วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

จงอย่าตีเสมอผู้มีกรุณาวางคนได้ยก(เขา)ไว้ในฐานะ


 ความโกรธอันเกิดมาจากอาฆาต-วัตถุ  ๑๐  อย่าง 
ความผูกโกรธ    อันครอบคลุมจิตบ่อย  ๆ   
ก็ฉันนั้นความลบหลู่ อันการทำสิ่งที่เขาทำดีแล้วให้พินาศไป
ไม่ว่าของคฤหัสถ์หรือของบรรพชิต   (มีลักษณะเหมือนกัน)  
อธิบายว่า  ฝ่ายคฤหัสถ์ (เดิมที)
เป็นคนขัดสน  (ครั้นแล้ว)
ผู้มีกรุณาลางคนได้ยก (เขา) ไว้ในฐานะ ที่สูงส่ง   
 ต่อมา (เขากลับกล่าวว่า)ท่านทำอะไรให้ข้าพเจ้าชื่อว่า
ทำลายความดีที่คนผู้กรุณานั้นทำไว้แล้วให้พินาศไป       

ฝ่ายบรรพชิตแล จำเดิมแต่สมัยเป็นสามเณรน้อย
  อันอาจารย์หรืออุปัชฌาย์ท่านใดท่านหนึ่ง อนุเคราะห์
ด้วยปัจจัย ๔ และด้วยอุทเทศและปริปุจฉา  
 ให้สำเหนียกความ เป็นผู้ฉลาดในปกรณ์เป็นต้น 
 ด้วยธรรมกถา สมัยต่อมา อันพระราชา
และ ราชมหาอำมาตย์เป็นต้น   
 สักการะเคารพแล้ว (เธอ) กลับขาดความ



ยำเกรงในอาจารย์และอุปัชฌาย์เที่ยวไป อันอาจารย์เป็นต้นกล่าวว่า ผู้นี้
สมัยเขาเป็นเด็ก เราทั้งหลายช่วยอนุเคราะห์และส่งเสริมให้ก้าวหน้าอย่างนี้
ก็แต่ว่าบัดนี้ เขาไม่น่ารักเสียแล้ว ก็กล่าว ว่า พวกท่านทำอะไรให้ผม ดังนี้
ชื่อว่า ทำลายความดีที่อุปัชฌาย์และอาจารย์เหล่านั้น ทำแล้วให้พินาศไป

ความลบหลู่ที่ทำความดีที่ท่านทำไว้แล้วให้พินาศไป ของบรรพชิตนั้นย่อม
เกิดขึ้นทำร้ายจิต คือไม่ให้จิตผ่องใส เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
 เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ดังนี้. เหมือนอย่างว่า ความลบหลู่นี้เป็นฉันใด
การตีเสมอ (ซึ่งได้แก่) การถือเป็นคู่แข่ง ก็ฉันนั้น เกิดขึ้นลามไปอ้างถึงบุคคล
แม้เป็นพหูสูต โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านผู้เป็นพหูสูตเช่นนี้ ยังมีคติไม่แน่นอน(แล้ว)
ท่านกับผมจะมีอะไรวิเศษเล่า ความริษยา ได้แก่การนึกตำหนิสักการะ
เป็นต้นของคนอื่น.ความตระหนี่ ได้แก่(การที่ )ทนไม่ได้ที่สมบัติ
ของตนมีคนอื่นร่วมใช้สอย มายา ได้แก่กิริยาที่เป็นการประพฤติ หลอกลวง.
 ความโอ้อวดเกิดขึ้นโดย(ทำให้)เป็นคนคุยโต.จริงอยู่ คนคุย
โตย่อมเป็นเหมือนปลาอานนท์.





ผู้ติดตาม