วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ธรรมบท ๔ ข้อ คือ อนภิชฌา อพยาบาท สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ปริพาชกทั้งหลาย  ธรรมบท  ๔  ข้อนี้  ปรากฏว่าเป็นข้อธรรมอันเลิศ
ฯลฯ   สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว    ธรรมบท  ๔  ข้อคือ
อะไรบ้าง  คือ  อนภิชฌา  อพยาบาท   สัมมาสติ   สัมมาสมาธิ   นี้แล
ธรรมบท ๔ ข้อที่ปรากฏว่าเป็นข้อธรรมอันเลิศ ฯลฯ  สมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว.

ปริพาชกทั้งหลาย     ผู้ใดมาสำคัญเห็นธรรมบท  ๔  ข้อนี้ว่าเป็นข้อ
ควรติควรคัดค้าน   ผู้นั้นย่อมได้รับคำติฉินอันสมแก่เหตุ   ตกอยู่ในฐานะอันน่า
ติเตียน ๔  ประการในปัจจุบันนี้   ๔  ประการคืออะไรบ้าง  คือ

ถ้าผู้นั้นติเตียนคัดค้านธรรมบทคืออนภิชฌาไซร้  สมณะหรือพราหมณ์  
เหล่าใด  เป็นผู้มีอภิชฌามีความกำหนัดกล้าในกามทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นก็ต้องเป็นที่บูชา...  เป็นที่ยกย่องของผู้นั้น
          ถ้าผู้นั้นติเตียนคัดค้านธรรมบทคืออพยาบาทไซร้  สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใด  เป็นผู้มีจิตพยาบาทมีใจดุร้าย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ต้องเป็น
ที่บูชา . . .  เป็นที่ยกย่องของผู้นั้น
          ถ้าผู้นั้นติเตียนคัดค้านธรรมบทคือสัมมาสติไซร้  สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเป็นผู้หลงลืมสติไม่มีสัมปชัญญะ     สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ต้อง
เป็นที่บูชา. . .  เป็นที่ยกย่องของผู้นั้น
           ถ้าผู้นั้นติเตียนคัดค้านธรรมบทคือสัมมาสมาธิไซร้        สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้ไม่มีสมาธิ     มีจิตหมุนไปผิด     สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นก็ต้องเป็นที่บูชา. . .  เป็นที่ยกย่องของผู้นั้น
           ผู้ใดมาสำคัญเห็นธรรมบท  ๔  ข้อนี้ว่าเป็นข้อควรติควรคัดค้าน ผู้นั้น
ย่อมได้รับคำติฉินอันสมแก่เหตุ  ตกอยู่ในฐานะที่น่าติเตียน ๔ ประการนี้   ใน
ปัจจุบันนี่แล
           ปริพาชกทั้งหลาย    แม้แต่ปริพาชกชื่อวัสสะและภัญญะ      ชาวชนบท
อุกกละ  ผู้เป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ  ยังไม่สำคัญเห็นธรรมบท
๔ ข้อนี้ว่าเป็นข้อควรติควรคัดค้าน  นั่นเพราะเหตุอะไร   เพราะกลัวถูกนินทา
ว่าร้ายและเกลียดชัง
                                   ผู้ไม่พยาบาท    มีสติทุกเมื่อ   มีใจ
                           ตั้งมั่นในกายใน  ศึกษาในอันกำจัดอภิชฌา
                    เรียกว่าผู้ไม่ประมาท. 
                                               จบปริพาชกสูตรที่  ๑๐
                                                  จบอุรุเวลวรรคที่  ๓

ผู้เรียกว่าผู้ไม่ประมาท.

ผู้ไม่พยาบาท    มีสติทุกเมื่อ   มีใจ

ตั้งมั่นในกาย ในศึกษา ในอันกำจัดอภิชฌา
                     เรียกว่าผู้ไม่ประมาท. 


ว่าด้วยตรัสธรรม  ๔  แก่ปริพาชก


                                          จบปริพาชกสูตรที่  ๑๐

                                                  จบอุรุเวลวรรคที่  ๓

ผู้ติดตาม