วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่ง แห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ยิ่งเป็นพิษแก่จิตใจทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้น เหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่"

การแสวงหาทางออก

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! การแสวงหาทางออกอย่างพวกเธอนี้ เป็นเรื่องประเสริฐแท้ การแก่งแย่งกันเป็นใหญ่เป็นโตนั้น ในที่สุดทุกคนก็รู้เองว่าเหมือนแย่งกันเข้าไปสู่กองไฟ มีแต่ความรุ่มร้อนกระวนกระวาย เสนาบดีดื่มน้ำด้วยภาชนะทองคำ กับคนจนๆ ดื่มน้ำด้วยภาชนะที่ทำด้วยกะลามะพร้าว เมื่อมีความพอใจย่อมมีความสุขเท่ากัน นี่เป็นข้อยืนยันว่าความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่าแน่นอนทีเดียว คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนี้มิใช่คนใหญ่คนโตแต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตน มีความสุขสงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อน กระวนกระวาย"
http://www.blogger.com/blogger.g?blogID=612378996237869517#editor/target=post;postID=1266496670919906443;onPublishedMenu=allposts;onClosedMenu=allposts;postNum=0;src=postname
มรรค

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อมตะ


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อริยะมรรคประกอบด้วยองค์แปดเป็นทางอันประเสริฐ สามารถทำให้บุคคลเดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ"

แม่น้ำไหลใสสอาด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ตระหนี่เมื่อได้ทรัพย์แล้วก็กักตุนไว้ไม่ถ่ายเทให้ผู้อื่นบ้าง ก็เหมือนแม่น้ำตายไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใคร ส่วนผู้ไม่ตระหนี่ เป็นเหมือนแม่น้ำที่ไหลเอื่อยอยู่เสมอ กระแสน้ำก็ไม่ขาด ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น สาธุชนได้ทรัพย์แล้วพึงบำเพ็ญตนเสมือนแม่น้ำซึ่งไหลใสสะอาด ไม่พึงเป็นเช่นแม่น้ำตาย"

ทุกข์


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความทุกข์ เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง? ภิกษุทั้งหลาย ! ความเกิดเป็นความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ ความตายก็เป็นความทุกข์ ความแห้งใจ หรือความโศก ความพิไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากบุคคล หรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคล หรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรมิได้ดังใจหมาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุป การยึดมั่นในขันธ์ห้า ด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเอง เป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่"

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอ


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลกที่น้อยคนนักจะสละและวางได้ จึงแย่งลาภแย่งยศกันอยู่เสมอ เหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วย หรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกัน จิกตีกันทำลายกันจนพินาศไปทั้งสองฝ่าย น่าสังเวชสลดใจจิตยิ่งนัก ถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลงมีความเห็นอกเห็นใจกัน มีเมตตากรุณาต่อกัน และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและชีวิต โลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิด หน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอคือลดความโลภ ความโกรธ และความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุข ความเยือกเย็นขึ้นมาก เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใดความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น"

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พระองค์ทรงทราบพราหมณ์สัจจ์


สัตว์ทั้งปวงไม่ควรฆ่า

กามทุกชนิดไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความเเปรปรวนไปเป็นธรรมดา

ภพทุกภพไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีอันแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

เราจักไม่เป็นกังวลแก่สิ่งใดแก่ใครๆและความกังวลแก่เราในสิ่งไหนๆในใครๆไม่มี


นี้แลเป็นพราหมณ์สัจจ์๔


พระองค์ทรงไม่ติดแม้นิพพาน


ครั้นพระองค์รู้ความเป็นนิพพานก็ไม่ทำการหมายมั่นซึ่งนิพพานไม่ทำความหมายมั่นในนิพพานไม่ทำการหมายมั่นโดยความเป็นนิพพานไม่ทำการหมายมั่นว่านิพพานเป็นของเราไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงในนิพพาน

เหตุที่สาวกบางคนไม่ได้บรรลุ


มีบุรุษจะไปเมืองราชคฤห์เข้ามาหาเรากล่าวท่านว่า
พระโคดมผู้เจริญ:ทางไปเมืองราชคฤห์ไปได้ครู่หนึ่งจักพบบ้านชื่อโน้นจักเห็นนิคมชื่อโน้นจักเห็นสวนและป่าน่าสนุกจักเห็นภาคภูมิน่าสนุกสระโบกขรณีน่าสนุกบุรุษนั้นพร่ำบอกพร่ำชี้ให้อย่างนี้ก็ยังถือเอาผิดไปในทางตรงกันข้าม แต่บุรุษผู้หนึ่งกลับถึงเมืองราชคฤห์โดยสวัสดิี
พระโคดมผู้เจริญ:ในเรื่องนี้ข้่าพเจ้าจักทำได้อย่างไรเล่า เพราะข้าพเจ้าเป็นแต่ผู้บอกทางเท่านั้น

หนังสือพุทธประวัตจากพระโอษฐ์

ผู้ติดตาม