วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ภิกษุทั้งหลายจงรู้เห็นตามที่เป็นว่าไม่เห็นโทษย่อมไม่ถึงทางออก

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่รู้ด้วยจักษุตามที่มันเป็น เห็นรูปทั้งหลายตามที่มันเป็น รู้จักขุวิญญาณตามที่มันเป็น รู้เห็นจักขุสัมผัสตามที่มันเป็น รู้เห็นเวทนาอันเป็นสุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้นกับจักษุสัมผัส เป็นปัจจัยตามที่มันเป็น ย่อมไม่ติดพันในจักษุ ไม่ติดพันในรูป ไม่ติดพันในจักขุวิญญาณ ไม่ติดพันในจักขุสัมผัส ไม่ติดพันในเวทนา อันเป็นสุขหรือทุกข์ ที่เกิดขึ้นที่จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
  เมื่อไม่ติดพัน ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง รู้ทันเเละเห็นโทษตะหนักอยู่
อุปทานทั้งหลายย่อมไม่ก่อตัวพอกพูนต่อไป ลดลงไปเรื่อยๆ เมือนันทิราคะไม่เเส่ซ่าน ย่อมถูกละไปเรื่อยๆ ภพชาติใหม่ก็จะไม่เกิด

พระองค์ทรงรับรองสงฆ์บางรูปเท่านั้นที่เป็นคนของพระองค์

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเหล่าใด ที่เป็นคนหลอกลวง กระด้าง พูดพล่าม ยกตัว จองหอง ใจฟุ้งเฟ้อ ภิกษุเหล่านั้นไม่ใช่คนของเรา ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นได้ออกจากพระธรรมวินัยเสียแล้วย่อมไม่ถึงแห่งความเจริญและไพบูลย์งอกงาม ในธรรมวินัยได้เลย



พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ แปลโดยพุทธทาสภิกขุ

การอบรมอินทรีย์(อินทรีภาวนาที่ยอดเยี่ยม)

ดูกรณ์ ! อานนท์ การอบรมอินทรีย์ภาวนาที่ยอดเยี่ยมเป็นอย่างไรเล่า  เพราะเห็นด้วยตา เพราะได้ยินด้วยหู เพราะได้กลิ่นด้วยจมูก เพราะรู้รสด้วยลิ้น เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย เพราะรู้ธรรมมารมณ์ด้วยใจ ย่อมเกิดชอบใจบ้างไม่ชอบใจบ้าง แก่ภิกษุ เธอจงเข้าใจดังนี้ว่าความชอบใจไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นนี้เป็นสิ่งปรุงแต่ง เป็นธรรมหยาบ เป็นของอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ภาวะต่อไปนี้จึงเกิดความสงบนิ่ง นั่นคืออุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) ทั้งนั้นความชอบใจไม่ชอบใจจึงดับไปอุเบกขาจึงตั่งมั่น

ภิกษุทั้งหลาย  ผู้ที่รู้เห็นจักษุตามที่มันเป็นไป รู้เห็นรูปตามที่มันเป็นไป
รู้เห็นจักขุวิญญาณตามที่มันเป็นไป
รู้เห็นจักษุสัมผัสตามที่มันเป้นไป
รู้เห็นเวทนาอันเป็นสุขหรือทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์รู้เท่าทันโทษเเตระหนักอยู่
ตัญหาอันเป้นตัวก่อภพใหม่ อันประกอบด้วยนันทิราคะก็จะถูกละไปด้วย

อย่างไรจึงจะชื่อว่าได้อยู่ด้วยความไม่ประมาท

ภิกษุ! ทั้งหลายอย่างไรจึงจะชื่อว่าอยู่ด้วยความไม่ประมาท  เมื่อภิกษุทั้งหลายสังวรจักขุนทรีย์ จิตย่อมไม่แส่ซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้ด้วยจักษุ เมื่อจิตไม่แส่ซ่าน ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อปราโมทย์แล้วปีติก็เกิด เมื่อใจปีติกายก็สงบระงับ ผู้มีกายสงบย่อมเป็นสุข ผู้มีจิตสุขย่อมได้สมาธิ เมื่อสมาธิเกิดธรรมก็ปรากฏ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท

จากหนังสือพุทธธรรม พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)

ผู้ติดตาม