วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เกียรติคุณความดีงามของสัตตบุรุษ

ดูกรณ์ภิกษุทั้งหลาย กลิ่นดอกไม้กลิ่นจันทน์
ไม่สามารถหอมหวนทวนลมได้
 แต่กลิ่นแห่งเกียรติคุณความดีงามของสัตตบุรุษ
นั้นแล สามารถจะหอม ไปได้ทั้งตามลม
และทวนลมคนดีย่อมมี
เกียรติคุณฟุ้งขจรไปได้ทั่วทิศ


------พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน-----------
  •  

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เราเป็นผู้ถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว

สุตตนิบาต - ๔. อัฏฐกวรรค - ๑๕. อัตตทัณฑสูตร
อัตตทัณฑสูตรที่ ๑๕
 ภัยเกิดแล้วแต่อาชญาของตน ท่านทั้งหลายจงเห็นคนผู้ทะเลาะกัน
เราจักแสดงความสลดใจตามที่เราได้สลดใจมาแล้ว เราได้เห็นหมู่สัตว์
กำลังดิ้นรนอยู่ (ด้วยตัณหาและทิฐิ) เหมือนปลาในแอ่งน้ำน้อย ฉะนั้น
ภัยได้เข้ามาถึงเราแล้ว เพราะได้เห็นคนทั้งหลายผู้พิโรธกันและกัน โลก
โดยรอบหาแก่นสารมิได้ ทิศทั้งปวงหวั่นไหวแล้ว เราปรารถนาความ
ต้านทานแก่ตนอยู่ ไม่ได้เห็นสถานที่อะไรๆอันทุกข์มีชราเป็นต้น
ไม่ครอบงำแล้ว เราไม่ได้มีความยินดีเพราะได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย
ผู้อันทุกข์มีชราเป็นต้นกระทบแล้วผู้ถึงความพินาศ อนึ่ง เราได้เห็น
กิเลสดุจลูกศรมีราคะเป็นต้นยากที่สัตว์จะเห็นได้ อันอาศัยหทัยในสัตว์
เหล่านี้ สัตว์ถูกกิเลสดุจลูกศรมีราคะเป็นต้นใดเสียบติดอยู่แล้ว ย่อม
แล่นไปยังทิศทั้งปวง บัณฑิตถอนกิเลสดุจลูกศรมีราคะเป็นต้นนั้นออก
ได้แล้ว ย่อมไม่แล่นไปยังทิศและไม่จมลงในโอฆะทั้งสี่ (อารมณ์ที่น่า
ยินดีเหล่าใดมีอยู่ในโลก) หมู่มนุษย์ย่อมพากันเล่าเรียนศิลป เพื่อให้ได้
ซึ่งอารมณ์ที่น่ายินดีเหล่านั้นกุลบุตรผู้เป็นบัณฑิต ไม่พึงขวนขวายใน
อารมณ์ที่น่ายินดีเหล่านั้น พึงเบื่อหน่ายกามทั้งหลายโดยประการทั้งปวง
แล้วพึงศึกษานิพพานของตน มุนีพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนองไม่มี
มายา ละการส่อเสียดเสีย เป็นผู้ไม่โกรธ พึงข้ามความโลภอันลามก
และความตระหนี่เสีย นรชนพึงครอบงำความหลับ ความเกียจคร้าน
ความท้อแท้เสีย ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยความประมาท ไม่พึงดำรงอยู่ในการ
ดูหมิ่นผู้อื่น พึงมีใจน้อมไปในนิพพาน ไม่พึงน้อมไปในการกล่าวมุสา
ไม่พึงกระทำความเสน่หาในรูปและพึงกำหนดรู้ความถือตัว พึงเว้นเสีย
จากความผลุนผลันแล้วเที่ยวไป ไม่พึงเพลิดเพลินถึงอารมณ์ที่ล่วง
มาแล้ว ไม่พึงกระทำความพอใจในอารมณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าไม่พึง
เศร้าโศกถึงอารมณ์ที่กำลังละไปอยู่ ไม่พึงเป็นผู้อาศัยตัณหา เรากล่าว
ความกำหนัดยินดีว่าเป็นโอฆะอันใหญ่หลวงกล่าวตัณหาว่า เป็นเครื่อง
กระซิบใจ ทำใจให้แล่นไปในอารมณ์ต่างๆ กล่าวตัณหาว่าเป็นอารมณ์
แอบใจทำใจให้กำเริบ เปือกตมคือกามยากที่สัตว์จะล่วงไปได้ พราหมณ์
ผู้เป็นมุนี ไม่ปลีกออกจากสัจจะแล้ว ย่อมตั้งอยู่บนบกคือ นิพพาน
มุนีนั้นแล สละคืนอายตนะทั้งหมดแล้วโดยประการทั้งปวง เรากล่าวว่า
เป็นผู้สงบ มุนีนั้นแลเป็นผู้รู้เป็นผู้ถึงเวท รู้สังขตธรรมแล้วอัน
ตัณหาและทิฐิไม่อาศัยเป็นอยู่ในโลกโดยชอบ ย่อมไม่ทะเยอทะยาน
ต่ออะไรๆในโลกนี้ ผู้ใดข้ามกามทั้งหลาย และธรรมเป็นเครื่อง
ข้องยากที่สัตว์จะล่วงได้ในโลกนี้ได้แล้ว ผู้นั้นตัดกระแสตัณหาขาดแล้ว
ไม่มีเครื่องผูกพัน ย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็งท่านจงทำกิเลสชาติ
เครื่องกังวลในอดีตให้เหือดแห้ง กิเลสชาติเครื่องกังวลในอนาคตอย่า
ได้มีแก่ท่าน ถ้าว่าท่านจักไม่ถือเอาในปัจจุบันไซร้ ท่านจักเป็นผู้สงบ
เที่ยวไป ผู้ใดไม่มีความยึดถือในนามรูปว่าเป็นของเราโดยประการ
ทั้งปวง และไม่เศร้าโศกเพราะเหตุแห่งนามรูปอันไม่มี ผู้นั้นแล
ย่อมไม่เสื่อมในโลก ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา
และว่า สิ่งนี้ของผู้อื่น ผู้นั้นไม่ประสบการยึดถือในสิ่งนั้นว่าเป็นของ
เราอยู่ ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี บุคคลใดย่อมไม่เศร้าโศกว่า
ของเราไม่มี เราเป็นผู้ถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว จะบอก
อานิสงส์ ๔ อย่างในบุคคลนั้น ดังนี้ว่าบุคคลนั้นไม่มีความขวนขวาย
ไม่กำหนัดยินดี ไม่มีความหวั่นไหวเป็นผู้เสมอในอารมณ์ทั้งปวง
ธรรมชาติเครื่องปรุงแต่งอะไรๆ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่หวั่นไหวผู้รู้แจ้ง ผู้นั้น
เว้นแล้วจากการปรารภมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ย่อมเห็นความปลอด
โปร่งในที่ทุกสถาน มุนีย่อมไม่กล่าวยกย่องตนในบุคคลผู้เสมอกัน
ผู้ต่ำกว่า ผู้สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่
ยึดถือ ไม่สละธรรมอะไรๆในบรรดาธรรมมีรูปเป็นต้น ฯ
จบอัตตทัณฑสูตรที่ ๑๕
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%95_-_%E0%B9%94._%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_-_%E0%B9%91%E0%B9%95._%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สันทิฏฐิโก เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาจะถึงรู้ด้วยตนเอง

“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ ฟังเสียงด้วยหู.... ดมกลิ่นด้วยจมูก.... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย.... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว.... เป็นผู้เสวยรูปเป็นต้นนั้น แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูปเป็นต้นนั้น และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด รูปเป็นต้น อันมีอยู่ภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในรูปเป็นต้นในภายใน อาการที่ภิกษุ.... รู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปเป็นต้น อันมีในภายในว่าเรามีความกำหนัดในรูปเป็นต้นในภายใน... และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปเป็นต้นอันไม่มีในภายใน ว่าเราไม่มีความกำหนัด ในภายใน อย่างนี้แลชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ศึกษาจะถึงรู้ด้วยตนเอง....”

อุปวาณสูตร สฬา. สํ. (๗๙-๘๒)
ตบ. ๑๘ : ๕๐-๕๑ ตท. ๑๘ : ๔๐-๔๑
ตอ. K.S. ๔ : ๒๑-๒๒


http://www.84000.org/true/355.html

นี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์

"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์แปด ประเสริฐสุด บรรดาบททั้งหลาย บทสี่คืออริยสัจ ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ คือ การปราศจากความกำหนัดยินดีประเสริฐที่สุด บรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้า ผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด

มรรคมีองค์แปด นี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์แปด นี้ อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติ เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป ความเพียรพยายามเธอทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติตนดังนี้ พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร"


          มรรค8
 
  1. สัมมาทิฏฐิ
  2. สัมมาสังกัปปะ
  3. สัมมาวาจา
  4. สัมมากัมมันตะ
  5. สัมมาอาชีวะ
  6. สัมมาวายามะ
  7. สัมมาสติ
  8. สัมมาสมาธิ


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สวรรค์ชั้นยามา

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้วฃยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความจริงอันประเสริฐ

ภิกษุทั้งหลาย   นี้แลคือความจริงอันประเสริฐเรื่องการทำให้สัตว์ดับไม่เหลือแห่งทุกข์
คือข้อปฏิบัติเหมือนหนทางอันประเสริฐประกอบด้วยองค์ 8 ประการคือ



  
  1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง เห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
  2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
  3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
  4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
  5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
  6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
  7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอจิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
  8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ ทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มัจฉริยะสูตร

 [๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่) ๑ กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล) ๑ ลาภ-
*มัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) ๑ วรรณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ) ๑ ธรรมมัจฉริยะ
(ตระหนี่ธรรม) ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละ
มัจฉริยะ ๕ ประการนี้แล ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=9829&Z=9836

ผู้ติดตาม