วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันลือสีหนาท

ภิกษุทั้งหลาย !  พญาสัตว์ชื่อสีหออกจากถ้ำที่อาศัยในเวลาเย็นเหยียดกายเเล้วเหลียวมองดูทิศทั้งสี่โดยรอยบันลือสีหนาทสามคครั้งแล้ว ก็เที่ยวไปเพื่อหาอาหาร บันดาสัตว์เดรัจฉานเหล่าใดได้ยินเสียงบันลือสีหนาทสัตว์เหล่านั้นก็ สดุ้งกลัวเหี่ยวแห้งใจ พวกที่อาศัยโพรงก็เข้าโพรง อาศัยน้ำก็ลงน้ำ อยู่ป่าก็เข้าป่าเหล่าช้างของพระราชาในหมู่บ้านนิคม ในเมืองที่ผูกล่ามไว้ด้วยเชือกเหนียวก็พากันกลัวกระชากเชือกให้ขาดแล้ว ถ่ายมูลและกรีสพลางแล่นหนีไปพลาง ทั้งข้างโน้นและข้างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! พญาสัตว์ชื่อสีหะเป็นสัตว์ที่มีฤทธิ์ มาก มีศักดิ์มากมีอนุภาพมาก กว่าบันดาสัตว์เดรัจฉานด้วยอาการอย่างนี้แล ...


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ แปรโดยพุทธทาสภิกขุ

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พระพุทธองค์ทรงมิได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อให้เขานับถือ

ภิกษุทั้งหลาย! การประพฤติพรหมจรรย์นี้
มิใช่เพื่อหลอกลวงคนให้มานับถือ
มิใช่เพื่อเรียกคนมาเป็นบริวาร
มิใช่เพื่ออนิสงส์เป็นลาภสักการะเเละเสียงสรรเสริญ
มิใช่เพื่ออนิสงส์เพื่อเป็นเจ้าลัทธิหรือเพื่อค้านลัทธิอื่นให้ล้มไป
และมิได้พื่อให้ผู้อื่นคิดว่าเป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ก็หาได้ไม่
ภิกษุทั้งหลาย! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติเพื่อสมรวม เพื่อละ
เพื่อคลายกำหนัด และเพื่อดับทุกข์ให้สนิท


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ แปรโดยพุทธทาสภิกขุ


http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/005126.htm

การปรากฎของตถาคตจึงปรากฎสัมโพฌชงค์ทั้งเจ็ด

การปรากฎของ จักรพรรดิ์แก้ว จะปรากฏของรัตนทั้งเจ็ดประการคือ
จักรแก้ว
ช้างแก้ว
ม้าแก้ว
แก้วมณี
นางแก้ว
คหบดีแก้ว
ปรินายกแก้ว
(นี้เป็นฉันใด)
ภิกษุทั้งหลาย!
การปรากฎของตถาคตจึงปรากฎสัมโพฌชงค์ทั้งเจ็ดคือ
สติสัมโภฌชงค์
ธัมมวิจรณะสัมโพฌชงค์
วิริยะสัมโพฌชงค์
ปีติสัมโพฌชงค์
ปัสสัทธิสัมโพฌชงค์
สมาธิสัมโพฌชงค์
อุเบกขาสัมโพฌชงค์


จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์แปลโดยพุทธทาสภิกขุ

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

“อย่าเลย ! เทวทัต เธออย่าพอใจที่จะปกครองภิกษุสงฆ์เลย”

พระศาสดารับสั่งว่า
ภิกษุพึงถือเป็นวัตรได้ตามความสมัครใจ
ภิกษุรูปใดปรารถนาจะอยู่ป่าเป็นวัตร
รูปใดปรารถนาจะอยู่บ้าน
ก็จงอยู่บ้านรูปใดปรารถนาจะถือบิณฑบาตเป็นวัตร
ก็จงถือบิณฑบาตเป็นวัตร
รูปใดปรารถนาจะรับกิจนิมนต์ก็จงยินดีกิจนิมนต์
รูปใดปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ก็จงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใดจะรับผ้าคหบดีจีวร
ก็จงรับ เราอนุญาตการอยู่โคนไม้เป็นเสนาสนะ ๘ เดือน นอกฤดูฝน
ในฤดูฝนต้องอยู่ในที่มุงที่บัง
เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือ
ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ
คือไม่สงสัยว่าเขาฆ่าสัตว์นั้นเพื่อถวายพระ



http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18293

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิชชา-วิมุตติบริบูรณ์


เพราะโพชฌงค์บริบูรณ์
ภิกษุ ท.! โพชฌงค์ทั้งเจ็ด
 อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร ทำ ให้
มากแล้วอย่างไร จึงทำวิชชาและ
วิมุตติให้บริบูรณ์ได้?
ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญ
สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ
 อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละลง);



อริยสัจจากพระโอษฐ์
ภาคต้น
คณะธรรมทาน

ธรรมทานมูลนิธิ จัดพิมพ์ด้วยดอกผลทุนพระยาลัดพลีธรรม
ประคัลภ์เป็นหนังสืออันดับที่สอง ในหนังสือชุด “ลัดพลีธรรม
ประคัลภ์อนุสรณ์”“ลัดพลีธรรมประคัลภ์อนุสรณ์””
กองตำรา

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองหวังจะพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ

ดูกร!คฤหบดีและคฤหปตานี ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองหวังจะพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพไซร้
ทั้งสองเทียวพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามีทั้งสองนั้นย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจาคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุก ทั้งสองฝ่ายมีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก ฯ
จบสูตรที่ ๕


ขอบคุณข้อมูล
http://www.tipitaka.com/marriage.htm

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

จงอย่าตีเสมอผู้มีกรุณาวางคนได้ยก(เขา)ไว้ในฐานะ


 ความโกรธอันเกิดมาจากอาฆาต-วัตถุ  ๑๐  อย่าง 
ความผูกโกรธ    อันครอบคลุมจิตบ่อย  ๆ   
ก็ฉันนั้นความลบหลู่ อันการทำสิ่งที่เขาทำดีแล้วให้พินาศไป
ไม่ว่าของคฤหัสถ์หรือของบรรพชิต   (มีลักษณะเหมือนกัน)  
อธิบายว่า  ฝ่ายคฤหัสถ์ (เดิมที)
เป็นคนขัดสน  (ครั้นแล้ว)
ผู้มีกรุณาลางคนได้ยก (เขา) ไว้ในฐานะ ที่สูงส่ง   
 ต่อมา (เขากลับกล่าวว่า)ท่านทำอะไรให้ข้าพเจ้าชื่อว่า
ทำลายความดีที่คนผู้กรุณานั้นทำไว้แล้วให้พินาศไป       

ฝ่ายบรรพชิตแล จำเดิมแต่สมัยเป็นสามเณรน้อย
  อันอาจารย์หรืออุปัชฌาย์ท่านใดท่านหนึ่ง อนุเคราะห์
ด้วยปัจจัย ๔ และด้วยอุทเทศและปริปุจฉา  
 ให้สำเหนียกความ เป็นผู้ฉลาดในปกรณ์เป็นต้น 
 ด้วยธรรมกถา สมัยต่อมา อันพระราชา
และ ราชมหาอำมาตย์เป็นต้น   
 สักการะเคารพแล้ว (เธอ) กลับขาดความ



ยำเกรงในอาจารย์และอุปัชฌาย์เที่ยวไป อันอาจารย์เป็นต้นกล่าวว่า ผู้นี้
สมัยเขาเป็นเด็ก เราทั้งหลายช่วยอนุเคราะห์และส่งเสริมให้ก้าวหน้าอย่างนี้
ก็แต่ว่าบัดนี้ เขาไม่น่ารักเสียแล้ว ก็กล่าว ว่า พวกท่านทำอะไรให้ผม ดังนี้
ชื่อว่า ทำลายความดีที่อุปัชฌาย์และอาจารย์เหล่านั้น ทำแล้วให้พินาศไป

ความลบหลู่ที่ทำความดีที่ท่านทำไว้แล้วให้พินาศไป ของบรรพชิตนั้นย่อม
เกิดขึ้นทำร้ายจิต คือไม่ให้จิตผ่องใส เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
 เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ดังนี้. เหมือนอย่างว่า ความลบหลู่นี้เป็นฉันใด
การตีเสมอ (ซึ่งได้แก่) การถือเป็นคู่แข่ง ก็ฉันนั้น เกิดขึ้นลามไปอ้างถึงบุคคล
แม้เป็นพหูสูต โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านผู้เป็นพหูสูตเช่นนี้ ยังมีคติไม่แน่นอน(แล้ว)
ท่านกับผมจะมีอะไรวิเศษเล่า ความริษยา ได้แก่การนึกตำหนิสักการะ
เป็นต้นของคนอื่น.ความตระหนี่ ได้แก่(การที่ )ทนไม่ได้ที่สมบัติ
ของตนมีคนอื่นร่วมใช้สอย มายา ได้แก่กิริยาที่เป็นการประพฤติ หลอกลวง.
 ความโอ้อวดเกิดขึ้นโดย(ทำให้)เป็นคนคุยโต.จริงอยู่ คนคุย
โตย่อมเป็นเหมือนปลาอานนท์.





วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่เป็นโทษมาก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราไม่เห็นธรรมอื่นสักข้อ ที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) โทษทั้งหลายมีทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง



เอกนิบาต อังคุตรนิกาย
พุทธวัจนะ/จากหนังสือพระไตรปิฎกฉบับย่อ หน้า3
โดย พ.อ.(พ) เสามนัส โปตระนันทน์

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สาระ

"ผู้เห็นในสิ่งไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ
 เห็นในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ
มีความดำริผิดเป็นทางไป
 ย่อมไม่ได้บรรลุสิ่งที่เป็นสาระ."
      "ผู้รู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็นสาระ
สิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ
 มีความดำริชอบเป็นทางไป
 ย่อมบรรลุสิ่งเป็นสาระได้."

พละกำลังทั้ง ๗ ประการ


              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๗ ประการเหล่านี้ คือ
              ๑. กำลังคือความเชื่อ (สัทธาพละ)      
              ๒. กำลังคือความเพียร (วิริยพละ)
              ๓. กำลังคือความละอายต่อบาป (หิริพละ)   
              ๔. กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป (โอตตัปปพละ)
              ๕. กำลังคือสติความระลึกได้ (สติพละ)             
              ๖. กำลังคือความตั้งใจมั่น (สมาธิพละ)
              ๗. กำลังคือปัญญา (ปัญญาพละ)
              ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๗ ประการเหล่านี้แล."
 


สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๓/๒

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวันก็ฉันนั้นแล ฯ

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่ จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใดธรรมชาติที่เรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้างนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวันก็ฉันนั้นแล ฯ”

ดูก่อนวัจฉะ ผู้ใดแลห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง

 “.....ดูก่อนวัจฉะ ผู้ใดพูดว่าพระสมณโคดมตรัสว่า พึงให้ทานแก่เราคนเดียว ไม่ควรให้แก่คนอื่น ๆ พึงให้ทานแก่สาวกของเรานี้แหละ ไม่ควรให้ทานแก่สาวกของคนอื่น ๆ .. ดังนี้ ผู้นั้นชื่อว่าไม่พูดตามที่เราพูดทั้งกล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่ดี ไม่เป็นจริง
“.....ดูก่อนวัจฉะ ผู้ใดแลห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง วัตถุ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ

ย่อมทำอันตรายแก่บุญของทายก ๑
ย่อมทำอันตรายแก่ลาภของปฏิคาหก ๑
ตนของบุคคลนั้นย่อมเป็นอันถูกกำจัด และถูกทำลายก่อนทีเดียวแล ๑....
 http://84000.org/true.html

ฆ่าตัวตายไม่ควรตำหนิเสมอไป


 “ดูก่อนสารีบุตร พระฉันนะยังมีสกุลมิตร สกุลสหายและสกุลที่คอยตำหนิอยู่ก็จริง แต่เราหาเรียกบุคคลว่า ควรถูกตำหนิด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่...... บุคคลใดแลทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ ฉันนะภิกษุหามีลักษณะนี้ไม่ ฉันนะภิกษุหาศาสตรามาฆ่าตัว อย่างไม่ควรถูกตำหนิ”
ฉันโนวาทสูตร อุ. ม. (๗๕๓)
ตบ. ๑๔ : ๔๗๙ ตท. ๑๔ : ๔๐๗
ตอ. MLS. III : ๓๑๘-๓๑๙

เราไม่รับรู้เรื่องมีการด่า

“ ดูก่อนพราหมณ์..... ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่านโกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับรู้เรื่องมีการด่าเป็นต้นของท่านนั้น ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าของท่านผู้เดียว ดูก่อนพราหมณ์.... ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่ หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่.... ผู้นี้ เรากล่าวว่า ย่อมบริโภคร่วมกัน ย่อมกระทำตอบกัน เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบด้วยท่านเป็นอันขาด ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้น เป็นของท่านผู้เดียว”

อักโกสกสูตรที่ ๒ ส. สํ. (๖๓๒)
ตบ. ๑๕ : ๒๓๘ ตท. ๑๕ : ๒๒๕
ตอ. K.S. I : ๒๐๒

อย่าดูหมิ่นสตรี

ขณะที่พระเจ้าปเสนทิโกศลกำลังประทับนั่งเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่ ราชบุรุษได้เข้ามาทูลว่า พระราชินีประสูติพระราชธิดาออกมา พระราชาทรงผิดหวังมาก เพราะพระองค์ต้องการโอรส เช่นเดียวกับชาวอินเดียทั้งหลาย ที่อยากได้บุตรชายมากว่าบุตรหญิง ?

 “ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็นใหญ่ยิ่งกว่าปวงชน แท้จริงแม้สตรีบางคนก็เป็นผู้ประเสริฐ พระองค์จงชุบเลี้ยงไว้ สตรีที่มีปัญญา มีศีลปฏิบัติพ่อผัว แม่ผัวดังเทวดา จงรักสามี ฯ
“บุรุษที่เกิดจากสตรีนั้น ย่อมเป็นคนแกล้วกล้า เป็นเจ้าแห่งทิศได้บุตรของภริยาที่ดีเช่นนั้น แม้ราชสมบัติก็ครอบครองได้”

ธีตุสูตรที่ ๖ ส. สํ. (๓๗๗)
ตบ. ๑๕ : ๑๒๕ ตท. ๑๕ : ๑๒๑
ตอ. K.S. I : ๑๑๑

http://84000.org/true/112.html


ตัณหายังคนให้เกิดจิต

ภัยใหญ่ของมนุษย์

ปัญหา (เทวดาทูลถาม) อะไรหนอยังคนให้เกิด อะไรของเขาหนอย่อมวิ่งพล่าน อะไรของเขาหนอเวียนว่ายไปยังสงสาร อะไรหนอเป็นภัยใหญ่ของเขา ?

พุทธดำรัสตอบ “ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์เวียนว่ายไปยังสงสาร ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของเขา”

ปฐมชนสูตรที่ ๕ ส.สํ. (๑๖๗)
ตบ. ๑๕ : ๕๑ ตท. ๑๕ : ๕๐
ตอ. K.S. I : ๕๒

ความทุกข์ที่ผู้อื่นทำให้มีอยู่หรือไม่

เมื่อบุคคลถูกเวทนาทิ่มแทง [รู้] อยู่ว่า ผู้กระทำคนหนึ่ง ผู้เสวยเป็นอีกคนหนึ่ง เราจะกล่าวว่า ทุกข์ผู้อื่นกระทำให้ ดังนี้ อันนี้เป็นอุจเฉททิฏฐิไป ดูกร กัสสป ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้ง ๒ นั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับ ด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้



อเจลกัสสปสูตร
ว่าด้วย ความทุกข์
http://www.navy.mi.th/newwww/code/special/budham/tp/tp160117.htm

ผู้ติดตาม