วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถือไว้อย่างนั้น แล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้น ชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับเฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


http://etipitaka.com/read/thai/9/20/?keywords=%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558

ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น

[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อมิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังจะประสพบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี ด้วย
พยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของชนมาก เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังประสพบุญเป็นอันมาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย ฯ จบสมจิตตวรรคที่ ๔http://etipitaka.com/read/thai/20/65/?keywords=%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B

ปฏิรูป



ปฏิรูปสูตรที่ ๔ 
[๔๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ศาลาหลังหนึ่ง ในพราหมณคาม ในแคว้น โกศล ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคแวดล้อมด้วยคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่ทรงแสดงธรรมอยู่ ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดขึ้นว่า พระสมณโคดมนี้แวดล้อม ด้วยคฤหัสถ์ บริษัทหมู่ใหญ่ ทรงแสดงธรรมอยู่ ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปใกล้พระสมณโคดมถึงที่ประทับ เพื่อ การกำบังจักษุเถิด ฯ 
[๔๕๖] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น แล้ว จึงทูล ถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ท่านพร่ำสอนผู้อื่นด้วยสิ่งใด สิ่งนั้นไม่สมควรแก่ท่าน เมื่อท่านกล่าว ถึงธรรมนั้น อย่าได้ข้องอยู่ในความยินดียินร้าย ฯ

[๔๕๗] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าพระสัมพุทธเจ้ามีปรกติอนุเคราะห์ด้วยจิตอันเกื้อกูล 
ทรงพร่ำสอนผู้อื่น ด้วยสิ่งใด ตถาคตมีจิตหลุดพ้นจากความยินดียินร้ายในสิ่งนั้นแล้ว ฯ ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรง รู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ

http://etipitaka.com/search/

บุคคลมีจิตเหมือนฟ้าผ่า เป็นไฉน

บุคคลมีจิตเหมือนฟ้าผ่า เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งแล้วด้วยตนเอง ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติ ซึ่งปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ ในทิฏฐธรรม เหมือนแก้วมณีหรือแผ่นหิน อะไรชื่อว่าไม่แตก ย่อมไม่มี เมื่อฟ้าผ่าลงไป

ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ยิ่งแล้วด้วยตนเอง ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติ ซึ่งปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถ อยู่ในทิฏฐธรรม ก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือนฟ้าผ่า

บุคคลมีจิตเหมือนฟ้าแลบ

บุคคลมีจิตเหมือนฟ้าแลบ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็น จริงว่า นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์เหมือนบุรุษมีจักษุ พึงเห็นรูปทั้งหลายใน ระหว่างที่ฟ้าแลบในเวลามืดกลางคืนชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่านี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ก็ ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ



http://etipitaka.com/read/thai/36/128/?keywords=%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

บุคคลผู้โง่งมงาย

บุคคลผู้โง่งมงาย เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้กุศลธรรม อกุศลธรรม ย่อมไม่รู้สาวัชชธรรม อนวัชชธรรม ย่อมไม่รู้หีนธรรม ปณีตธรรม ย่อมไม่รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยของดำของขาว บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าผู้โง่งมงาย


http://etipitaka.com/read/thai/36/175/?keywords=%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81

บุคคลโลเล

บุคคลโลเล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธาไม่จริงจัง มีความภักดีไม่จริงจังมีความรักไม่จริงจัง มีความเลื่อมใสไม่จริงจัง บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าโลเล

http://etipitaka.com/read/thai/36/175/?keywords=%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81

ขึ้นชื่อว่ากรรม

เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาทรงเปล่งพระอุทานว่า :-
ความดีคนดีทำง่าย ความดีคนชั่วทำยาก,
ความชั่วคนชั่วทำง่าย ความชั่วอริยบุคคลทำได้ยาก แล้วตรัสว่า "อานนท์ ขึ้นชื่อว่ากรรมอัน ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนทำได้ง่าย กรรมอันเป็นประโยชน์แก่ตนทำยากนักหนา" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๗.
สุกรานิ อสาธูนิ 
อตฺตโน อหิตานิ จ
ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ
ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.

กรรมอันไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน คนทำง่าย;
กรรมใดแลเป็นประโยชน์แก่ตนและดี, กรรมนั้นแล
ทำยากอย่างยิ่ง.

































http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=22&p=7

http://www.search.ask.com/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97&apn_dtid=null&psv=null&v=null&d=null&t=null&trgb=null&locale=null&apn_ptnrs=null&ctype=videos&o=NULL&apn_uid=null&tpr=2&ts=1427354008175

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

ทุกข์อันไม่น่ายินดี ย่อมครอบงำคนผู้ประมาทโดยความเป็นของน่ายินดี



ทุกข์อันไม่น่ายินดี ย่อมครอบงำคนผู้ประมาทโดยความเป็นของน่ายินดี

ทุกข์อันไม่น่ารักย่อมครอบงำคนผู้ประมาทโดยความเป็นของน่ารัก

ทุกข์ย่อมครอบงำบุคคลผู้ประมาทโดยความเป็นสุข ฯ


ผู้ติดตาม