วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บุคคลผู้ไม่ประประทุษร้ายมิตรย่อมมีอานิสงค์ ๑๐ ประการคือ

สาเหตุของการลอบทำร้าย อาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง หรือหลาย ๆ สาเหตุดังต่อไปนี้
๑. ความขัดแย้งทางการเมือง
๒. ความขัดแย้งกันเป็นการส่วนตัว
๓. ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
๔. การกระทำของกลุ่มมือบอน หรือพวกจิตผิดปกติ หรือโรคจิต
๕. การข่มขวัญคู่แข่ง หรือศัตรู
ความคิดที่ว่า สาเหตุจากการที่โรงเรียนถูกเผากว่า ๓๐ แห่ง จะมีผลกระทบต่อองค์ประกอบพื้นฐาน ในการพัฒนาประเทศ และความไม่มั่นคงของสังคม ได้แก่
๑. เมื่อคนในชาติเผาโรงเรียนได้ ย่อมเผาชาติได้
๒. เมื่อโรงเรียนถูกเผา แล้วจะเอาอะไรไปพัฒนาศักยภาพของพลเมืองและประเทศชาติจะเจริญได้อย่างไร
๓. เมื่อคนไม่ต้องการพัฒนาคน ไม่ต้องการพัฒนาญาติพี่น้องแล้ว ต่อไปคนในชาติก็ไร้คุณภาพ มนุษย์ก็จะกลายเป็นอมนุษย์ไป
๔. เมื่อคนในชาติไม่สามารถป้องกันแก้ไขปัญหานี้ได้ ก็คงไม่พ้นความสิ้นชาติหรือเสียบางส่วนของชาติไป

ผลของปัญหา
เมื่อพิจารณาคลุมถึงการใช้อำนาจพลการ ในรูปแบบต่าง ๆ พอจะกล่าวได้ว่า ย่อมก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ดังนี้
๑. ผลเสียทางสังคม
๒. ในด้านเศรษฐกิจ
๓. ทางด้านการเมือง
การป้องกันแก้ไข
การที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจพลการนั้น มีหลายวิธีที่อาจช่วยได้เป็นต้นว่า
๑. การอบรมปลูกฝังประชาชนในชาติให้มีจริยธรรมอันดีงาม มีศีลธรรมประจำใจ
๒. ควรสร้างค่านิยมหรือพฤติกรรมหลักให้ยึดถือ
๓. การขจัดตัวกลางที่จะเสริมให้เกิดการใช้ความรุนแรง
๔. การปรับปรุงโครงสร้างของสังคม ปรับปรุงสถาบันสังคมทั้งหลายให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างดีที่สุด
๕. โดยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

ปัญหาลอบทำร้าย
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนบุคคลผู้ไม่ประประทุษร้ายมิตรย่อมมีอานิสงค์ ๑๐ ประการคือ : -
๑. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , ออกจากเรือนของตนไปในที่ไหน ๆ ย่อมมีอาหารมากมาย คนเป็นอันมากย่อมอาศัยผู้ไม่ประทุษร้ายมิตรเป็นอยู่
๒. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , ไปในชนบท นิคม หรือราชธานี ย่อมได้รับการต้อนรับทุกแห่ง
๓. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , โจรก็ไม่ข่มเหง พระราชาก็ไม่ดูหมิ่น ย่อมข้ามพ้นศัตรูได้
๔. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , ไม่เคยโกรธเคืองใครไปในที่ใดย่อมได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ทั้งในหมู่ญาติและมิตร
๕. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , สักการะคนอื่นแล้ว ย่อมได้รับสักการะตอบ เคารพคนอื่นแล้ว ย่อมได้ความเคารพตอบ และได้รับการสรรเสริญเกียรติคุณ
๖. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , บูชาผู้อื่นย่อมได้รับการบูชาตอบ ไหว้ผู้อื่นย่อมได้รับการไหว้ตอบ ย่อมถึงซึ่งอิศริยยศเกียรติคุณ
๗. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , ย่อมรุ่งโรจน์เหมือนไฟ ย่อมไพโรจน์เหมือนเทวดาและมีสิริในทุกสถาน
๘. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , โภคทรัพย์ย่อมเกิดมากมาย พืชพันธ์ธัญญาหาร ย่อมงอกงาม ย่อมได้รับผลผลิตที่หว่านลงไปในนานั้น
๙. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , แม้พลาดตกจากภูเขาหรือพลาดตกลงมาจากต้นไม้ย่อมได้ที่พึ่ง คือไม่เป็นอันตรายแต่ประการใด
๑๐. ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร , ศัตรูทั้งหลายย่อมไม่ข่มขี่เบียดเบียนบีฑาเหมือนต้นไทรใหญ่

ขอบคุณข้อมูลจาก


มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ ถนนพระสุเมรุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 0-2282-8303, 0-2281-6427 โทรสาร 0-2281-0294






ข้อมูลเพิ่ม>>>>>> http://www.dhamma.mbu.ac.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=42&Itemid=57

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ก็เป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้น เหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจนั้น เป็นเรื่องทรมานยิ่งและเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพราก ก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคน จะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ไม่วันใด ก็วันหนึ่ง”
http://www.wuttanan.com/few/?p=65

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อามิสทาน ธรรมทาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรม
ทาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือ การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่าย
ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรม
เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ การอนุเคราะห์ด้วย
อามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์
๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=6453&Z=6470

อุปมากถาปัญหา

อุปมากถาปัญหา
โฆรสวรรคที่ ๑
อุปมาองค์ ๑ แห่งลา
" ข้าแต่พระนาคเสน ที่ว่าควรถือองค์ ๑ แห่งลานั้น องค์หนึ่งแห่งลานั้นได้แก่อะไร ? "
" ขอถวาบพระพร ธรรมดาว่า ลา นั้น ไม่เลือกที่นอน นอนบนกองหยากเยื่อก็มี ที่ทาง ๔ แพร่งก็มี ๓ แพร่งก็มี ที่ประตูบ้านก็มี ที่กองแกลบก็มีฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่เลือกที่นอนฉันนั้น ปูแผ่นหนังลงไป ในที่ปูด้วยหญ้าหรือใบไม้ หรือเตียงไม้ หรือแผ่นดินแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วก็นอนฉันนั้น ข้อนี้สมกับที่มีพระพุทธดำรัสไว้ว่า
" ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ ทำกายเหมือนท่อนไม้ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร "
ส่วน พระสารีบุตรเถระ ได้กล่าวไว้ว่า
" การนั่งคู้บัลลังก์ คือนั่งขัดสมาธิก็พออยู่สบาย สำหรับภิกษุผู้มุ่งต่อพระนิพพาน "
ดังนี้ขอถวายพระพร"
อุปมาองค์ ๕ แห่งไก่
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งไก่นั้นได้แก่อะไร? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดา ไก่ ย่อมอยู่ในที่สงัดแต่ในเวลายังวันฉันใด พระโยคาวจรก็กวาดลานพระเจดีย์ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ อาบน้ำชำระกาย ไหว้พระเจดีย์แต่ในเวลายังวัน แล้วไปหาอยู่ในที่สงัดแต่ในเวลายังวันฉันนั้น อันนี้เป็นองค์แรกแห่งไก่
ธรรมดาไก่ย่อมตื่นแต่เช้าฉันใด พระโยคาวจรก็ตื่นแต่เช้าฉันนั้น แล้วลงไปปัดกวาดลานพระเจดีย์ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ชำระร่างกายดีแล้ว ก็กราบไหว้พระเจดีย์แล้ว จึงเข้าไปสู่ที่สงัดอีก อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งไก่
ธรรมดาไก่ย่อมคุ้ยเขี่ยพื้นดินหากินอาหารฉันใด พระโยคาวจรก็พิจารณาแล้วจึงฉันอาหารไม่ฉันเพื่อให้เกิดความคะนอง ความมัวเมาความสวยงามแห่งร่างกาย ฉันเพียงให้กายนี้อยู่ได้ เพื่อจะได้ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไปและเพื่อบรรเทาเวทนาเก่า กำจัดเวทนาใหม่เท่านั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งไก่
ข้อนี้สมกับสมเด็จพระจอมไตรตรัสไว้ว่า
" บุคคลกินเนื้อแห่งบุตรในทางกันดารได้ด้วยความลำบากใจ กินพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันใด หรือบุคคลเติมน้ำมันหยอดเพลาพอให้รถแล่นไปได้ฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันอาหารพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันนั้น "
ธรรมดาไก่ถึงมีตา ก็เหมือนตาบอดในเวลากลางคืนฉันใด พระโยคาวจรถึงตาไม่บอดก็ควรเป็นเหมือนตาบอดฉันนั้น ทั้งในเวลาอยู่ในป่าหรือเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน พระโยคาวจรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูหนวก คนใบ้ ต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันน่ายินดี อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งไก่
ข้อนี้สมกับถ้อยคำของ พระมหากัจจายนเถระ กล่าวไว้ว่า
" พระโยคาวจรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูนวก คนใบ้ คนไม่มีกำลัง เมื่อเกิดเรื่องขึ้น ควรนอนเหมือนคนตาย" ดังนี้
ธรรมดาไก่ถึงถูกไล่ตีด้วยก้อนดิน ไม้ค้อนหรือถูกตีด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ตาม ก็ไม่ทิ้งที่อยู่ของตนฉันใด พระโยคาวจรถึงจะทำจีวรกรรมคือการทำจีวร หรือนวกรรม คือการก่อสร้าง การเรียน การถาม ก็ไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการคือตั้งใจไว้ด้วยอุบายอันชอบฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๕ แห่งไก่
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
" อะไรเป็นโคจรของภิกษุ เป็นวิสัยบิดาของตน อันนี้คือสติปัฏฐาน ๔ " ดังนี้ ถึง พระสารีบุตรเถระ ก็ได้กล่าวไว้ว่า
" ไก่ย่อมไม่ทิ้งเล้าไก่ของตน ย่อมรู้จักสิ่งที่ควรกินไม่ควรกิน พอใช้ชีวิตเป็นไปได้ฉันใด พระพุทธบุตรก็ไม่ควรประมาทไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการอันประเสริฐฉันนั้น"
ดังนี้ ขอถวายพระพร "
อุปมาองค์ ๑ แห่งกระแต
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งกระแตได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดา กระแต เมื่อพบศัตรูย่อมพองหางขึ้นให้ใหญ่ต่อสู้กับศัตรูฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น เมื่อเกิดศัตรูคือกิเลสขึ้น ก็พองหางคือ สติปัฏฐาน ให้ใหญ่ขึ้นกั้นกางกิเลสทั้งปวงด้วยหาง คือสติปัฏฐานอันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งกระแต "
ข้อนี้สมกับคำของ พระจุฬปันถก ว่า
" เมื่อกิเลสอันจะกำจัดคุณสมณะปรากฏขึ้นในเวลาใด เวลานั้นพระโยคาวจรก็พองหาง คือสติปัฏฐานขึ้นบ่อย ๆ ฉันนั้น "
องค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลือง
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลืองนั้นคืออย่างไร ? "
"ขอถวายพระพร ธรรมดา แม่เสือเหลือง พอมีท้องแล้ว ก็ไม่เข้าใกล้ตัวผู้อีกฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น พระโยคาวจรได้เห็นปฏิสนธิ คือความเกิด ความอยู่ในครรภ์ ความจุติ ความแตก ความสิ้น ความวินาศ ทุกขภัยในสงสารแล้ว ก็ควรกระทำโยนิโสมนสิการด้วยคิดว่า เราจักไม่เกิดในภพทั้งหลายอีก อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลือง
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน ธนิยโคปาลสูตร ว่า
" ธรรมดาโคผู้สลัดเครื่องผูกไว้ ทำลายเถาวัลย์ให้ขาดแล้ว ย่อมไม่กลับไปสู่เครื่องผูกอีกฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้นคือควรคิดว่า เราจักไม่ยอมเกิดอีก " ดังนี้ขอถวายพระพร "
องค์ ๒ แห่งพ่อเสือเหลือง
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งเสือเหลืองนั้นได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดาว่า เสือเหลือง ย่อมไปแอบซุ่มอยู่ตามกอหญ้า พุ่มไม้ ซอกเขา ในป่าแล้วก็จับเนื้อฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้นคือพระโยคาวจรย่อมไปหาที่อยู่ในที่สงัด อันได้แก่ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าใหญ่ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อได้ที่สงัดอย่างนั้นก็ได้สำเร็จอภิญญา ๖ ในไม่ช้า อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งเสือเหลือง
ข้อนี้สมกับคำของ พระเถระผู้ทำสังคายนาทั้งหลาย ว่า
" เสือเหลืองแอบซุ่มจับเนื้อฉันใด พระพุทธบุตรผู้ประกอบความเพียร ผู้เจริญวิปัสสนา ก็เข้าไปอยู่ในป่าแล้วถือเอาซึ่งผลอันสูงสุดฉะนั้น "
ธรรมดาเสือเหลืองย่อมไม่กินเนื้อที่ล้มลงข้างซ้ายฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรย่อมไม่ฉันอาหารที่ได้ด้วยผิดธรรมวิสัย คือได้ด้วยการลวงโลก การประจบ การพูดเลียบเคียง การพูดเหยียดผู้อื่น การแลกลาภด้วยลาภ หรือด้วยการให้ไม้แก่น ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้ผลไม้ ให้ดินเหนียว ให้ผลผัดหน้า ให้เครื่องถูตัว ให้ไม้สีฟัน ให้น้ำล้างหน้า ให้ข้าวต้ม ให้แกงถั่ว ให้ของแลกเปลี่ยนแก่ชาวบ้าน หรือรับใช้ชาวบ้านหรือเป็นหมอ เป็นทูต เป็นผู้รับส่งข่าว หรือให้อาหารแลกอาหาร หรือวัตถุวิชา เขตตวิชา อัควิชา อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนกับเสือเหลืองไม่กินเนื้อที่ล้มลงข้างซ้าย อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเสือเหลือง
ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
" พระภิกษุคิดว่า ถ้าเราฉันอาหารที่เกิดจากการขอด้วยวาจา เราก็จะมีโทษ มีผู้ติเตียนถึงไส้ของเราจะทะลักออกมาภายนอกก็ตามเราก็จักไม่ทำลายอาชีวปาริสุทธิศีล ( เลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ ) เป็นอันขาด "
คำนี้ พระอุปเสนวังคันตบุตร ก็ได้กล่าวไว้ว่า
" ถึงไส้ใหญ่ของเราจักทะลักออกมาข้างนอกก็ตาม เราก็จะไม่ให้เสียอาชีวปาริสุทธิศีล ไม่ประพฤติอเนสกรรม ทำลายอาชีวะนั้นเป็นอันขาด " ขอถวายพระพร "
องค์ ๕ แห่งเต่า
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งเต่า ได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดา เต่า ย่อมอยู่ในน้ำฉันใด พระโยคาวจรก็อยู่ด้วยเมตตาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งเต่า
ธรรมดาเต่าเมื่อโผล่ขึ้นจากน้ำ ย่อมชูศีรษะแลดูสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วจึงจมไปให้ลึกด้วยคิดว่า อย่าให้มีผู้อื่นเห็นเราฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือเมื่อกิเลสเกิดขึ้น ก็ดำลงไปในสระน้ำคือารมณ์ให้ลึก ด้วยคิดว่าอย่าให้กิเลสเห็นเราอีก อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเต่า
ธรรมดาเต่าย่อมขึ้นจากน้ำมาผิงแดดฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรเลิกจากการนั่ง การยืน การนอน การเดินแล้ว ก็ทำให้ใจร้อนในสัมมัปปธาน ( ความเพียรที่ตั้งไว้ถูกต้อง ) อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งเต่า
ธรรมดาเต่าย่อมขุดดินลงไปอยู่ในที่เงียบฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรทิ้งลาภ สักการะ สรรเสริญ แล้วก็เข้าป่าหาที่อยู่สงัด อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งเต่า
ข้อนี้สมกับคำของ พระอุปเสนวังคันตบุตร ว่า
" พระภิกษุควรอยู่ในเสนาสนะที่สงัดที่ไม่มีเสียงอึกทึก มีแต่หมู่สัตว์ร้าย เพื่อเห็นแก่ความสงัด " ดังนี้
ธรรมดาเต่าเมื่อเที่ยวไป ถ้าได้เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือได้ยินเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็หดตีหดหัวเข้าอยู่ในกระดองนิ่งอยู่เพื่อรักษาตัวฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือเมื่ออารมณ์อันน่ารักใคร่ภายนอกปรากฏ พระโยคาวจรปิดประตูระวังสำรวมใจไว้ข้างในมีสติสัมปชัญญะรักษาสมณธรรมอยู่ อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งเต่า
ข้อนี้สมกับคำของพระพุทธเจ้าว่า
" เต่าย่อมซ่อนอวัยวะทั้ง ๕ ไว้ในกระดองของตนฉันใด พระภิกษุก็ควรตั้งใจมิให้อยู่ในวิตก ไม่อิงอาศัยอะไร ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ติเตียนใครฉันนั้น " ดังนี้ ขอถวายพระพร "
องค์ ๑ แห่งไม้ไผ่ (บางฉบับว่าแห่งปี่)
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งไม้ไผ่ ได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดา ไม้ไผ่ ย่อมอ่อนไปตามลม ไม่ขัดขืนฉันใด พระโยคาวจรก็กระทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า กระทำแต่สิ่งที่สมควร ไม่ฝ่าฝืนพระธรรมวินัยฉันนั้น ข้อนี้สมกับคำของ พระราหุลเถระ ว่า
" ควรกระทำตามซึ่งคำในพระพุทธวจนะอันมีองค์ ๙ ประการทุกเมื่อ ควรทำแต่สิ่งที่สมควร สิ่งที่ไม่มีโทษ ควรพยายามให้ยิ่งขึ้นไป " ดังนี้ ขอถวายพระพร "
องค์ ๑ แห่งแล่งธนู (บางฉบับว่าแห่งรางปืน)
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งแล่งธนูได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดา แล่งลูกธนู คือรางหน้าไม้ที่ช่างทำดีแล้ว ย่อมตรงตลอดต้นตลอดปลายฉันใด พระโยคาวจรก็ควรตรงต่อเพื่อนพรหมจรรย์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งแล่งธนู
ข้อนี้สมกับคำพระพุทธองค์ใน วิธุรปุณณกชาดก ว่า
" ธีรชนควรเป็นเหมือนแล่งธนู ควรอ่อนตามลมเหมือนไม้ไผ่ ไม่ควรทำตนเป็นข้าศึกจึงจักอยู่พระราชสำนักได้ " ขอถวายพระพร "
องค์ ๒ แห่งกา
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งกาได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดา กา ย่อมระแวงสงสัยอยู่เสมอ ย่อมขวนขวายอยู่เสมอฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรมีความระมัดระวังอยู่เสมอ สำรวมอินทรีย์อยู่เสมอ อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งกา
ธรรมดากาเห็นอาหารสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือซากสัตว์หรือของเดน แล้วก็ป่าวร้างพวกญาติมากินฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้น คือเมื่อได้ลาภโดยชอบธรรมแล้ว ควรแจกแบ่งให้เพื่อนพรหมจรรย์ อันนี้เป็นองค์ ๒ แห่งกา
ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
" ถ้ามีผู้น้อมนำโภชนาหารให้แก่เรา เราก็แจกแบ่งเสียก่อนแล้วจึงฉัน " ขอถวายพระพร "
องค์ ๒ แห่งวานร
" ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งวานรได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ธรรมดา วานร เมื่อหาที่อยู่ ก็ไปหาที่อยู่อันป้องกันภัยได้ คือต้นไม้ใหญ่ ที่มีกิ่งดกหนาเงียบสงัดฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้น คือพระโยคาวจรควรหาที่อยู่กับกัลยาณมิตร ผู้มีศีลธรรมดีงาม ผู้มีความรู้มาก ผู้รู้จักสั่งสอน อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งวานร
ธรรมดาวานรย่อมเที่ยวไปตามต้นไม้ ยืนบนต้นไม้ นั่งบนต้นไม้ นอนบนต้นไม้ อยู่บนต้นไม้ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้น คือควรยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ในป่าควรอบรมสติปัฏฐานอยู่ในป่า อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งวานร
ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า
" ภิกษุผู้ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ในป่าย่อมดูงาม เพราะป่าเป็นของที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ " ดังนี้ ขอถวายพระพร "
จบโฆรสวรรคที่ ๑

http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-25-20.htm

ผู้ติดตาม