวลายังวันฉันนั้น อันนี้เป็นองค์แรกแห่งไก่
ธรรมดาไก่ย่อมตื่นแต่เช้าฉันใด พระโยคาวจรก็ตื่นแต่เช้าฉันนั้น แล้วลงไปปัดกวาดลานพระเจดีย์ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ชำระร่างกายดีแล้ว ก็กราบไหว้พระเจดีย์แล้ว จึงเข้าไปสู่ที่สงัดอีก อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งไก่
ธรรมดาไก่ย่อมคุ้ยเขี่ยพื้นดินหากินอาหารฉันใด พระโยคาวจรก็พิจารณาแล้วจึงฉันอาหารไม่ฉันเพื่อให้เกิดความคะนอง ความมัวเมาความสวยงามแห่งร่างกาย ฉันเพียงให้กายนี้อยู่ได้ เพื่อจะได้ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไปและเพื่อบรรเทาเวทนาเก่า กำจัดเวทนาใหม่เท่านั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งไก่
ข้อนี้สมกับสมเด็จพระจอมไตรตรัสไว้ว่า
" บุคคลกินเนื้อแห่งบุตรในทางกันดารได้ด้วยความลำบากใจ กินพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันใด หรือบุคคลเติมน้ำมันหยอดเพลาพอให้รถแล่นไปได้ฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันอาหารพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันนั้น "
ธรรมดาไก่ถึงมีตา ก็เหมือนตาบอดในเวลากลางคืนฉันใด พระโยคาวจรถึงตาไม่บอดก็ควรเป็นเหมือนตาบอดฉันนั้น ทั้งในเวลาอยู่ในป่าหรือเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน พระโยคาวจรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูหนวก คนใบ้ ต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันน่ายินดี อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งไก่
ข้อนี้สมกับถ้อยคำของ พระมหากัจจายนเถระ กล่าวไว้ว่า
" พระโยคาวจรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูนวก คนใบ้ คนไม่มีกำลัง เมื่อเกิดเรื่องขึ้น ควรนอนเหมือนคนตาย" ดังนี้
ธรรมดาไก่ถึงถูกไล่ตีด้วยก้อนดิน ไม้ค้อนหรือถูกตีด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ตาม ก็ไม่ทิ้งที่อยู่ของตนฉันใด พระโยคาวจรถึงจะทำจีวรกรรมคือการทำจีวร หรือนวกรรม คือการก่อสร้าง การเรียน การถาม ก็ไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการคือตั้งใจไว้ด้วยอุบายอันชอบฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๕ แห่งไก่
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
" อะไรเป็นโคจรของภิกษุ เป็นวิสัยบิดาของตน อันนี้คือสติปัฏฐาน ๔ " ดังนี้ ถึง พระสารีบุตรเถระ ก็ได้กล่าวไว้ว่า
" ไก่ย่อมไม่ทิ้งเล้าไก่ของตน ย่อมรู้จักสิ่งที่ควรกินไม่ควรกิน พอใช้ชีวิตเป็นไปได้ฉันใด พระพุทธบุตรก็ไม่ควรประมาทไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการอันประเสริฐฉันนั้น"
ดังนี้ ขอถวายพระพร "
อุปมาองค์ ๑ แห่งกระแต
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งกระแตได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดา กระแต เมื่อพบศัตรูย่อมพองหางขึ้นให้ใหญ่ต่อสู้กับศัตรูฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น เมื่อเกิดศัตรูคือกิเลสขึ้น ก็พองหางคือ สติปัฏฐาน ให้ใหญ่ขึ้นกั้นกางกิเลสทั้งปวงด้วยหาง คือสติปัฏฐานอันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งกระแต "
ข้อนี้สมกับคำของ พระจุฬปันถก ว่า
" เมื่อกิเลสอันจะกำจัดคุณสมณะปรากฏขึ้นในเวลาใด เวลานั้นพระโยคาวจรก็พองหาง คือสติปัฏฐานขึ้นบ่อย ๆ ฉันนั้น "
องค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลือง
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลืองนั้นคืออย่างไร ? "
"ขอถวายพระพร ธรรมดา แม่เสือเหลือง พอมีท้องแล้ว ก็ไม่เข้าใกล้ตัวผู้อีกฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น พระโยคาวจรได้เห็นปฏิสนธิ คือความเกิด ความอยู่ในครรภ์ ความจุติ ความแตก ความสิ้น ความวินาศ ทุกขภัยในสงสารแล้ว ก็ควรกระทำโยนิโสมนสิการด้วยคิดว่า เราจักไม่เกิดในภพทั้งหลายอีก อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลือง
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน ธนิยโคปาลสูตร ว่า
" ธรรมดาโคผู้สลัดเครื่องผูกไว้ ทำลายเถาวัลย์ให้ขาดแล้ว ย่อมไม่กลับไปสู่เครื่องผูกอีกฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้นคือควรคิดว่า เราจักไม่ยอมเกิดอีก " ดังนี้ขอถวายพระพร "
องค์ ๒ แห่งพ่อเสือเหลือง
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งเสือเหลืองนั้นได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดาว่า เสือเหลือง ย่อมไปแอบซุ่มอยู่ตามกอหญ้า พุ่มไม้ ซอกเขา ในป่าแล้วก็จับเนื้อฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้นคือพระโยคาวจรย่อมไปหาที่อยู่ในที่สงัด อันได้แก่ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าใหญ่ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อได้ที่สงัดอย่างนั้นก็ได้สำเร็จอภิญญา ๖ ในไม่ช้า อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งเสือเหลือง
ข้อนี้สมกับคำของ พระเถระผู้ทำสังคายนาทั้งหลาย ว่า
" เสือเหลืองแอบซุ่มจับเนื้อฉันใด พระพุทธบุตรผู้ประกอบความเพียร ผู้เจริญวิปัสสนา ก็เข้าไปอยู่ในป่าแล้วถือเอาซึ่งผลอันสูงสุดฉะนั้น "
ธรรมดาเสือเหลืองย่อมไม่กินเนื้อที่ล้มลงข้างซ้ายฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรย่อมไม่ฉันอาหารที่ได้ด้วยผิดธรรมวิสัย คือได้ด้วยการลวงโลก การประจบ การพูดเลียบเคียง การพูดเหยียดผู้อื่น การแลกลาภด้วยลาภ หรือด้วยการให้ไม้แก่น ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้ผลไม้ ให้ดินเหนียว ให้ผลผัดหน้า ให้เครื่องถูตัว ให้ไม้สีฟัน ให้น้ำล้างหน้า ให้ข้าวต้ม ให้แกงถั่ว ให้ของแลกเปลี่ยนแก่ชาวบ้าน หรือรับใช้ชาวบ้านหรือเป็นหมอ เป็นทูต เป็นผู้รับส่งข่าว หรือให้อาหารแลกอาหาร หรือวัตถุวิชา เขตตวิชา อัควิชา อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนกับเสือเหลืองไม่กินเนื้อที่ล้มลงข้างซ้าย อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเสือเหลือง
ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
" พระภิกษุคิดว่า ถ้าเราฉันอาหารที่เกิดจากการขอด้วยวาจา เราก็จะมีโทษ มีผู้ติเตียนถึงไส้ของเราจะทะลักออกมาภายนอกก็ตามเราก็จักไม่ทำลายอาชีวปาริสุทธิศีล ( เลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ ) เป็นอันขาด "
คำนี้ พระอุปเสนวังคันตบุตร ก็ได้กล่าวไว้ว่า
" ถึงไส้ใหญ่ของเราจักทะลักออกมาข้างนอกก็ตาม เราก็จะไม่ให้เสียอาชีวปาริสุทธิศีล ไม่ประพฤติอเนสกรรม ทำลายอาชีวะนั้นเป็นอันขาด " ขอถวายพระพร "
องค์ ๕ แห่งเต่า
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งเต่า ได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดา เต่า ย่อมอยู่ในน้ำฉันใด พระโยคาวจรก็อยู่ด้วยเมตตาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งเต่า
ธรรมดาเต่าเมื่อโผล่ขึ้นจากน้ำ ย่อมชูศีรษะแลดูสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วจึงจมไปให้ลึกด้วยคิดว่า อย่าให้มีผู้อื่นเห็นเราฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือเมื่อกิเลสเกิดขึ้น ก็ดำลงไปในสระน้ำคือารมณ์ให้ลึก ด้วยคิดว่าอย่าให้กิเลสเห็นเราอีก อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเต่า
ธรรมดาเต่าย่อมขึ้นจากน้ำมาผิงแดดฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรเลิกจากการนั่ง การยืน การนอน การเดินแล้ว ก็ทำให้ใจร้อนในสัมมัปปธาน ( ความเพียรที่ตั้งไว้ถูกต้อง ) อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งเต่า
ธรรมดาเต่าย่อมขุดดินลงไปอยู่ในที่เงียบฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรทิ้งลาภ สักการะ สรรเสริญ แล้วก็เข้าป่าหาที่อยู่สงัด อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งเต่า
ข้อนี้สมกับคำของ พระอุปเสนวังคันตบุตร ว่า
" พระภิกษุควรอยู่ในเสนาสนะที่สงัดที่ไม่มีเสียงอึกทึก มีแต่หมู่สัตว์ร้าย เพื่อเห็นแก่ความสงัด " ดังนี้
ธรรมดาเต่าเมื่อเที่ยวไป ถ้าได้เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือได้ยินเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็หดตีหดหัวเข้าอยู่ในกระดองนิ่งอยู่เพื่อรักษาตัวฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือเมื่ออารมณ์อันน่ารักใคร่ภายนอกปรากฏ พระโยคาวจรปิดประตูระวังสำรวมใจไว้ข้างในมีสติสัมปชัญญะรักษาสมณธรรมอยู่ อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งเต่า
ข้อนี้สมกับคำของพระพุทธเจ้าว่า
" เต่าย่อมซ่อนอวัยวะทั้ง ๕ ไว้ในกระดองของตนฉันใด พระภิกษุก็ควรตั้งใจมิให้อยู่ในวิตก ไม่อิงอาศัยอะไร ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ติเตียนใครฉันนั้น " ดังนี้ ขอถวายพระพร "
องค์ ๑ แห่งไม้ไผ่ (บางฉบับว่าแห่งปี่)
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งไม้ไผ่ ได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดา ไม้ไผ่ ย่อมอ่อนไปตามลม ไม่ขัดขืนฉันใด พระโยคาวจรก็กระทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า กระทำแต่สิ่งที่สมควร ไม่ฝ่าฝืนพระธรรมวินัยฉันนั้น ข้อนี้สมกับคำของ พระราหุลเถระ ว่า
" ควรกระทำตามซึ่งคำในพระพุทธวจนะอันมีองค์ ๙ ประการทุกเมื่อ ควรทำแต่สิ่งที่สมควร สิ่งที่ไม่มีโทษ ควรพยายามให้ยิ่งขึ้นไป " ดังนี้ ขอถวายพระพร "
องค์ ๑ แห่งแล่งธนู (บางฉบับว่าแห่งรางปืน)
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งแล่งธนูได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดา แล่งลูกธนู คือรางหน้าไม้ที่ช่างทำดีแล้ว ย่อมตรงตลอดต้นตลอดปลายฉันใด พระโยคาวจรก็ควรตรงต่อเพื่อนพรหมจรรย์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งแล่งธนู
ข้อนี้สมกับคำพระพุทธองค์ใน วิธุรปุณณกชาดก ว่า
" ธีรชนควรเป็นเหมือนแล่งธนู ควรอ่อนตามลมเหมือนไม้ไผ่ ไม่ควรทำตนเป็นข้าศึกจึงจักอยู่พระราชสำนักได้ " ขอถวายพระพร "
องค์ ๒ แห่งกา
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งกาได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดา กา ย่อมระแวงสงสัยอยู่เสมอ ย่อมขวนขวายอยู่เสมอฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรมีความระมัดระวังอยู่เสมอ สำรวมอินทรีย์อยู่เสมอ อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งกา
ธรรมดากาเห็นอาหารสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือซากสัตว์หรือของเดน แล้วก็ป่าวร้างพวกญาติมากินฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้น คือเมื่อได้ลาภโดยชอบธรรมแล้ว ควรแจกแบ่งให้เพื่อนพรหมจรรย์ อันนี้เป็นองค์ ๒ แห่งกา
ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
" ถ้ามีผู้น้อมนำโภชนาหารให้แก่เรา เราก็แจกแบ่งเสียก่อนแล้วจึงฉัน " ขอถวายพระพร "
องค์ ๒ แห่งวานร
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งวานรได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดา วานร เมื่อหาที่อยู่ ก็ไปหาที่อยู่อันป้องกันภัยได้ คือต้นไม้ใหญ่ ที่มีกิ่งดกหนาเงียบสงัดฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้น คือพระโยคาวจรควรหาที่อยู่กับกัลยาณมิตร ผู้มีศีลธรรมดีงาม ผู้มีความรู้มาก ผู้รู้จักสั่งสอน อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งวานร
ธรรมดาวานรย่อมเที่ยวไปตามต้นไม้ ยืนบนต้นไม้ นั่งบนต้นไม้ นอนบนต้นไม้ อยู่บนต้นไม้ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้น คือควรยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ในป่าควรอบรมสติปัฏฐานอยู่ในป่า อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งวานร
ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
" ภิกษุผู้ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ในป่าย่อมดูงาม เพราะป่าเป็นของที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ " ดังนี้ ขอถวายพระพร "
จบโฆรสวรรคที่ ๑

http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-25-20.htm

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ

“ ความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่าแน่นอนทีเดียวคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนี้มิใช่คนใหญ่คนโต แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุขสงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย ”


พอ
ความหมาย

ว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตามต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ; เหมาะ, เพียงทําได้, ควร; ถูก, ชอบ, เช่น พอใจ พอตา พอหู; อาจ ... ได้ เช่น ตาพอดู หูพอฟัง; เมื่อ,


ควร
ความหมาย

[ควน] ว. เหมาะ เช่น กินแต่พอควร; ชอบ, ถูกต้อง, เช่น เห็นควรแล้ว; เป็นคําช่วยกริยาในความคล้อยตาม เช่น ควรทํา ควรกิน.

 
เหมาะ
ความหมาย

ว. ดี เช่น ได้โอกาสเหมาะ, พอดี เช่น กำลังเหมาะ, สมควร เช่น โอกาสนี้ไม่เหมาะจะเข้าพบผู้ใหญ่, คู่ควร เช่น ๒ คนนี้เหมาะกัน.
   พอใจ
  ความหมาย

ก. สมใจ, ชอบใจ. ว. เหมาะ.


พอดี
ความหมาย

ว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น เสื้อใส่ได้พอดี, พอดิบพอดี ก็ว่า; พอเหมาะกับเวลา เช่น พอสิ้นเดือนเงินก็หมดพอดี เขามาถึงที่ทำงาน ๘.๓๐ น. พอดี.

บุคคลยังติดอยู่ในรูป

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆเราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำ คือ บุตรภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่แลตรึงมัดรัดผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆคือ บุตร ภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รสและโผฏฐัพพะเป็นเหยื่อของโลกเมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ”

http://www.dhammajak.net/dhamma/98.html

ผู้ไม่ยอมเสียสละอะไรย่อมไม่ได้อะไร

“ การเสียสละนั้น คือการได้มาซึ่งผลอันเลิศในบั้นปลาย ผู้ไม่ยอมเสียสละอะไรย่อมไม่ได้อะไร จงดูเถิดมนุษย์ทั้งหลายรดน้ำต้นไม้ที่โคนแต่ต้นไม้นั้นย่อมให้ผลที่ปลาย ”

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทางสายกลาง

๑๒


                                                             ทางสายกลาง



           “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ทางสองสาย คือ กามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ในกามสุขสายหนึ่งและอัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายให้ลำบากเปล่าสายหนึ่ง อันผู้หวังความเจริญในธรรมพึงละเว้นเสีย
             
           ควรเดินตามทางสายกลาง คือ เดินตามอริยมรรคมีองค์แปด คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การทำชอบ การประกอบอาชีพในทางสุจริต ความพยายามในทางที่ชอบ การตั้งสติชอบ และการทำสมาธิชอบ”
           “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! อริยมรรค ประกอบด้วย องค์แปดเป็นทางอันประเสริฐ สามารถทำให้บุคคลที่เดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุข สงบ เย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ”


           “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ถ้าภิกษุหรือใคร ๆ ก็ตามพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์”

ผู้ชนะตนนั้นหาได้ยาก

๑๕


                                                           


         “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! จิตนี้เป็นสิ่งที่ดิ้นรนกวัดแกว่งรักษายาก ห้ามได้ยาก ผู้มีปัญญาจึงพยายามทำจิตนี้ให้หายดิ้นรนให้เป็นจิตตรงเหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น

                               
       ภิกษุทั้งหลาย! จิตนี้คอยแต่จะกลิ้งเกลือกลงไปคลุกเคล้ากับกามคุณ เหมือนปลาซึ่งเกิดในน้ำถูกนายพรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำแล้ว คอยแต่จะดิ้นรนไปในน้ำอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาจึงพยายามยกจิตขึ้นจากการอาลัยในกามคุณให้ละบ่วงมารเสีย”

                           
     “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งที่ดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน

                           
    ”ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนี่ยวรั้งช้าง คือ จิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุด และควรแก่การสรรเสริญนั้น คือ ผู้ที่สามารถเอาตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนเองได้ชื่อว่า เป็นยอดนักรบในสงคราม เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย”



 

หัวใจของศาสนาพุทธ

ซึ่งถือเป็นหัวใจของศาสนาพุทธ ใจความว่า
 
" จงทำดี ละเว้นความชั่ว และทำใจให้บริสุทธิ์ "

กามเอย! เจ้าจะเกิดขึ้นอีกไม่ได้



๑๔
                                                              

                      “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! อายตนะภายในหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ อายตนะภายนอกหก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง

                         ภิกษุทั้งหลาย! เราตถาคตไม่พิจารณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใด ๆ ที่จะครอบงำรัดตรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะแห่งสตรี
ภิกษุทั้งหลาย! เราไม่พิจารณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ใด ๆ ที่จะสามารถครอบงำรัดตรึงใจของสตรีได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะแห่งบุรุษ”


                          “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! กามคุณนี้เรากล่าวว่าเป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นกำลังพลแห่งมาร ภิกษุผู้ปรารถนาจะประหารมาร พึงสลัดเหยื่อแห่งมาร ขยี้พวงดอกไม้แห่งมาร และทำลายกำลังพลแห่งมารเสีย

                                ภิกษุทั้งหลาย! เราเคยเยาะเย้ยกามคุณ ณ โพธิมณฑลในวันที่เราตรัสรู้นั้นเองว่า ดูก่อนกาม! เราได้เห็นต้นเค้าของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดจากความดำริคำนึงถึงนั้นเอง เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก ด้วยประการฉะนี้ กามเอย! เจ้าจะเกิดขึ้นอีกไม่ได้”

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ธรรมชาติ ๓ อย่าง ทำให้พระองค์เกิดขึ้นเป็นประทีปของโลก






ภิกษุ ท.! ถ้าธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้, ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ; และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก. ธรรมชาติ ๓ อย่างนั้น คืออะไรเล่า? คือ ชาติด้วย ชราด้วย มรณะด้วย. ภิกษุ ท.! ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้แล ถ้าไม่มีอยู่ในโลกแล้วไซร้, ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ; และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก.

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุใดแล ที่ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ในโลก, เพราะเหตุนั้น ตถาคตจึงต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ; และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว จึงต้องรุ่งเรืองไปในโลก.

บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๕๔/๗๖.
http://www.buddhadasa.org/html/life-work/dhammakot/01-buddha/0-08.html

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

นั่งใกล้ธรรม

“ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ
พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ”

“วาเสฏฐะและภารทวาชะ คำว่า ธรรมกาย ก็ดี
 พรหมกาย ก็ดี ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”

ที.ปา.๑๑/๕๕/๙๒





















โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ
โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ

ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา
ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม


หมายความเช่นนั้นก็เพราะว่า
ขณะนั้นพระวักกลิก็อยู่ใกล้ๆ กับพระพุทธองค์
 หากจะแลดูด้วยลูกตาธรรมดา
ทำไมจะไม่เห็นพระองค์


กายภายในซึ่งมิใช่กายเปื่อยเน่า
กายภายในซึ่งมิใช่กายเปื่อยเน่า
กายภายในคืออะไรเล่า
ก็คือ  ธรรมกาย  นั่นเอง


< div dir="ltr" style="text-align: left;" trbidi="on">ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.dmc.tv/page_print.php?p=dhamma_for_people/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C_3.html

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

สัมมาทิฏฐิ

ณ.อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้น
รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า "ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ" มีความเห็นดำเนินไป
ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรมมาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่าน
พระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้
[๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม



http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_-_%E0%B9%99._%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

สร้างฌาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อการตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางสุดโต่งสองอย่างนี้บรรพชิตไม่ควรเข้าใกล้ ทางสุดโต่งสองอย่างนั้นคืออะไร ? คือการประกอบมัวเมาในกามสุข ในสิ่งที่น่าใคร่ทั้งหลายอันต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบมัวเมาในการทรมานตนให้ลำยาก เป็นทุกข์ ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ทางสุดโต่งทั้งสองนั้น ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วที่สร้างดวงตา สร้างฌาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อการตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น...คืออริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล.....”  อ้างอิง : http://www.84000.org/true/523.html

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

เธอย่อมไม่ดูหมิ่นบัณฑิต เพราะการอยู่ร่วมกันเนืองๆ แล หรือ การทรงคบเพลิง เพื่อมนุษย์ทั้งหลาย เธอนอบน้อม แล้วแลหรือ ฯ

ราหุลสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า เธอย่อมไม่ดูหมิ่นบัณฑิต เพราะการอยู่ร่วมกันเนืองๆ แล หรือ การทรงคบเพลิง เพื่อมนุษย์ทั้งหลาย เธอนอบน้อม แล้วแลหรือ ฯ
พระราหุลกราบทูลว่า ข้าพระองค์ย่อมไม่ดูหมิ่นบัณฑิต เพราะการอยู่ร่วมกันเนืองๆ การทรงคบเพลิงเพื่อมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพระองค์นอบน้อม แล้วเป็นนิตย์ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอละกามคุณห้ามีรูปเป็นที่รัก เป็นที่รื่นรมย์ใจ ออกบวช ด้วยศรัทธาแล้ว จงกระทำที่สุดทุกข์เถิด เธอจงคบกัลยาณมิตร จงเสพที่นอนที่นั่งอันสงัดเงียบ ปราศจากเสียง กึกก้อง จงรู้จักประมาณในโภชนะ เธออย่าได้กระทำ ความอยากในวัตถุเป็นที่เกิดตัณหาเหล่านี้ คือ จีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง และปัจจัย เธออย่ากลับมาสู่โลกนี้อีก จงเป็น ผู้สำรวมในปาฏิโมกข์และในอินทรีย์ ๕ จงมีสติไปแล้วในกาย จงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย จงเว้นสุภนิมิต อันก่อ ให้เกิดความกำหนัด จงอบรมจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ให้ตั้ง มั่นดีแล้วในอสุภภาวนา จงอบรมวิปัสนา จงละมานานุสัย แต่นั้นเธอจักเป็นผู้สงบ เพราะการละมานะเที่ยวไป ฯ
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระราหุล ด้วยพระคาถาเหล่านี้ เนืองๆ ด้วยประการฉะนี้แล ฯ

ทรงแสดงที่พึ่งไว้ เมื่อทรงล่วงลับไปแล้ว

อานนท์ ในกาลบัดนี้ก็ดี

ในโอกาสล่วงไปแห่งเราก็ดี

ใครก็ตาม

จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ

ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ

มีธรรมเป็นประทีปมีธรรมเป็นสรณะ

ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ

เป็นอยู่

อานนท์ ภิกษุใดเป็นผู้ใคร่ในสิกขา

ภิกษุนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด แล.









   -พุทธวัจน์-



     





       



       .

ตราบนั้นพวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่ำพวกเธอไม่หมกมุ่นกับการงานมากเกินไป ไม่พอใจด้วยการพูดคุยฟุ้งซ้าน ไม่ชอบใจในการนอนมากเกินควร ไม่ยินดีในการคลุกคลีกด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นผู้ปรารถนาลามก ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาชั่ว  ไม่คบมิตรเลว  ไม่หยุดความเำพียร  พยายามเำพื่อบรรลุคุณธรรมขั่นสูงขึ้นไปแล้ว  ตราบนั้นพวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญแต่ส่วนเดียว





พุทธโอวาทก่อนปรินิำพพาน/อ.วศิน อินทสละ






.

ผู้ปฏิบัติ มี ๔ ประเภท


ขึ้นชื่อว่า ผู้ปฏิบัติ มี ๔ ประเภท คือ

ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑
ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ๑
ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑
ไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑

บรรดาผู้ปฏิบัติเหล่านั้น ผู้ใดได้กถาวัตถุ ๑๐ เอง
ไม่กล่าวไม่สอนผู้อื่นในกถาวัตถุ ๑๐ นั้นเหมือนอย่างท่านพากุละ
ผู้นี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีโศก

ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีของรักเสียแล้ว
โศกภัย ก็ไม่มี.
ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์
ที่ใด..มีรัก ที่นั่น..มีทุกข์**


ปิยโต ชายเต โสโก
ปิยโต ชายเต ภยํ
ปิยโต วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๒ ฯ


ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีของรักเสียแล้ว
โศกภัย ก็ไม่มี.


From the beloved springs grief,
From the beloved springs fear;
For him who is free from the beloved
There is neither grief nor fear.

๘. วิสาขาสูตร
[๑๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพารามปราสาทของนางวิสาขา
มิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล หลานของนางวิสาขามิคารมารดา
เป็นที่รักที่พอใจ ทำกาละลง ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมารดามีผ้าเปียก ผมเปียก
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับในเวลาเที่ยง ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะนางวิสาขามิคารมารดาว่า เชิญเถิดนาง-
วิสาขา ท่านมาแต่ไหนหนอ มีผ้าเปียก มีผมเปียก เข้ามา ณ ที่นี้ในเวลาเที่ยง
นางวิสาขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลานของหม่อมฉัน เป็นที่รักที่
พอใจ ทำกาละเสียแล้ว เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงมีผ้าเปียกมีผมเปียก เข้ามา ณ
ที่นี้ในเวลาเที่ยง เจ้าค่ะ ฯ
พ. ดูกรนางวิสาขา ท่านพึงปรารถนาบุตรและหลานเท่ามนุษย์ในพระนคร
สาวัตถีหรือ ฯ
วิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ หม่อมฉันพึงปรารถนาบุตรและหลาน
เท่ามนุษย์ในพระนครสาวัตถี เจ้าค่ะ ฯ
พ. ดูกรนางวิสาขา มนุษย์ในพระนครสาวัตถีมากเพียงไร ทำกาละอยู่
ทุกวันๆ ฯ
วิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มนุษย์ในพระนครสาวัตถี ๑๐ คนบ้าง ๙ คน
บ้าง ๘ คนบ้าง ๗ คนบ้าง ๖ คนบ้าง ๕ คนบ้าง ๔ คนบ้าง ๓ คนบ้าง ๒ คนบ้าง
๑ คนบ้าง ทำกาละอยู่ทุกวันๆ ฯ
พ. ดูกรนางวิสาขา ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านพึงเป็นผู้มี
ผ้าเปียกหรือมีผมเปียกเป็นบางครั้งบางคราวหรือหนอ ฯ
วิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่ใช่อย่างนั้น เจ้าค่ะ พอเพียงแล้วด้วยบุตร
และหลานมากเพียงนั้นแก่หม่อมฉัน ฯ
พ. ดูกรนางวิสาขา ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐๐ ผู้ใดมีสิ่ง
ที่รัก ๙๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗๐
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕๐
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓๐
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖ ผู้นั้นก็มี
ทุกข์ ๖ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒ ผู้ใดมีสิ่ง
ที่รัก ๑ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑ ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้น
ไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส ฯ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง
อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี มากมายหลาย
อย่างนี้มีอยู่ในโลก เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก
เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไร
และความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มี
สัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหนๆ ผู้นั้นเป็นผู้มีความ
สุข ปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนาความไม่
โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขาร
ให้เป็นที่รัก ในโลกไหนๆ ฯ




ขอบคุณhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=abhinop&month=09-2011&date=27&group=2&gblog=57


ปุจฉา  - ทำไมต้องแอบรัก

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

ดานเครื่องผูก



อันเครื่องผูก อย่างหนึ่ง ซึ่งหยานหย่อน

แต่คลายผ่อน กลับยาก ลำบากยิ่ง

คือสมบัติ เมีย,ลูก ผูกใจจริง

มันมัดนิ่ง อยู่ทุกเมื่อ เหลือประมาณ

...แม้มิใช่ จะมัดจับ บังคับร่าง

ไปได้ดี ที่ต่างต่าง ข้างนอกบ้าน
แต่รึงรัด มัดไว้ ในสันดาน
ให้รนราน ร้อนเร้า เผาดวงใจ
...จึงผู้มี ปัญญาล้วน ควรละวาง
กามสุข ทุกข์อ้างว้าง เมื่อสุดท้าย
มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
ครั้นออกบวช ตัดแล้วไซร้ ไม่ร้อนรน

(เหตุแห่งการตรัส = พระพุทธเจ้า ตรัสแก่ภิกษุ ที่โรงธรรมสภา เมื่อภิกษุ เหล่านั้นเห็นโจรที่ถูกจองจำ ระหว่างทางที่ภิกษุเหล่านั้นเดินทางมาเฝ้าพุทธองค์ ที่วัดเชตวัน)

วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

ทวารทั้ง 9

“ภคินีเอย อันว่าร่างกายนี้สะสมไว้แต่ของสกปรกโสโครก
มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้ง 9 มีช่องหู ช่องจมูก เป็นต้น
เป็นที่อาศัยแห่งสัตว์เล็กสัตว์น้อย เป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด
เป็นรังแห่งโรค เป็นที่เก็บมูตรและกรีส
อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่าง ๆ เข้าไว้ และซึมออกมาเสมอ ๆ
เจ้าของกายจึงต้องชำระล้างขัดถูวันละหลาย ๆ ครั้ง
เมื่อเว้นจากการชำระล้างแม้เพียงวันเดียวหรือสองวันกลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่รังเกียจ
เป็นของน่าขยะแขยง


ขอบคุณ
http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001810.htm

วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

บุคคลสองท่านไม่กล่าวว่าจะกระทำตอบแทนได้ง่ายเลย



"ภิกษุทั้งหลาย สำหรับบุคคลสองท่าน

เราไม่กล่าวว่าจะกระทำตอบแทนได้ง่ายเลย

สองท่านคือใคร คือ มารดาและบิดา

หากบุตรจะเอามารดาไว้บนบ่าข้างหนึ่ง

เอาบิดาไว้บนบ่าข้างหนึ่ง

ปรนนิบัติ ถึงเขาจะมีอายุยืนด้วยการขัดสี นวดเฟ้น อาบน้ำให้

และแม้ว่าท่านทั้งสองจะพึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขา

นั่นก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นอันได้กระทำคุณหรือได้ตอบแทนแก่มารดาบิดา

ถึงบุตรจะพึงสถาปนามารดาบิดาไว้ในราชสมบัติ

ทรงอิสราธิปัตย์บนมหาปฐพีอันมีสัตตรัตนะมากหลายนี้

ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นอันได้ทำคุณ หรือได้ตอบแทนมารดาบิดา

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก เป็นผู้บำรุงเลี้ยง
แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย... ส่วนว่าบุตรคนใด ชักจูง ปลูกฝัง ประดิษฐาน
ซึ่งมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธาไว้ในศรัทธาสัมปทา
...ซึ่งมารดาบิดาผู้ทุศีลไว้ในสีลสัมปทา
...ผู้มีมัจฉริยะไว้ในจาคสัมปทา
...ผู้ทรามปัญญาไว้ในสัญญาสัมปทา
ด้วยการกระทำเพียงนี้จึงชื่อว่าเป็นอันได้แทนคุณ
ได้ตอบแทนแก่มารดาบิดา..

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

ตถาคตเป็นแค่เพียงผู้ชี้บอกทางเท่านั้น

"ท่านทั้งหลายจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย เราตถาคตเองเป็นที่พึ่งแก่ท่านทั้งหลายไม่ได้ ตถาคตเป็นแค่เพียงผู้ชี้บอกทางเท่านั้น ส่วนความเพียรพยายามเพื่อเผาบาปอกุศล ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ทางมีอยู่ เราชี้แล้วบอกแล้ว ท่านทั้งหลายต้องเดินเอง"

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17839

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

อรรถกถาเทวทัตตสูตรที่  ๗



         เทวทัตตสูตรที่  ๗   มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
         บทว่า   อจิรปกฺกนฺเต  ได้แก่   เมื่อพระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว
ออกไปไม่นาน.  บทว่า   อารพฺภ  ได้แก่  อาศัย   เจาะจง   มุ่งหมาย.
บทว่า   อตฺตวิปตฺตึ    ได้แก่   ความวิบัติ   คือ  อาการอันวิบัติของตน.
แม้ในบทที่เหลือ  ก็นัยนี้เหมือนกัน.  บทว่า  อภิภุยฺย  ได้แก่ ครอบงำ
ย่ำยี.
                              จบ  อรรถกถาเทวทัตตสูตรที่  ๗

http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=3700158

เหตุ ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปพร้อม

ดูก่อนกัสสป  เหตุ  ๕  ประการเหล่านี้แล   ย่อมเป็นไป
พร้อมเพื่อความตั้งมั่น  ไม่ฟั่นเฟือน  ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม  เหตุ
๕ ประการเป็นไฉน  คือ
ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา  ในธรรมวินัยนี้    มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา
ในพระธรรม  ๑
ในพระสงฆ์  ๑
ในสิกขา  ๑
ในสมาธิ  ๑
เหตุ  ๕  ประการนี้แล  ย่อมเป็นไปพร้อม
เพื่อความตั้งมั่น  ไม่ฟั่นเฟือน   ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม.
                        จบสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่  ๑๓
                              จบกัสสปสังยุตที่  ๔

ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหากเกิด ขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป

ดูก่อนกัสสป     ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่
ได้      ธาตุน้ำ    ธาตุไฟ  ธาตุลม   ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้
ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหากเกิด ขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป
เปรียบเหมือนเรือจะอับปาง   ก็เพราะต้นหนเท่านั้น   พระสัทธรรมยังไม่ 
เลือนหายไป   ด้วยประการฉะนี้.

สูตรก็ไม่ขาดมูล (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 383

            อีกประการหนึ่ง  ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต    เล่าเรียนนิกาย  ทรงธรรม
ทรงวินัย  ทรงมาติกา  ภิกษุเหล่านั้นเอาใจใส่บอกสอนสูตรแก่ผู้อื่น  เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นล่วงไป  สูตรก็ไม่ขาดมูล   (อาจารย์)    มีที่อาศัยสืบกันไป   นี้ธรรม
ประการที่  ๓  เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป
            อีกประการหนึ่ง    ภิกษุผู้ใหญ่  ๆ  ไม่เป็นผู้สะสมบริขาร   ไม่ปฏิบัติ
ย่อหย่อน  เป็นผู้ทอดธุระในการลาสิกขา  มุ่งหน้าไปทางปวิเวก    ทำความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง  เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ   เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง  หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลัง  ได้เยี่ยงอย่างภิกษุผู้ใหญ่เหล่านั้น
ก็พากันเป็นผู้ไม่สะสมบริขาร ไม่ปฏิบัติย่อหย่อน  เป็นผู้ทอดธุระในการลาสิกขา
มุ่งหน้าไปทางปวิเวก   ทำความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง    เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ    เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้งไปตามกัน     นี้ธรรม
ประการที่  ๔   เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป
            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้แลธรรม ๔ ประการ เป็นเหตุให้พระสัทธรรม
ตั้งอยู่   ไม่เลอะเลือนอันตรธาน.
                                           จบสุคตสูตรที่  ๑๐
                                 จบอินทริยวรรคที่  ๑
๑๐. สุคตสูตร
               ว่าด้วยแบบแผนคำสั่งสอนของพระสุคต
            [๑๖๐]    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เมื่อพระสุคตก็ดี  วินัยพระสุคตก็ดี ยัง
ประดิษฐานอยู่ในโลก  อันนั้นเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนมาก   เพื่อความสุขของ
คนมาก    เพื่ออนุเคราะห์โลก   เป็นความเจริญ   เป็นผลดี   เป็นความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 381

            ก็พระสุคตเป็นไฉน ?   คือ   ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้   (อรหํ)  เป็น
พระอรหันต์   (สมฺมาสมฺพุทฺโธ)   เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ   (วิชฺชาจรณ-
สมฺปนฺโน)    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ    (สุคโต)    เป็นผู้ไปดี
(โลกวิทู)  เป็นผู้รู้แจ้งโลก   (อนุตฺตโร  ปุริสทมฺมสารถิ)    เป็นสารถีฝึก
คนไม่มีใครยิ่งกว่า    (สตฺถา  เทวมนุสฺสานํ)   เป็นผู้สอนเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย   (พุทฺโธ)   เป็นผู้ตื่นแล้ว   เป็นผู้เบิกบานแล้ว    (ภควา)   เป็นผู้
จำแนกธรรม  นี้คือ  พระสุคต
            วินัยพระสุคตเป็นไฉน ?   คือพระสุคตนั้นแสดงธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง    งามในที่สุด    ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้ง
พยัญชนะ    บริบูรณ์บริสุทธิ์สิ้นเชิง    (ธรรมที่พระสุคตแสดง    พรหมจรรย์
ที่พระสุคตประกาศ)  นี้คือ  วินัยพระสุคต
            ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อพระสุคตก็ดี  วินัยพระสุคตก็ดี    นี้ยังประดิษฐาน
อยู่ในโลก  อันนั้นเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนมาก  เพื่อความสุขของคนมาก  เพื่อ
อนุเคราะห์โลก   เป็นความเจริญ  เป็นผลดี   เป็นความสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย
            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     ธรรม  ๔   ประการนี้เป็นเหตุให้พระสัทธรรม
เลอะเลือนอันตรธานไป  ธรรม  ๔  ประการเป็นไฉน  คือ
            ภิกษุทั้งหลายในพระวินัยนี้        เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาผิดด้วยบท
พยัญชนะที่ใช้ผิด   เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ใช้ผิด  ย่อมมีนัยอันผิดไปด้วย
นี้
ธรรมประการที่  ๑  เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป
            อีกประการหนึ่ง    ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก    ประกอบด้วยธรรมอัน
ทำความว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำสั่งสอนโดยเบื้องขวา  นี้
ธรรมประการที่  ๒เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 382
อีกประการหนึ่ง  ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต   เล่าเรียนนิกาย  ทรงธรรม
ทรงวินัย  ทรงมาติกา    ภิกษุเหล่านั้นไม่เอาใจใส่บอกสอนแก่ผู้อื่น   เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นล่วงไป  สูตรก็ขาดผู้เป็นมูล  (อาจารย์)   ไม่มีที่อาศัยสืบไป   นี้
ธรรมประการที่  ๓  เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไปอีกประการหนึ่ง
 ภิกษุผู้ใหญ่ ๆ เป็นผู้สะสมบริขาร  ปฏิบัติย่อหย่อน
มุ่งไปทางจะลาสิกขา  ทอดธุระในปวิเวก  ไม่ทำความเพียร  เพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ  เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง
ปัจฉิมชนตา  (ประชุมชนผู้เกิดภายหลัง  คือสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกเป็นต้น )
ได้เยี่ยงอย่างภิกษุผู้ใหญ่เหล่านั้น   ก็พลอยเป็นผู้สะสมบริขาร   ปฏิบัติย่อหย่อน
มุ่งไปทางจะลาสิกขา    ทอดธุระในปวิเวก    ไม่ทำความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง  เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ  เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง
ไปตามกัน  นี้ธรรมประการที่  ๔ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป
            ภิกษุทั้งหลาย    นี้แลธรรม   ๔   ประการ    เป็นเหตุให้พระสัทธรรม
เลอะเลือนอันตรธาน

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

โลกไม่ฉาบทาแปดเปื้อน พระองค์ได้ พระองค์ทรงเรียกตัวเองว่าพุทธะ

"ท่านผู้เจริญของเรา ! เราถามอย่างไรๆ ท่านก็ตอบว่ามิได้เป็นอย่างนั้นๆ, ถ้าเช่นนั้นท่านเป็นอะไรเล่า ?"
พราหมณ์เอย ! อาสวะ เหล่าใด ที่จะทำให้เราเป็น เทวดา เพราะยังละมันไม่ได้, อาสวะเหล่านั้นเราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว, พราหมณ์เอย ! อาสวะเหล่าใดที่จะทำให้เราเป็น คนธรรพ์ เป็น ยักษ์ เป็น มนุษย์ เพราะยังละมันไม่ได้, อาสวะเหล่านั้น เราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว.
พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนดอกบัวเขียว บัวหลวง หรือบัวขาว, มันเกิดในน้ำเจริญในน้ำโผล่ ขึ้นพ้นน้ำตั้งอยู่ น้ำไม่เปียกติดมันได้ ฉันใดก็ฉันนั้นนะพราหมณ์ ! เรานี้เกิดในโลก เจริญในโลก ก็จริง แต่เราครอบงำโลกเสียได้แล้ว และอยู่ในโลก โลกไม่ฉาบทาแปดเปื้อน เราได้.
พราหมณ์ ! ท่านจงจำเราไว้ว่า เป็น "พุทธะ" ดังนี้เถิด.
บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๔๙/๓๖.
ตรัสแก่โทณพราหมณ์ ที่โคนไม้ระหว่างทางแห่งหนึ่ง.

<-^->

ผู้ติดตาม