วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิธีกำจัดอหังการ มมังการ

“.....ดูก่อนราธะ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ใกล้หรือไกล อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็น รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามคามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อน ราธะ บุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก...”

ราธสูตร ขันธ. สํ. (๑๔๗)
ตบ. ๑๗ : ๙๘ ตท. ๑๗ : ๘๗-๘๘
ตอ. K.S. ๓ : ๑๗ : (๙) ๖๖-๖๗


รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ด้วยเหตุเท่าไร ฯ
ดูกรอานนท์ ธาตุนี้มี ๑๘ อย่างแล ได้แก่ ธาตุคือจักษุ ธาตุคือรูป
ธาตุคือจักษุวิญญาณ ธาตุคือโสต ธาตุคือเสียง ธาตุคือโสตวิญญาณ ธาตุคือฆานะ
ธาตุคือกลิ่น ธาตุคือฆานวิญญาณ ธาตุคือชิวหา ธาตุคือรส ธาตุคือชิวหาวิญญาณ
ธาตุคือกาย ธาตุคือโผฏฐัพพะ ธาตุคือกายวิญญาณ ธาตุคือมโน ธาตุคือธรรมารมณ์
ธาตุคือมโนวิญญาณ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๑๘ อย่าง ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้
อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3432&Z=3646

ภิกษุเป็นบัณฑิต

จะควรเรียกว่าภิกษุเป็นบัณฑิต มี
ปัญญาพิจารณา ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุเป็น
ผู้ฉลาดใน*ธาตุ
ฉลาดใน*อายตนะ
ฉลาดใน*ปฏิจจสมุปบาท
และฉลาดใน*ฐานะและอฐานะ
ดูกร อานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า
 ภิกษุเป็นบัณฑิต มีปัญญาพิจารณา ฯ




        *Element ธาตุ

 
*sense
ความรู้สึก, ความหมาย, สัมผัส, สติ, ประสาท, อายตนะ

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ยศเจริญแก่คนเช่นไร

ยศเจริญแก่คนเช่นไร
              "ยศย่อมเจริญแก่คนที่มีความหมั่น.
มีสติ, มีการงานสะอาด, ใคร่ครวญแล้วจึงทำ
, สำรวมระวังครองชีวิตอยู่โดยธรรม และเป็นผู้ไม่ประมาท."
ธรรมบท ๒๕/๑๘

มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ

อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี
ใครก็ตาม
จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเป็นอยู่
อานนท์ ! ภิกษุพวกใดเป็นผู้ใคร่ในสิกขา
ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด แล.

( บาลี มหาวาร. ส°. ๑๙/๒๐๕/๗๑-๓, พุทธวัจน์
ตรัสแก่พระอานนท์ ที่เวฬุวคาม เมืองเวสาลี

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผู้ที่จะยืนยันว่าไม่มีโรคทางใจแม้เพียงเวลาครู่เดียวนั้นหาได้ยากใน โลก

ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย โรค ๒ อย่างนี้ โรค ๒ อย่างเป็นไฉนคือ โรคกาย ๑ โรคใจ ๑ ปรากฏอยู่ว่าสัตว์ทั้งหลายผู้ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๑ ปีก็มี ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๒ ปีก็มี ๓ ปีก็มี ๔ ปีก็มี ๕ ปีก็มี ๑๐ ปีก็มี ๒๐ ปีก็มี ๓๐ ปีก็มี ๔๐ ปีก็มี ๕๐ ปีก็มี ๑๐๐ ปีก็มี ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีก็มี แต่ว่าผู้ที่จะยืนยันว่าไม่มีโรคทางใจแม้เพียงเวลาครู่เดียวนั้นหาได้ยากใน โลก เว้นแต่พระขีณาสพ…
( อัง.จตุกก. 35/157/373 )


http://www.watprasaat.com/UserFiles/File/jitbumbud/index.html
ขีณาสพ หรือ กษีณาศรพ /กะสีนาสบ/ แปลว่า ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว, ผู้สิ้นอาสวะแล้ว

ว่าด้วยความไม่เที่ยงแท้แน่นอนแห่งขันธ์ ๕

ดูก่อนภิกษุ ไม่มีเลย รูปบางอย่าง ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงที่อยู่อย่างนั้นเอง เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีเวทนาอะไรบางอย่าง... สัญญาบางอย่าง... สังขารบางอย่าง... วิญญาณบางอย่าง ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงที่อยู่อย่างนั้นเอง เสมอด้วยสิ่งที่ ยั่งยืนทั้งหลาย.

โคมยปิณฑสูตร
http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=2700284

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก


คำว่า เมื่อสิ่งที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก
ความว่า ไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวนไปแล้ว หรือเมื่อวัตถุแปรปรวน
ไปแล้วไม่เศร้าโศกถึง คือไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ
ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย
ใจของเรา แปรปรวนไปแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของเรา
แปรปรวนไปแล้ว สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเรา แปรปรวนไปแล้ว
มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง บุตร ธิดา มิตร
พวกพ้อง ญาติสาโลหิตของเรา แปรปรวนไปแล้ว แม้เพราะเหตุอย่างนี้
ดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มี.

อ่านเพิ่มเติมได้ที่http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=22046

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสนเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความ
กระเสือกกระสนเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรม
เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรม
อันใดไว้ เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น




http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=4055

กระเสือกกระสน

V. strive
    def:[ดิ้นรนเพื่อให้พ้นความทุกข์ยาก]
    syn:{เสือกสน}{ดิ้นรน}

ผู้ติดตาม