วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถือไว้อย่างนั้น แล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้น ชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับเฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


http://etipitaka.com/read/thai/9/20/?keywords=%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558

ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น

[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อมิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังจะประสพบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี ด้วย
พยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของชนมาก เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังประสพบุญเป็นอันมาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย ฯ จบสมจิตตวรรคที่ ๔http://etipitaka.com/read/thai/20/65/?keywords=%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B

ปฏิรูป



ปฏิรูปสูตรที่ ๔ 
[๔๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ศาลาหลังหนึ่ง ในพราหมณคาม ในแคว้น โกศล ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคแวดล้อมด้วยคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่ทรงแสดงธรรมอยู่ ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดขึ้นว่า พระสมณโคดมนี้แวดล้อม ด้วยคฤหัสถ์ บริษัทหมู่ใหญ่ ทรงแสดงธรรมอยู่ ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปใกล้พระสมณโคดมถึงที่ประทับ เพื่อ การกำบังจักษุเถิด ฯ 
[๔๕๖] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น แล้ว จึงทูล ถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ท่านพร่ำสอนผู้อื่นด้วยสิ่งใด สิ่งนั้นไม่สมควรแก่ท่าน เมื่อท่านกล่าว ถึงธรรมนั้น อย่าได้ข้องอยู่ในความยินดียินร้าย ฯ

[๔๕๗] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าพระสัมพุทธเจ้ามีปรกติอนุเคราะห์ด้วยจิตอันเกื้อกูล 
ทรงพร่ำสอนผู้อื่น ด้วยสิ่งใด ตถาคตมีจิตหลุดพ้นจากความยินดียินร้ายในสิ่งนั้นแล้ว ฯ ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรง รู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ

http://etipitaka.com/search/

บุคคลมีจิตเหมือนฟ้าผ่า เป็นไฉน

บุคคลมีจิตเหมือนฟ้าผ่า เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งแล้วด้วยตนเอง ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติ ซึ่งปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ ในทิฏฐธรรม เหมือนแก้วมณีหรือแผ่นหิน อะไรชื่อว่าไม่แตก ย่อมไม่มี เมื่อฟ้าผ่าลงไป

ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ยิ่งแล้วด้วยตนเอง ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติ ซึ่งปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถ อยู่ในทิฏฐธรรม ก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือนฟ้าผ่า

บุคคลมีจิตเหมือนฟ้าแลบ

บุคคลมีจิตเหมือนฟ้าแลบ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็น จริงว่า นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์เหมือนบุรุษมีจักษุ พึงเห็นรูปทั้งหลายใน ระหว่างที่ฟ้าแลบในเวลามืดกลางคืนชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่านี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ก็ ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ



http://etipitaka.com/read/thai/36/128/?keywords=%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

บุคคลผู้โง่งมงาย

บุคคลผู้โง่งมงาย เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้กุศลธรรม อกุศลธรรม ย่อมไม่รู้สาวัชชธรรม อนวัชชธรรม ย่อมไม่รู้หีนธรรม ปณีตธรรม ย่อมไม่รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยของดำของขาว บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าผู้โง่งมงาย


http://etipitaka.com/read/thai/36/175/?keywords=%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81

บุคคลโลเล

บุคคลโลเล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธาไม่จริงจัง มีความภักดีไม่จริงจังมีความรักไม่จริงจัง มีความเลื่อมใสไม่จริงจัง บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าโลเล

http://etipitaka.com/read/thai/36/175/?keywords=%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81

ขึ้นชื่อว่ากรรม

เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาทรงเปล่งพระอุทานว่า :-
ความดีคนดีทำง่าย ความดีคนชั่วทำยาก,
ความชั่วคนชั่วทำง่าย ความชั่วอริยบุคคลทำได้ยาก แล้วตรัสว่า "อานนท์ ขึ้นชื่อว่ากรรมอัน ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนทำได้ง่าย กรรมอันเป็นประโยชน์แก่ตนทำยากนักหนา" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๗.
สุกรานิ อสาธูนิ 
อตฺตโน อหิตานิ จ
ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ
ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.

กรรมอันไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน คนทำง่าย;
กรรมใดแลเป็นประโยชน์แก่ตนและดี, กรรมนั้นแล
ทำยากอย่างยิ่ง.

































http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=22&p=7

http://www.search.ask.com/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97&apn_dtid=null&psv=null&v=null&d=null&t=null&trgb=null&locale=null&apn_ptnrs=null&ctype=videos&o=NULL&apn_uid=null&tpr=2&ts=1427354008175

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

ทุกข์อันไม่น่ายินดี ย่อมครอบงำคนผู้ประมาทโดยความเป็นของน่ายินดี



ทุกข์อันไม่น่ายินดี ย่อมครอบงำคนผู้ประมาทโดยความเป็นของน่ายินดี

ทุกข์อันไม่น่ารักย่อมครอบงำคนผู้ประมาทโดยความเป็นของน่ารัก

ทุกข์ย่อมครอบงำบุคคลผู้ประมาทโดยความเป็นสุข ฯ


วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความร้อนที่ยิ่งใหญ่

ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อน ยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก แต่ในบัดนี้เท่านั้น หรือแม้เมื่อก่อนไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก? ท่านพระโคดม ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความเร่าร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก ทั้งในบัดนี้ และแม้เมื่อก่อน ไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก แต่ว่าบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก ถูกกิมิชาติบ่อน เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ มีอินทรีย์อันโรคกำจัดเสียแล้วโน้น กลับได้ความสำคัญผิดในไฟนี้อันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้นแลว่า เป็นสุขไป. ดูกรมาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตกาลก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก ถึงในอนาคตกาลกามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก แม้ในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนเกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ มีอินทรีย์อันโทษกำจัด แล้ว กลับได้ความสำคัญผิดในกามอันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้นแลว่า เป็นสุขไป.

http://etipitaka.com/read?keywords=ความยิ่งใหญ่&language=thai&number=215&volume=13#

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เครื่องปรุงแต่งภพ

[๙๖] มุนีปลงเสียได้แล้วซึ่งกรรมที่ชั่งได้ และกรรมที่ชั่งไม่ได้ อันเป็นเหตุสมภพ เป็นเครื่องปรุงแต่งภพ และได้ยินดีในภายใน มีจิตตั้งมั่น ทำลายกิเลสที่เกิดในตนเสีย เหมือนนักรบ ทำลายเกราะฉะนั้น ฯ


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๙๐/๒๖๑ข้อที่ ๙๖-๙๘
http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87&language=thai&number=90&volume=10

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความตระหนี่ ๕ ประการ


คำว่า ความหวงแหน
ได้แก่ ความตระหนี่ ๕ ประการ
คือ
ความตระหนี่ที่อยู่
ความตระหนี่ตระกูล
ความตระหนี่ลาภ
ความตระหนี่วรรณะ
ความตระหนี่ธรรม

ความตระหนี่เห็นปานนี้ อาการที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่างๆ
ความเหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ใน
การให้ นี้เรียกว่าความตระหนี่. อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความ
ตระหนี่อายตนะก็ดี นี้เรียกว่าความตระหนี่. ความมุ่งจะเอาก็เรียกว่าความตระหนี่.


http://etipitaka.com/read?keywords=มิตร+ความหมาย&language=thai&number=118&volume=29#

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม3ประการผู้เป็นบัณฑิตและบุคคลผู้ประกอบธรรม3ประการว่าเป็นคนพาล


ลักขณสูตร
[๔๔๑] ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด บัณฑิตมีกรรมเป็น
เครื่องกำหนด ปัญญางดงามในความประพฤติเนืองๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นคนพาล
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ
กายทุจริต ๑
วจีทุจริต ๑
มโนทุจริต ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึง
ทราบว่าเป็นคนพาล

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต

ธรรม ๓ ประการเป็นไฉนคือ
กายสุจริต ๑
วจีสุจริต ๑
มโนสุจริต ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
แหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึง
รู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้นบุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
เหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต เราจักประพฤติสมาทานธรรม ๓ ประการนั้น ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้้แลฯ


http://etipitaka.com/read?keywords=ภยสูตร&language=thai&number=95&volume=20#

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ปาณาติบาต


ภิกษุทั้งหลาย ! ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งปาณาติบาตของมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวงคือ วิบากที่เป็นไปเพื่อมีอายุสั้น. อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๕๑/๑๓๐. http://www.youtube.com/watch?v=VJ-4daA2gQs

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

ผู้แบกของหนัก

ภิกษุ ท.! เราจักแสดงของหนัก ผู้แบกของหนัก และการแบก
ของหนัก.... แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟังข้อความนั้น.

ภิกษุ ท.! อะไรเล่า ชื่อว่า ของหนัก? ภิกษุ ท.! อุปาทานัก-
ขันธ์ทั้งห้านั้นแหละ เรากล่าวว่าเป็นของหนัก. อุปาทานนักขันธ์ทั้งห้าเหล่าไหน
เล่า? ห้าคือ :- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความ ยึดมั่นคือ รูป, ขันธ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ เวทนา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สัญญา,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สังขาร, และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ยึดมั่นคือ วิญญาณ. ภิกษุ ท.! นี้ เราเรียกว่าของหนัก.

ภิกษุ ท.! อะไรเล่า ชื่อว่า ผู้แบกของหนัก? ภิกษุ ท.! บุคคล
(ตามสมมติ) นั้นแหละ เราเรียกว่า ผู้แบกของหนัก. เขามีชื่ออย่างนี้ มี
โคตรอย่างนั้น ตามที่รู้กันอยู่. ภิกษุ ท.! นี้ เราเรียกว่า ผู้แบกของหนัก.

ภิกษุ ท.! อ ะไรเล่า ชื่อ ว่า ก ารแ บ ก ข อ งห นัก ? ภิกษุ ท.!
ตัณหานี้ใด ที่ทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจแห่ง
ความเพลิน ซึ่งมีปรกติทำ ให้เพลิดเพลินในอารมณ ์นั้น ๆ, ได้แก่ ตัณ หาใน
กาม ตัณ หาในความมีความเป็น ตัณ หาในความไม่มีไม่เป็น. ภิกษุ ท.! นี้
เราเรียกว่า การแบกของหนัก.


- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๒/๔๙-๕๑.

ขอบคุณข้อมูลจาก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1336/index.html

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัญหา

สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา
[๕๑] คำว่า เราย่อมเห็น.... ดิ้นรนอยู่ในโลก มีความว่า
คำว่า ย่อมเห็น คือ ย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู
ด้วยมังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง ปัญญาจักษุบ้าง พุทธจักษุบ้าง สมันตจักษุบ้าง
คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก
ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก.
คำว่า ดิ้นรนอยู่ คือ เราย่อมเห็น ย่อมแลดู. ตรวจดู เพ่งดู
พิจารณาดู ซึ่งหมู่สัตว์นี้ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว
เอนเอียง กระสับกระส่ายอยู่
ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา
ด้วยความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ
ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลส
ด้วยความดิ้นรนเพราะความประกอบ
ด้วยความดิ้นรนเพราะผลกรรม
ด้วยความดิ้นรนเพราะทุจริต
ด้วยราคะของผู้กำหนัด
ด้วยโทสะของผู้ขัดเคือง
ด้วยโมหะของผู้หลงแล้ว
ด้วยมานะเป็นเครื่องผูกพัน
ด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้
ด้วยความฟุ้งซ่านที่ฟุ้งแล้ว
ด้วยความสงสัยที่ไม่แน่ใจ
ด้วยอนุสัยที่ถึงกำลังด้วยลาภ  ด้วยความเสื่อมลาภด้วยยศ ด้วยความเสื่อมยศ
ด้วยสรรเสริญ ด้วยนินทา  ด้วยสุข  ด้วยทุกข์
ด้วยชาติ ด้วยชรา ด้วยพยาธิ ด้วยมรณะ ด้วยโสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
ด้วยทุกข์คือความเกิดในนรก ด้วยทุกข์คือความเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ด้วยทุกข์คือความเกิดในวิสัยแห่งเปรต
ด้วยทุกข์คือความเกิดในมนุษย์ ด้วยทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล
ด้วยทุกข์มีความทั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์มีความตลอดจากครรภ์เป็นมูล
ด้วยทุกข์อันติดตามสัตว์ที่เกิดแล้ว ด้วยทุกข์อันเนื่องแห่งผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิดแล้ว
ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน
ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น
ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ทุกขเวทนา
ด้วยทุกข์อันเกิดแต่สังขาร
ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความแปรปรวน
ด้วยทุกข์เพราะโรคทางจักษุ โรคทางโสตะ โรคทางฆานะ โรคทางชิวหา โรคทางกาย
โรคทางศีรษะโรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไร้หวัด
โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด
โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ
โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด
โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ
โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง
ด้วยอาพาธมีดีเป็นสมุฏฐานอาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน
อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน
อาพาธเกิดขึ้นเพราะการบริหารไม่สม่ำเสมอ
อาพาธเกิดขึ้นแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่ผลกรรม
ด้วยความหนาว ด้วยความร้อน ด้วยความหิว ด้วยความกระหาย
ด้วยปวดอุจจาระ  ด้วยปวดปัสสาวะ
ด้วยความทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง  ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งมารดา ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งบิดา
ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งพี่ชายน้องชาย
ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งพี่สาวน้องสาว
ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งบุตร
ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งธิดา
ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งญาติ
ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์
ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค
ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล
ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมเห็น....ดิ้นรนอยู่ในโลก.__http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=18977

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตามความเป็นจริง

ภิกษุทั้งหลาย !
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง ;
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง รูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง ;
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง ;
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง ;
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง ;
บุคคล ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักษุ
ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในรูปทั้งหลาย
ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุวิญญาณ
ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุสัมผัส
ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในเวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม
www.HiDhamma.com

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สะสมทรัพย์7ประการ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
ทรัพย์คือ
ศรัทธา ๑
 ศีล ๑ 
หิริ ๑ 
โอตตัปปะ ๑ 
สุตะ ๑ 
จาคะ ๑ 
ปัญญา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ฯ
                          ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ
                          และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือ
                          ชายก็ตาม บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า
 เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของ
                          ผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ 
เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อ
                          ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า พึงประกอบศรัทธา ศีล
                          ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๕
             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๘๘ - ๙๘. หน้าที่ ๔ - ๕. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=88&Z=98&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=5              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_23

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่ง แห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ยิ่งเป็นพิษแก่จิตใจทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้น เหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่"

การแสวงหาทางออก

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! การแสวงหาทางออกอย่างพวกเธอนี้ เป็นเรื่องประเสริฐแท้ การแก่งแย่งกันเป็นใหญ่เป็นโตนั้น ในที่สุดทุกคนก็รู้เองว่าเหมือนแย่งกันเข้าไปสู่กองไฟ มีแต่ความรุ่มร้อนกระวนกระวาย เสนาบดีดื่มน้ำด้วยภาชนะทองคำ กับคนจนๆ ดื่มน้ำด้วยภาชนะที่ทำด้วยกะลามะพร้าว เมื่อมีความพอใจย่อมมีความสุขเท่ากัน นี่เป็นข้อยืนยันว่าความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่าแน่นอนทีเดียว คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนี้มิใช่คนใหญ่คนโตแต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตน มีความสุขสงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อน กระวนกระวาย"
http://www.blogger.com/blogger.g?blogID=612378996237869517#editor/target=post;postID=1266496670919906443;onPublishedMenu=allposts;onClosedMenu=allposts;postNum=0;src=postname
มรรค

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อมตะ


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อริยะมรรคประกอบด้วยองค์แปดเป็นทางอันประเสริฐ สามารถทำให้บุคคลเดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ"

แม่น้ำไหลใสสอาด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ตระหนี่เมื่อได้ทรัพย์แล้วก็กักตุนไว้ไม่ถ่ายเทให้ผู้อื่นบ้าง ก็เหมือนแม่น้ำตายไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใคร ส่วนผู้ไม่ตระหนี่ เป็นเหมือนแม่น้ำที่ไหลเอื่อยอยู่เสมอ กระแสน้ำก็ไม่ขาด ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น สาธุชนได้ทรัพย์แล้วพึงบำเพ็ญตนเสมือนแม่น้ำซึ่งไหลใสสะอาด ไม่พึงเป็นเช่นแม่น้ำตาย"

ทุกข์


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความทุกข์ เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง? ภิกษุทั้งหลาย ! ความเกิดเป็นความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ ความตายก็เป็นความทุกข์ ความแห้งใจ หรือความโศก ความพิไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากบุคคล หรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคล หรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรมิได้ดังใจหมาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุป การยึดมั่นในขันธ์ห้า ด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเอง เป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่"

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอ


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลกที่น้อยคนนักจะสละและวางได้ จึงแย่งลาภแย่งยศกันอยู่เสมอ เหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วย หรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกัน จิกตีกันทำลายกันจนพินาศไปทั้งสองฝ่าย น่าสังเวชสลดใจจิตยิ่งนัก ถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลงมีความเห็นอกเห็นใจกัน มีเมตตากรุณาต่อกัน และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและชีวิต โลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิด หน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอคือลดความโลภ ความโกรธ และความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุข ความเยือกเย็นขึ้นมาก เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใดความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น"

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พระองค์ทรงทราบพราหมณ์สัจจ์


สัตว์ทั้งปวงไม่ควรฆ่า

กามทุกชนิดไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความเเปรปรวนไปเป็นธรรมดา

ภพทุกภพไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีอันแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

เราจักไม่เป็นกังวลแก่สิ่งใดแก่ใครๆและความกังวลแก่เราในสิ่งไหนๆในใครๆไม่มี


นี้แลเป็นพราหมณ์สัจจ์๔


พระองค์ทรงไม่ติดแม้นิพพาน


ครั้นพระองค์รู้ความเป็นนิพพานก็ไม่ทำการหมายมั่นซึ่งนิพพานไม่ทำความหมายมั่นในนิพพานไม่ทำการหมายมั่นโดยความเป็นนิพพานไม่ทำการหมายมั่นว่านิพพานเป็นของเราไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงในนิพพาน

เหตุที่สาวกบางคนไม่ได้บรรลุ


มีบุรุษจะไปเมืองราชคฤห์เข้ามาหาเรากล่าวท่านว่า
พระโคดมผู้เจริญ:ทางไปเมืองราชคฤห์ไปได้ครู่หนึ่งจักพบบ้านชื่อโน้นจักเห็นนิคมชื่อโน้นจักเห็นสวนและป่าน่าสนุกจักเห็นภาคภูมิน่าสนุกสระโบกขรณีน่าสนุกบุรุษนั้นพร่ำบอกพร่ำชี้ให้อย่างนี้ก็ยังถือเอาผิดไปในทางตรงกันข้าม แต่บุรุษผู้หนึ่งกลับถึงเมืองราชคฤห์โดยสวัสดิี
พระโคดมผู้เจริญ:ในเรื่องนี้ข้่าพเจ้าจักทำได้อย่างไรเล่า เพราะข้าพเจ้าเป็นแต่ผู้บอกทางเท่านั้น

หนังสือพุทธประวัตจากพระโอษฐ์

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยอดของมิตร

ยอดของมิตร

ปัญหา (เทวดาทูลถาม) อะไรหนอเป็นมิตรของคนเดินทาง อะไรหนอเป็นมิตรในเรือนของตน อะไรเป็นมิตรของคนมีธุระเกิดขึ้น อะไรเป็นมิตรติดตามไปถึงภพหน้า ?

พุทธดำรัสตอบ “พวกเกวียน พวกโคต่างเป็นมิตรของคนเดินทาง มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน สหายเป็นมิตรของผู้มีธุระเกิดขึ้นเนือง ๆ บุญที่ตนทำเองเป็นมิตรติดตามไปถึงภพหน้า”

https://www.facebook.com/pages/พุทธธรรมนำใจ/222085381235218?ref=stream

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ธรรม๗ประการผู้ปฏิบัติแล้วย่อมเป็นที่รัก

พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปฐมปัณณาสก์ ธนวรรคที่ ๑
อัปปิยสูตรที่ ๑
             [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-              สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับพระผู้มี- *พระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๗ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่ เป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มุ่งลาภ ๑ เป็นผู้มุ่งสักการะ ๑ เป็น ผู้มุ่งความมีชื่อเสียง ๑ เป็นผู้ไม่มีหิริ ๑ เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีความปรารถนา ลามก ๑ มีความเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ มุ่งลาภ ๑ ไม่เป็นผู้มุ่งสักการะ ๑ ไม่เป็นผู้มุ่งความมีชื่อเสียง ๑ มีหิริ ๑ มี โอตตัปปะ ๑ มีความปรารถนาน้อย ๑ มีความเห็นชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑
             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๑ - ๒๖. หน้าที่ ๑ - ๒. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=0&Z=26&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_23

รู้ยิ่งเเห่งราคะ๙


วรรคที่ ๕
             [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๙ ประการ เพื่อ รู้ยิ่งราคะ ๙ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหารปฏิกูล- *สัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ              [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ๙ ประการเป็นไฉน คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตถฌาน ๑ อากาสานัญจายตนฌาน ๑ วิญญาณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญาย- *ตนฌาน ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ              [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อความดับ เพื่อสละ เพื่อสลัดคืนซึ่งราคะ เธอทั้งหลาย พึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้น เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อ สลัดคืนซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯ              พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจ ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล ฯ
จบนวกนิบาต
-----------------------------------------------------
             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๙๕๖ - ๙๙๗๗. หน้าที่ ๔๓๐. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=9956&Z=9977&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=281              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_23

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จงสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยการให้รู้อริยสัจ

จงสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยการให้รู้อริยสัจ
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอ
เป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตาม
ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม;
ชนเหล่านั้น อันเธอพึงชักชวนให้เข้าไปตั้งมั่น
ในความจริงอันประเสริฐสี่ปร...ะการ
ด้วยปัญญาอันรู้เฉพาะตามที่เป็นจริง
ความจริงอันประเสริฐสี่ประการอะไรเล่า ?
สี่ประการคือ
ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์,
ความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดแห่งทุกข์,
ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
และความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
“ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้”
ดังนี้
.พุทธธรรมนำใจhttps://www.facebook.com/profile.php?id=100002155660855#!/pages/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%88/222085381235218

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การไม่รู้ความเกิดดับแห่งขันธ์ ๕

๒. สมุทยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการไม่รู้ความเกิดดับแห่งขันธ์ ๕
             [๑๕๐] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมไม่
ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง
รูป ฯลฯ แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ส่วนอริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ฯลฯ แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ
แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ.

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็มี ๒ จำพวก

บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรม
แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็มี ๒ จำพวก คือ
พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
 พวกหนึ่งปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
บุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒ ฉะนี้แล
 ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญูอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นผู้
ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต







ธัมมัญญูสูตร

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มนุษย์ไปเกิดเป็นสัตว์ได้

 “ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และชั้นสู่หนทางนั้นจักเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉาน โดยสมัยต่อมา เราเห็นบุคคลนั้นเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งกำเนิดดิรัจฉาน เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อนด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์.... เปรียบเหมือนหลุมคูถลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยคูถ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผาครอบงำเหน็ดเหนื่อย.... มุ่งมาสู่หลุมคูถนั้นแหละ โดยหนทางสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงในหลุมคูถนั้น เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแลฯ ”

มหาสีนหนาทสูตร มู. ม. (๑๗๒)
ตบ. ๑๒ : ๑๕๐-๑๕๑ ตท.๑๒ : ๑๑๙
ตอ. MLS. I : ๙๙-๑๐๐

http://www.84000.org/true/
http://www.84000.org/true/021.html
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=8056

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปฏิญาณญาณทัสสนะไว้อย่างแจ่มแจ้ง?

164 ศาสนาเชน

ปัญหา ศาสนาเชนซึ่งเกิดช่วงเวลาเดียวกันกับพระพุทธศาสนานั้น มีหลักคำสอนอย่างไรบ้าง?

คำตอบ “.....ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครนถนาฏบุตร เป็นคนรู้เห็นธรรมทุกอย่าง ย่อมปฏิญาณญาณทัสสนะไว้อย่างแจ่มแจ้งหมดเปลือกว่า สำหรับเราจะเดินจะยืน จะหลับและตื่นก็ตาม ญาณทัสสนะก็ปรากฏชั่วกาลนิรันดร เขาบัญญัติว่า กรรมเก่าหมดไปเพราะความเพียรเผากิเลส ฆ่าเหตุเสียได้ เพราไม่ทำกรรมใหม่ ด้วยประการฉะนี้ จึงเป็นอันว่า เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงหมดไป เพราะทุกข์หมดไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งสิ้นจึงจักเสื่อมไปโดยไม่เหลือ การล่วงทุกข์ย่อมมีได้ด้วยความหมดจด ที่ให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ ซึ่งบุคคลจะพึงเห็นเองนี้ ด้วยประการฉะนี้ฯ....”
นิคัณฐสูตร ติ. อํ. (๕๑๔)
ตบ. ๒๐ : ๒๘๔ ตท. ๒๐ : ๒๔๙
ตอ. G.S. I : ๒๐๐

http://www.84000.org/true/

พวกเดียวกันคบกัน


ปัญหา ตามปกติ คนที่มีอะไรคล้ายกันย่อมคบหาสมาคมกันใช่หรือไม่ ? พระผู้มีพระภาคตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน โดยธาตุทีเดียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน.... กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน.... กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกเกียจร้านย่อมคบค้ากัน..... กับสัตว์จำพวกเกียจคร้าน สัตว์จำพวกมีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน....กับสัตว์จำพวกมีสติหลงลืม สัตว์จำพวกมีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน..... กับสัตว์จำพวกมีปัญญาทราม แม้ในอดีตกาล.... แม้ในอนาคตกาล... แม้ในปัจจุบันกาล....”

อสัทธมูลกสูตรที่ ๑ นิ. สํ. (๓๔๗)
ตบ. ๑๖ : ๑๙๑-๑๙๒ ตท. ๑๖ : ๑๗๕-๑๗๖
ตอ. K.S. II : ๑๑๐-๑๑๑
http://www.84000.org/true/

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เพื่อความสิ้นอาสวะเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า
รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้
สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้
ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้
ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้
วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=1188&Z=1233

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

 สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
 ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑
 ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑
 ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑
 ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=1188&Z=1233

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิดพระศาสดาทุกเมื่อ

ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เจริญที่สุด   เป็นผู้ประเสริฐ   เป็นผู้นั่งใกล้    เป็นผู้ใกล้ชิด
ทุกเมื่อ    จริงอยู่   พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า    ย่อมสาธารณ์แก่
บริษัททั้งปวง.    ภิกษุทั้งหลาย   ชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุดในบริษัท   เพราะเป็นผู้
เกิดก่อน    ชื่อว่าประเสริฐที่สุด    เพราะปฏิบัติตามพระจริยาของพระศาสดา
เริ่มตั้งแต่การออกบวชเป็นต้น     และเพราะรับคำสอนไว้ทั้งหมด   ชื่อว่าเป็นผู้
ใกล้  เพราะเมื่อภิกษุทั้งหลายนั่งในที่นั้น  เป็นผู้อยู่ใกล้.    ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิด
ทุกเมื่อ 



http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=4500027

สภาวธรรมอันเศร้าหมองอย่างเดียว

เอกธมฺมํ  ประสงค์เอาสภาวธรรมอันเศร้าหมองอย่างเดียว.  ชื่อว่า  เอกธรรม
เพราะอรรถว่าเป็นธรรมเดียว.  [พวกเธอจงละ]  ซึ่งเอกธรรมนั้น.


http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=4500027

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

การประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม

บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่ควรหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น
                          เพราะการประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม.


 บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงทำลายแม้ใบของต้นไม้นั้น
                          เพราะการประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม



ตัดความสงสัยเสียได้

 [๔๖๓] ดูกรท่านวัฑฒะผู้เป็นบุตร กิเลสดุจหมู่ไม้ในป่าอย่าได้มีแก่ท่านในโลก
                          ในกาลไหนๆ เลย ท่านอย่าเป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์ร่ำไปเลย ดูกรท่าน
                          วัฑฒะ มุนีทั้งหลายเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ตัดความสงสัยเสียได้ เป็นผู้มี
                          ความเยือกเย็นถึงความฝึกฝนแล้ว ไม่มีอาสวะ ย่อมอยู่เป็นสุข ดูกร
                          ท่านวัฑฒะ ท่านพึงเพิ่มพูนมรรคอันฤาษีเหล่านั้นสั่งสมแล้ว เพื่อการ
                          บรรลุทรรศนะ เพื่อการทำที่สุดแห่งทุกข์

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/sutta18.php

เงาของต้นไม้เที่ยงเพราะอะไร

[๗๘๘] ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่
มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลำต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็น
ธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เงาก็ไม่เที่ยง แปรปรวน
ไปเป็นธรรมดา ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ต้นไม้ใหญ่มีแก่น
ตั้งอยู่โน้น มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลำต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวน
ไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แต่ว่าเงาของ
ต้นไม้นั้นแล เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ
ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ผู้ที่กล่าวนั้น ชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือหนอแล ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=9746&Z=10190&pagebreak=0

อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง

[๗๗๓] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลใด
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะ
ภายในเสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
เวทนานั้น เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
บุคคลผู้กล่าวอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวชอบหรือหนอแล ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=9746&Z=10190&pagebreak=0

ประทีป

[๗๗๒] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกำลัง
ติดไฟอยู่ มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวน
ไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แสงสว่างก็ไม่
เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า
ประทีปน้ำมันที่กำลังติดไฟอยู่โน้น มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็น
ธรรมดา แต่ว่าแสงสว่างของประทีปนั้นแล เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มี
ความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือหนอแล ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=9746&Z=10190&pagebreak=0

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

ความวิวาทเป็นภัย

"ท่านทั้งหลาย
จงเห็นความวิวาท
โดยความเป็นภัย
และความไม่วิวาท
โดยความปลอดภัยแล้ว
เป็นผู้พร้อมเพรียง
ประนีประนอมกันเถิด
นี่เป็นพระพุทธานุศาสนี..."
— พระพุทธเจ้า
พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน พุทธาปทานที่ ๑
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2:%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

จักไม่เป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ยืดเยื้อ

 [๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด การด่าโต้ตอบกัน ความ
แข่งดีกันเพราะทิฐิ ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด ยังไม่สงบ
ระงับไป ณ ภายใน ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักเป็นไปเพื่อความเป็น
อธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็งร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใดแล การด่าโต้ตอบกัน ความแข่งดีกันเพราะทิฐิ
ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด สงบระงับดีแล้ว ณ ภายใน
ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักไม่เป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็ง
ร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่เป็นผาสุก ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1991&Z=2087&pagebreak=0

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก

[๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๒ จำ
พวกเป็นไฉน คือ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
พระเจ้าจักรพรรดิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่
ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1991&Z=2087&pagebreak=0

ธรรมที่เป็นบาปอกุศล

 [๓๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิมิตจึงเกิดขึ้น
ไม่มีนิมิตไม่เกิดขึ้น เพราะละนิมิตนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี
ด้วยประการดังนี้ ฯ
             [๓๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิทานจึงเกิดขึ้น
ไม่มีนิทานไม่เกิดขึ้น เพราะละนิทานนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึง ไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ             
[๓๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเหตุจึงเกิดขึ้น
ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น เพราะละเหตุนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี
ด้วยประการดังนี้ ฯ
             [๓๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเครื่องปรุง
จึงเกิดขึ้น ไม่มีเครื่องปรุงไม่เกิดขึ้น เพราะละเครื่องปรุงนั้นเสีย ธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ
             [๓๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น
ไม่มีปัจจัยไม่เกิดขึ้น เพราะละปัจจัยนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี
ด้วยประการดังนี้ ฯ
             [๓๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีรูปจึงเกิดขึ้น ไม่
มีรูปไม่เกิดขึ้น เพราะละรูปนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วย
ประการดังนี้ ฯ
             [๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเวทนาจึงเกิดขึ้น
ไม่มีเวทนาไม่เกิดขึ้น เพราะละเวทนานั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึง
ไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ
             [๓๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสัญญาจึงเกิดขึ้น
ไม่มีสัญญาไม่เกิดขึ้น เพราะละสัญญานั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึง
ไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ
             [๓๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีวิญญาณจึงเกิด
ขึ้น ไม่มีวิญญาณไม่เกิดขึ้น เพราะละวิญญาณนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ
             [๓๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสังขตธรรมเป็น
อารมณ์จึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ไม่เกิดขึ้น เพราะละสังขตธรรมนั้น
เสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ
จบสนิมิตตวรรคที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๒๑๓๓ - ๒๑๖๓.  หน้าที่  ๙๑ - ๙๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2133&Z=2163&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=322

บัณฑิต ๒ จำพวก

[๓๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน
คือ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑
คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2191&Z=2258&pagebreak=0

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

สิ่งนั้น หาพบในกายนี้

สิ่งนั้น หาพบในกายนี้
แน่ะเธอ ! ที่สุดโลก แห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่
อุบัติ; เราไม่กล่าวว่าใคร ๆ อาจรู้ อาจเห็น อาจถึง ที่สุดแห่งโลกนั้น ด้วยการไป.
แน่ะเธอ ! ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ที่ยังประกอบด้วย
สัญญาและใจนี่เอง, เราได้บัญญัติโลก, เหตุให้เกิดโลก, ความดับสนิท
ไม่เหลือของโลก, และทางดำเนินให้ถึงความดับสนิทไม่เหลือของโลก ไว้
ดังนี้แล.
- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๒/๔๕.
http://www.dhammathai.org/articles/dbview.php?No=424

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

ที่สุดแห่งโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามิได้กล่าวว่า
ที่สุดของโลกอันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่ง
โลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดทุกข์



ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้อง
การแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวหาแก่นไม้อยู่ กลับล่วงเลยรากล่วงเลยลำต้น
แห่งต้นไม้มีแก่นต้นใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่เฉพาะหน้าไปเสีย มาสำคัญแก่นไม้ที่จะพึง
แสวงหาได้ที่กิ่งและใบ ฉันใด คำอุปไมยนี้ก็ฉันนั้น

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=2411&Z=2502&pagebreak=0

เฉพาะหน้า

th.w3dictionary.org/index.php?qADJ. urgent def:[ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น และจำเป็นจะต้องดำเนินการตามความเหมาะสมทันที] syn:{ด่วน} sample:[ศูนย์นี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า] ADV. at hand ...

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ

ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ
หน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส
ทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส
เป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุด
พ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว ท่านพระราหุลชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิต
นี้อยู่ จิตของท่านพระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ฝ่าย
เทวดาหลายพันก็เกิดธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ
จบสูตรที่ ๘

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=2697&Z=2785

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

ความปรากฏ

อุปปาทสูตรที่ ๑


[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด
ความปรากฏแห่งจักษุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็น
ความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด
ความปรากฏแห่งใจ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ
ปรากฏแห่งชราและมรณะ ส่วนความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งจักษุ นี้เป็น
ความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งใจ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบ
แห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯ

จบสูตรที่ ๙


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=270&Z=279&pagebreak=0

ความปรากฏแห่งรูป

          [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด
ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็น
ความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด
ความปรากฏแห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯ

          [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ
ฯลฯ ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์
เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค







อุปปาทสูตรที่ ๒

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่

“ เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ ”

สลัดความพอใจในสังขาร

 สัตว์โลกเมื่อเกิดมาย่อมนำความทุกข์ติดตัวมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออกความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว

ผู้อดทน

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่าก็เพราะความกลัวอดทนต่อคำล่วงเกิน
ของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้
แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้
เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทน
 มีเมตตาย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศ อยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ”

ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ

ใจเป็นผู้นำทุกสิ่งทุกอย่าง ใจเป็นใหญ่ ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ
ถ้าคนเรามีใจบริสุทธิ์ การพูดการกระทำ ก็พลอยบริสุทธิ์ไปด้วย
เพราะการพูดการกระทำ อันบริสุทธิ์นั้น ความสุขย่อมตามสนองเขา
เหมือนเงาติดตามตน

อุปมาองค์ ๑ แห่งลา


" ข้าแต่พระนาคเสน ที่ว่าควรถือองค์ ๑ แห่งลานั้น องค์หนึ่งแห่งลานั้นได้แก่อะไร ? "
" ขอถวาบพระพร ธรรมดาว่า ลา นั้น ไม่เลือกที่นอน นอนบนกองหยากเยื่อก็มี ที่ทาง ๔ แพร่งก็มี ๓ แพร่งก็มี ที่ประตูบ้านก็มี ที่กองแกลบก็มีฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่เลือกที่นอนฉันนั้น ปูแผ่นหนังลงไป ในที่ปูด้วยหญ้าหรือใบไม้ หรือเตียงไม้ หรือแผ่นดินแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วก็นอนฉันนั้น ข้อนี้สมกับที่มีพระพุทธดำรัสไว้ว่า
" ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ ทำกายเหมือนท่อนไม้ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร "



http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-25-20.htm

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

เปตวิสัย

ในเปตวิสัย๑นั้น ไม่มีกสิกรรม (การทำไร่ไถนา)
ไม่มีโครักขกรรม (การเลี้ยงวัวไว้ขาย)
ไม่มีพาณิชกรรม (การค้าขาย) เช่นนั้น
การแลกเปลี่ยนซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี
ผู้ที่ตายไปเกิดเป็นเปรตในเปตวิสัยนั้น
ดำรงชีพด้วยผลทานที่พวกญาติอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราช

"ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทานมีจิตผู้พันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน
มุ่งการสั่งสมทาน ให้ทาน ด้วยคิดว่า เราตายไปแล้วจักได้เสวยผลแห่งทานนี้ เขาผู้นั้น เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราช"

http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=16677

ลาภสักการะ

สกฺกาโร แปลว่า สักการะที่ดี. อธิบายว่า ปัจจัยทั้งหลาย
ที่เขาปรุงแต่งให้ประณีต ประณีตและดีเรียกว่า สักการะ ซึ่งได้แก่การที่
คนอื่นเขาทำความเคารพตน หรือบูชาด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้เป็นต้น.
บทว่า สิโลโก แปลว่าการกล่าวสรรเสริญคุณ
ลาภ ๑
สักการะ๑
การกล่าวสรรเสริญ ๑ นั้น
 
ชื่อว่าลาภสักการะ และสิโลกะ.
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%A0%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

ภัยและสิ่งที่น่ากลัว

บรรดาภัยและสิ่งที่น่ากลัวทั้ง ๒ อย่างนั้น ภัย พึงทราบว่าเป็น
อกุศล เพราะมีความหมายว่ามีโทษ สิ่งที่น่ากลัว พึงทราบว่าเป็นอกุศล
เพราะมีความหมายว่าไม่ปลอดภัย.

บทว่า หเว เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า โดยส่วนเดียว.
บทว่า อกุสลํ ได้แก่สิ่งมีโทษและไม่ปลอดภัย.
บทว่า ภยเภรวํ แปลว่า ภัยและสิ่งที่น่ากลัว.
บทว่า ภยเภรวํ นี้ เป็นชื่อเรียกความหวาดสะดุ้งแห่งจิตและอารมณ์
อันน่ากลัว.

พระองค์ตรัสว่าบุคคลนั้นได้ชื่อว่าได้ลอยบาปเสียแล้ว

พระองค์ตรัสว่า บุคคลใดงดเว้น จากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ พูดคำหยาบ พูด ส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น พยาบาทปองร้ายผู้อื่น มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม บุคคล นั้นได้ชื่อว่า ได้ลอยบาปเสียแล้ว


http://www.siammedia.org/articles/dhamma/20080822.php

พราหมณ์ผู้ลอยบาปได้แล้ว

บุคคลที่ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะมีความหมายว่า เปล่งเสียงว่า
พรหมะ อธิบายว่า ได้แก่สาธยายมนต์. ก็คำว่า พราหมณ์นั้นเป็นภาษา
เรียกคนที่เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด. ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลายท่านก็เรียกว่า
พราหมณ์ เพราะลอยบาปได้แล้ว.

อรรถกถา ภยเภรวสูตร


http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%A0%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

ผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่ชนผู้มีความรังเกียจด้วยโคตร

กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด     ในหมู่ชนผู้มีความ

                   รังเกียจด้วยโคตร  ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ

                   จรณะ        เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและ

                   มนุษย์ดังนี้.

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=12057

ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุรุษพึงวางก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว  ๗  ก้อนไว้ที่ขุนเขาสิเนรุ  เธอทั้งหลาย
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน  ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว  ๗  ก้อนที่บุรุษ
วางไว้กับขุนเขาสิเนรุ   ไหนจะมากกว่ากัน. 

 ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ขุนเขาสิเนรุนี้แหละมากกว่า    ก้อนหินเท่าเมล็ด
ถั่วเขียว  ๗  ก้อนที่บุรุษวางไว้มีประมาณน้อย   ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว
๗  ก้อนที่บุรุษวางไว้เมื่อเทียบเข้ากับขุนเขาสิเนรุ      ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่  ๑๐๐
เสี้ยวที่  ๑,๐๐๐  เสี้ยวที่   ๑๐๐,๐๐๐  แม้ฉันใด.

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

ดูกรภิกษุ
เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง
ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น
๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป สิ้นไป เพราะความ
พยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนาน
อย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่
ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า สงสารนี้
กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้
พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่าย ในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะ
หลุดพ้น ดังนี้ ฯ

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไม่ควรทำมานะในมารดา บิดา พี่ชาย และในอาจารย์

ไม่ควรทำมานะในใคร ควรมีความเคารพในใคร พึงยำเกรง
                          ใคร บูชาใครด้วยดีแล้ว จึงเป็นการดี ฯ

             [๖๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
                          ไม่ควรทำมานะในมารดา บิดา พี่ชาย และในอาจารย์เป็น
                          ที่ ๔ พึงมีความเคารพในบุคคลเหล่านั้น พึงยำเกรงบุคคล
                          เหล่านั้น บูชาบุคคลเหล่านั้นด้วยดีแล้วจึงเป็นการดี บุคคล
                          พึงทำลายมานะเสีย ไม่ควรมีความกระด้างในพระอรหันต์ผู้
                          เย็นสนิท ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว หาอาสวะมิได้ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
                          เพราะอนุสัยนั้น ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=5740&Z=5784&pagebreak=0

ผู้มีปัญญาถึงจะเกิดบ่อยๆ ก็เพื่อได้มรรคแล้วไม่เกิดอีก

 [๖๘๐] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
กสิกรย่อมหว่านพืชบ่อยๆฝนย่อมตกบ่อยๆ
ชาวนาย่อมไถนาบ่อยๆแว่นแคว้นย่อมบริบูรณ์ด้วยธัญชาติบ่อยๆ
ยาจกย่อมขอบ่อยๆ ทานบดีก็ให้บ่อยๆ ทานบดีให้บ่อยๆ แล้ว ก็เข้าถึงสวรรค์
บ่อยๆ ผู้ต้องการน้ำนมย่อมรีดนมบ่อยๆ ลูกโคย่อมเข้าหาแม่โคบ่อยๆ บุคคล
ย่อมลำบากและดิ้นรนบ่อยๆ คนเขลาย่อมเข้าถึงครรภ์บ่อยๆ สัตว์ย่อมเกิดและ
ตายบ่อยๆ บุคคลทั้งหลายย่อมนำซากศพไปป่าช้าบ่อยๆ ส่วน
ผู้มีปัญญาถึงจะเกิดบ่อยๆ ก็เพื่อได้มรรคแล้วไม่เกิดอีก  ดังนี้ ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=5615&Z=5641&pagebreak=0

พระองค์ปฏิญาณว่าเป็นชาวนา

[๖๗๓] ครั้งนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ด้วยคาถาว่าพระองค์ปฏิญาณว่าเป็นชาวนา แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นการไถของพระองค์ พระองค์ผู้เป็นชาวนา ข้าพเจ้าถามแล้วขอจงตรัส บอก ไฉน ข้าพเจ้าจะรู้การทำนาของพระองค์นั้นได้ ฯ
             [๖๗๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
                          ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอก
                          และไถ หิริเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาล
                          และประตัก เรามีกายคุ้มครองแล้ว มีวาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้
                          สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้า (คือวาจา
                          สับปรับ) ด้วยคำสัตย์ โสรัจจะของเราเป็นเครื่องให้แล้ว
                          เสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวัง
                          นำไปถึงความเกษมจากโยคะ ไปไม่ถอยหลัง ยังที่ซึ่งบุคคล
                          ไปแล้วไม่เศร้าโศก ฯ
เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำนั้นย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคล
                          ทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=5561&Z=5614&pagebreak=0

มานะแลเป็นดุจภาระ

มานะแลเป็นดุจภาระคือ หาบของท่าน ความ
                          โกรธดุจควัน มุสาวาทเป็นดุจเถ้า ลิ้นเป็นประดุจภาชนะ
                          เครื่องบูชา หทัยเป็นที่ตั้งกองกูณฑ์ ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็น
                          ความรุ่งเรืองของบุรุษ

ผู้ติดตาม