วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เบ็ดและเหยื่อเป็นชื่อของลาภสักการะ

ภิกษุทั้งหลาย! พรานเบ็ดเป็นชื่อของมารใจบาป เบ็ดและเหยื่อเป็นชื่อของลาภสักการะ และ ชื่อเสียง ภิกษุบางรูปยินดีพอใจในลาภสักการะ และ ชื่อเสียง ที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า กลืนเบ็ดของมาร ได้รับทุกข์ถึงความพินาศ

พระสัทธรรมขจัดมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด ) ให้อันตรธานหายไปจนหมดสิ้น



ดูกร.....สัจจกนิครนถ์ บุญกุศลที่ท่านได้บำเพ็ญใน

ภพนี้ จักไม่สูญหายไปพร้อมกับ การดับของจิต เพราะจิต

ดวงใหม่มีเหตุมีปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม
เพื่อสืบต่อบุญที่

ท่านสั่งสมไว้ ไปจนกว่าจะนิพพาน

http://www.oknation.net/blog/NVC/2011/01/20/entry-1

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีสร้างอิทธิฤทธิ์

“.....ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝ่ากำแพง ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์...ก็ได้”
“ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่าเราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์... ถ้าภิกษุจะถึงหวังว่าเราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่าเราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือพึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง.... พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง .... ว่าในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้.....
“ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม... ด้วยประการฉะนี้เถิด ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารฯ”อากังเขยยสูตร มู. ม. (๘๕-๘๙)
ตบ. ๑๒ : ๖๐-๖๓ ตท.๑๒ : ๕๑-๕๓
ตอ. MLS. I : ๔๓-๔๔

*อิทธิฤทธิ์
ความหมาย

น. อํานาจศักดิ์สิทธิ์; (ปาก) อำนาจ.

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แสดงอริยธรรมและอนริยธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอริยธรรมและอนริยธรรม
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
อนริยธรรมเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าอนริยธรรม ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยธรรมเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่า
อริยธรรม ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=5671&Z=5678


civilization
 
 
barbarism
อารยธรรม, ความเจริญ, ศิวิไลซ์
 
ความป่าเถื่อน, อนารยธรรม
savagery
ความดุร้าย, ความป่าเถื่อน, ความโหดเหี้ยม, ความอำมหิต, ความทารุณ, อนารยธรรม
baseness
ความเลว, ความเลวทราม, ความต่ำช้า, อนารยธรรม, สิ่งโสโครก

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พระปัจเจกพุทธเจ้า

พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ในคัมภีร์ปัจเจกพุทธาปธานว่า "ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย"
พระปัจเจกพุทธเจ้า (บาลี: ปจฺเจกพุทฺธ, สันสกฤต: ปฺรตฺเยกพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยกำไรแสนกัป และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นพระพุทธศาสนา และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้) ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานให้ท่าน จะอุบัติขึ้นในช่วงพุทธันดร กล่าวคือ เป็นช่วงเวลาที่โลกว่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ จึงไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละองค์มีประวัติคล้ายกัน คือ เป็นมาจากกษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดี ในสมัยโบราณที่เบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติ ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่เขาคันธมาทน์กูฏ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งของเทือกเขาหิมพานต์หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ
คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี ๒ นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อหังการ มมังการ และมานานุสัย

“.....ดูก่อนราธะ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ใกล้หรือไกล อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็น รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามคามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อน ราธะ บุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก...”
ราธสูตร ขันธ. สํ. (๑๔๗)
ตบ. ๑๗ : ๙๘ ตท. ๑๗ : ๘๗-๘๘
ตอ. K.S. ๓ : ๑๗ : (๙) ๖๖-๖๗

http://www.84000.org/true/306.html

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการคือ

 “ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการคือ
๑. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมาดังนี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๑ นี้
๒. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๒ นี้
๓. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๓ นี้
๔. สัตว์นั้นเมื่อเขากำลังฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๔ นี้
๕. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๕ นี้



*วัตถุเป็นกัปปิยะ และอกัปปิยะ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสประทาน
สำหรับอ้าง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้:-
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่
ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร
ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่
ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่ง
ที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
ขอบเขตของพุทธอาณานี้ จะกว้างขวาง ครบคลุมสังวรศีล 227 ข้อ

*โทมนัส
[โทม-มะ-นัด] (มค. โทมนสฺส) น. ความเศร้าใจ, ความเสียใจ, ความเป็นทุกข์ใจ.

เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้

ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการคือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น ๑ เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน ๑ เนื้อที่ตนไม่รังเกียจ ๑
ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้”

รูปใดฉันเนื้อที่ไม่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ เป็นอาบัติทุกกฎ รูปใดฉันเนื้อมนุษย์เป็นอาบัติถุลลัจจัย รูปใดฉันเนื้อต้องห้าม ๙ อย่างที่เหลือ เป็นอาบัติทุกกฎ

http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=30

*เนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ คือโดยไม่เห็น ๑ โดยไม่ได้ยิน ๑ และโดยไม่สงสัย ๑
อาบัติ แปลว่า การต้อง, การล่วงละเมิด หมายถึงโทษที่เกิดจาการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ ใช้เรียกความผิดทางวินัยของพระภิกษุว่า ต้องอาบัติ

อาบัติ มี 7 อย่าง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. ครุกาบัติ หมายถึงอาบัติหนัก อาบัติที่มีโทษร้ายแรง มี 2 อย่างคือ อาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส
2. ลหุกาบัติ หมายถึงอาบัติเบา อาบัติที่ไม่มีโทษร้ายแรงเท่าครุกาบัติ มี 5 อย่าง คือ อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฎ อาบัติทุพภาสิต

การปฏิบัติตนเพื่อแก้อาบัตินั้นมีต่างๆ กันไป สุดแท้แต่ความหนักเบาของศีลที่อาบัติ มีตั้งแต่การประกาศความผิดของตนต่อภิกษุอื่น การอยู่ในบริเวณจำกัดเฉพาะเพื่อสำนึกผิด จนถึงการขาดจากความเป็นภิกษุ เช่น ภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกจะต้องสึกออกไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ไม่สามารถดำรงเพศเป็นภิกษุต่อไปอีกได้

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ธรรมเจดีย์

ธรรมเจดีย์ คือ พระวาจาเคารพธรรม เธอทั้งหลายจงเรียนธรรมเจดีย์นี้ไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเจดีย์นี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์”

ผู้ติดตาม