วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิดพระศาสดาทุกเมื่อ

ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เจริญที่สุด   เป็นผู้ประเสริฐ   เป็นผู้นั่งใกล้    เป็นผู้ใกล้ชิด
ทุกเมื่อ    จริงอยู่   พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า    ย่อมสาธารณ์แก่
บริษัททั้งปวง.    ภิกษุทั้งหลาย   ชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุดในบริษัท   เพราะเป็นผู้
เกิดก่อน    ชื่อว่าประเสริฐที่สุด    เพราะปฏิบัติตามพระจริยาของพระศาสดา
เริ่มตั้งแต่การออกบวชเป็นต้น     และเพราะรับคำสอนไว้ทั้งหมด   ชื่อว่าเป็นผู้
ใกล้  เพราะเมื่อภิกษุทั้งหลายนั่งในที่นั้น  เป็นผู้อยู่ใกล้.    ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิด
ทุกเมื่อ 



http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=4500027

สภาวธรรมอันเศร้าหมองอย่างเดียว

เอกธมฺมํ  ประสงค์เอาสภาวธรรมอันเศร้าหมองอย่างเดียว.  ชื่อว่า  เอกธรรม
เพราะอรรถว่าเป็นธรรมเดียว.  [พวกเธอจงละ]  ซึ่งเอกธรรมนั้น.


http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=4500027

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

การประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม

บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่ควรหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น
                          เพราะการประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม.


 บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงทำลายแม้ใบของต้นไม้นั้น
                          เพราะการประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม



ตัดความสงสัยเสียได้

 [๔๖๓] ดูกรท่านวัฑฒะผู้เป็นบุตร กิเลสดุจหมู่ไม้ในป่าอย่าได้มีแก่ท่านในโลก
                          ในกาลไหนๆ เลย ท่านอย่าเป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์ร่ำไปเลย ดูกรท่าน
                          วัฑฒะ มุนีทั้งหลายเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ตัดความสงสัยเสียได้ เป็นผู้มี
                          ความเยือกเย็นถึงความฝึกฝนแล้ว ไม่มีอาสวะ ย่อมอยู่เป็นสุข ดูกร
                          ท่านวัฑฒะ ท่านพึงเพิ่มพูนมรรคอันฤาษีเหล่านั้นสั่งสมแล้ว เพื่อการ
                          บรรลุทรรศนะ เพื่อการทำที่สุดแห่งทุกข์

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/sutta18.php

เงาของต้นไม้เที่ยงเพราะอะไร

[๗๘๘] ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่
มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลำต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็น
ธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เงาก็ไม่เที่ยง แปรปรวน
ไปเป็นธรรมดา ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ต้นไม้ใหญ่มีแก่น
ตั้งอยู่โน้น มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลำต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวน
ไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แต่ว่าเงาของ
ต้นไม้นั้นแล เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ
ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ผู้ที่กล่าวนั้น ชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือหนอแล ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=9746&Z=10190&pagebreak=0

อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง

[๗๗๓] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลใด
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะ
ภายในเสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
เวทนานั้น เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
บุคคลผู้กล่าวอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวชอบหรือหนอแล ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=9746&Z=10190&pagebreak=0

ประทีป

[๗๗๒] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกำลัง
ติดไฟอยู่ มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวน
ไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แสงสว่างก็ไม่
เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า
ประทีปน้ำมันที่กำลังติดไฟอยู่โน้น มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็น
ธรรมดา แต่ว่าแสงสว่างของประทีปนั้นแล เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มี
ความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือหนอแล ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=9746&Z=10190&pagebreak=0

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

ความวิวาทเป็นภัย

"ท่านทั้งหลาย
จงเห็นความวิวาท
โดยความเป็นภัย
และความไม่วิวาท
โดยความปลอดภัยแล้ว
เป็นผู้พร้อมเพรียง
ประนีประนอมกันเถิด
นี่เป็นพระพุทธานุศาสนี..."
— พระพุทธเจ้า
พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน พุทธาปทานที่ ๑
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2:%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

จักไม่เป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ยืดเยื้อ

 [๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด การด่าโต้ตอบกัน ความ
แข่งดีกันเพราะทิฐิ ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด ยังไม่สงบ
ระงับไป ณ ภายใน ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักเป็นไปเพื่อความเป็น
อธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็งร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใดแล การด่าโต้ตอบกัน ความแข่งดีกันเพราะทิฐิ
ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด สงบระงับดีแล้ว ณ ภายใน
ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักไม่เป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็ง
ร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่เป็นผาสุก ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1991&Z=2087&pagebreak=0

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก

[๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๒ จำ
พวกเป็นไฉน คือ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
พระเจ้าจักรพรรดิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่
ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1991&Z=2087&pagebreak=0

ธรรมที่เป็นบาปอกุศล

 [๓๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิมิตจึงเกิดขึ้น
ไม่มีนิมิตไม่เกิดขึ้น เพราะละนิมิตนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี
ด้วยประการดังนี้ ฯ
             [๓๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิทานจึงเกิดขึ้น
ไม่มีนิทานไม่เกิดขึ้น เพราะละนิทานนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึง ไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ             
[๓๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเหตุจึงเกิดขึ้น
ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น เพราะละเหตุนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี
ด้วยประการดังนี้ ฯ
             [๓๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเครื่องปรุง
จึงเกิดขึ้น ไม่มีเครื่องปรุงไม่เกิดขึ้น เพราะละเครื่องปรุงนั้นเสีย ธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ
             [๓๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น
ไม่มีปัจจัยไม่เกิดขึ้น เพราะละปัจจัยนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี
ด้วยประการดังนี้ ฯ
             [๓๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีรูปจึงเกิดขึ้น ไม่
มีรูปไม่เกิดขึ้น เพราะละรูปนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วย
ประการดังนี้ ฯ
             [๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเวทนาจึงเกิดขึ้น
ไม่มีเวทนาไม่เกิดขึ้น เพราะละเวทนานั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึง
ไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ
             [๓๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสัญญาจึงเกิดขึ้น
ไม่มีสัญญาไม่เกิดขึ้น เพราะละสัญญานั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึง
ไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ
             [๓๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีวิญญาณจึงเกิด
ขึ้น ไม่มีวิญญาณไม่เกิดขึ้น เพราะละวิญญาณนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ
             [๓๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสังขตธรรมเป็น
อารมณ์จึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ไม่เกิดขึ้น เพราะละสังขตธรรมนั้น
เสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ
จบสนิมิตตวรรคที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๒๑๓๓ - ๒๑๖๓.  หน้าที่  ๙๑ - ๙๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2133&Z=2163&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=322

บัณฑิต ๒ จำพวก

[๓๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน
คือ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑
คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2191&Z=2258&pagebreak=0

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

สิ่งนั้น หาพบในกายนี้

สิ่งนั้น หาพบในกายนี้
แน่ะเธอ ! ที่สุดโลก แห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่
อุบัติ; เราไม่กล่าวว่าใคร ๆ อาจรู้ อาจเห็น อาจถึง ที่สุดแห่งโลกนั้น ด้วยการไป.
แน่ะเธอ ! ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ที่ยังประกอบด้วย
สัญญาและใจนี่เอง, เราได้บัญญัติโลก, เหตุให้เกิดโลก, ความดับสนิท
ไม่เหลือของโลก, และทางดำเนินให้ถึงความดับสนิทไม่เหลือของโลก ไว้
ดังนี้แล.
- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๒/๔๕.
http://www.dhammathai.org/articles/dbview.php?No=424

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

ที่สุดแห่งโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามิได้กล่าวว่า
ที่สุดของโลกอันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่ง
โลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดทุกข์



ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้อง
การแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวหาแก่นไม้อยู่ กลับล่วงเลยรากล่วงเลยลำต้น
แห่งต้นไม้มีแก่นต้นใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่เฉพาะหน้าไปเสีย มาสำคัญแก่นไม้ที่จะพึง
แสวงหาได้ที่กิ่งและใบ ฉันใด คำอุปไมยนี้ก็ฉันนั้น

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=2411&Z=2502&pagebreak=0

เฉพาะหน้า

th.w3dictionary.org/index.php?qADJ. urgent def:[ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น และจำเป็นจะต้องดำเนินการตามความเหมาะสมทันที] syn:{ด่วน} sample:[ศูนย์นี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า] ADV. at hand ...

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ

ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ
หน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส
ทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส
เป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุด
พ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว ท่านพระราหุลชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิต
นี้อยู่ จิตของท่านพระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ฝ่าย
เทวดาหลายพันก็เกิดธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ
จบสูตรที่ ๘

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=2697&Z=2785

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

ความปรากฏ

อุปปาทสูตรที่ ๑


[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด
ความปรากฏแห่งจักษุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็น
ความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด
ความปรากฏแห่งใจ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ
ปรากฏแห่งชราและมรณะ ส่วนความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งจักษุ นี้เป็น
ความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งใจ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบ
แห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯ

จบสูตรที่ ๙


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=270&Z=279&pagebreak=0

ความปรากฏแห่งรูป

          [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด
ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็น
ความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด
ความปรากฏแห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯ

          [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ
ฯลฯ ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์
เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค







อุปปาทสูตรที่ ๒

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่

“ เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ ”

สลัดความพอใจในสังขาร

 สัตว์โลกเมื่อเกิดมาย่อมนำความทุกข์ติดตัวมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออกความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว

ผู้อดทน

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่าก็เพราะความกลัวอดทนต่อคำล่วงเกิน
ของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้
แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้
เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทน
 มีเมตตาย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศ อยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ”

ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ

ใจเป็นผู้นำทุกสิ่งทุกอย่าง ใจเป็นใหญ่ ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ
ถ้าคนเรามีใจบริสุทธิ์ การพูดการกระทำ ก็พลอยบริสุทธิ์ไปด้วย
เพราะการพูดการกระทำ อันบริสุทธิ์นั้น ความสุขย่อมตามสนองเขา
เหมือนเงาติดตามตน

อุปมาองค์ ๑ แห่งลา


" ข้าแต่พระนาคเสน ที่ว่าควรถือองค์ ๑ แห่งลานั้น องค์หนึ่งแห่งลานั้นได้แก่อะไร ? "
" ขอถวาบพระพร ธรรมดาว่า ลา นั้น ไม่เลือกที่นอน นอนบนกองหยากเยื่อก็มี ที่ทาง ๔ แพร่งก็มี ๓ แพร่งก็มี ที่ประตูบ้านก็มี ที่กองแกลบก็มีฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่เลือกที่นอนฉันนั้น ปูแผ่นหนังลงไป ในที่ปูด้วยหญ้าหรือใบไม้ หรือเตียงไม้ หรือแผ่นดินแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วก็นอนฉันนั้น ข้อนี้สมกับที่มีพระพุทธดำรัสไว้ว่า
" ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ ทำกายเหมือนท่อนไม้ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร "



http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-25-20.htm

ผู้ติดตาม