วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

น้ำตาที่ไหลของมนุษย์ที่เกิดและตายในวัฎที่ไม่มีที่สิ้นสุดนี้มากมายกว่าน้ำในมหาสมุทธทั้ง๔

๓. อัสสุสูตร

[๔๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่
ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔สิ่งไหนจะ
มากกว่ากัน ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ย่อมทราบธรรมตามที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกข้าพระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญ
ร้องไห้อยู่ เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจเพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้
แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ
[๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้
ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯโดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า
ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน
น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะ
ประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร
ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา ... ของพี่ชายน้องชาย พี่สาว
น้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ... ความเสื่อมแห่งญาติ ...ความเสื่อมแห่งโภคะ ... ได้ประ
สบความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบความ
เสื่อมเพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ
นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียว
เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัดพอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค - อนมตัคคสังยุตต์ - ปฐมวรรค - ๓. อัสสุสูตร
[พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]

ขอบขอมูลจากhttp://th.wikisource.7val.com/

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จักรของพระองค์ไม่มีใครต้านทานได้


ภิกษุ ท. ! ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็เป็นฉันนั้น. ตถาคต
ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการแล้ว ย่อมหมุน ธรรมจักรอันไม่มีจักรอื่นยิ่ง
ไปกว่า
ให้เป็นไปได้โดยธรรม. และจักรนั้น เป็นจักรที่สมณะหรือพราหมณ์
เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถต้านทานให้หมุนกลับได้.
ธรรม ๕ประการนั้นเป็นอย่างไรเล่า?
 ภิกษุ ท.! ตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง
ย่อมเป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักประมาณที่พอเหมาะ รู้จักกาละ รู้จักบริษัท.
ตถาคตประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล จึงหมุน ธรรมจักรอันไม่มีจักรอื่น
ยิ่งกว่า ให้เป็นไปได้โดยธรรม, และจักรนั้นเป็นจักรที่สมณะ หรือพราหมณ์
เทวดา มารพรหม หรือใครๆ ในโลกไม่สามารถต้านทานให้หมุนกลับได้ ดังนี้.

บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๖/๑๓๑. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.

คำว่าจักร ย่อมหมายถึงอำนาจครอบงำ ซึ่งจะเป็นทางกายหรือทางจิต ย่อมแล้วแต่กรณี.


วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อดทน



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ที่อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่า เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ด้อยกว่าตนได้เราเรียกว่าความอดทนนั้นว่าสูงสุด





พุทธวัจน์






.

ผู้ติดตาม