วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

มัชฌิมาปฏิปทาเป็นไฉน?



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มี
สัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
อยู่... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่...

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัด อภิชฌา* และโทมนัส* ในโลกได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา


*อภิชฌา [อะพิดชา] น. ความโลภ, ความอยากได้. (ป.).
*โทมนัส[โทมมะ-] น. ความเสียใจ, ความเป็นทุกข์ใจ. (ป. โทมนสฺส).
 พจนานุกรม ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
guru.sanook.com

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ( มก. เล่ม 34 หน้า 595)
 เครดิต http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=6141&mode=threaded&pid=40753

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

๓๘. เรื่องพระอังคุลิมาลเถระ [๓๐๑]

 ภิกษุทั้งหลายถามพระอังคุลิมาล
ว่า  " ผู้มีอายุ ท่านเห็นช้างตัวดุร้าย   ยืนกั้นฉัตรอยู่แล้ว   ไม่กลัวหรือหนอ  ? "
พระอังคุลิมาลตอบว่า   " ไม่กลัว  ผู้มีอายุ."     
ภิกษุเหล่านั้น  กราบทูลพระศาสดา  "  พระเจ้าข้า  พระอังคุลิมาล
พยากรณ์พระอรหัตด้วยคำไม่จริง."
พระศาสดาตรัสว่า  " ภิกษุทั้งหลาย    อังคุลิมาลบุตรของเราย่อมไม่
กลัว,  เพราะว่า  ภิกษุทั้งหลายเช่นกับบุตรของเรา  ผู้องอาจที่สุดในระหว่าง
พระขีณาสพผู้องอาจทั้งหลาย   ย่อมไม่กลัว " 

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ทานอันเป็นเลิศ

 [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรม
ทาน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือ การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่าย
ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรม
เป็นเลิศ
 
๙. ทานสูตร


อามิษ, อามิส, อามิส*[อามิด, อามิดสะ] หมายถึง
 น. สิ่งของวัตถุเครื่องล่อใจมีเงินเป็นต้น,
 เช่น อย่าเห็นแก่อามิสสินจ้าง. (ส. อามิษ; ป. อามิส).
ธรรม, ธรรมะ*หมายถึง

[ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ
เป็นคนมีศีลมีธรรม; คําสั่งสอนในศาสนา 
ความความจริง ความยุติธรรม, ความถูกต้อง
กฎเกณฑ์,สิ่งทั้งหลาย

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

-ขอบคุณข้อมูล

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ภิกษุทั้งหลายจงรู้เห็นตามที่เป็นว่าไม่เห็นโทษย่อมไม่ถึงทางออก

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่รู้ด้วยจักษุตามที่มันเป็น เห็นรูปทั้งหลายตามที่มันเป็น รู้จักขุวิญญาณตามที่มันเป็น รู้เห็นจักขุสัมผัสตามที่มันเป็น รู้เห็นเวทนาอันเป็นสุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้นกับจักษุสัมผัส เป็นปัจจัยตามที่มันเป็น ย่อมไม่ติดพันในจักษุ ไม่ติดพันในรูป ไม่ติดพันในจักขุวิญญาณ ไม่ติดพันในจักขุสัมผัส ไม่ติดพันในเวทนา อันเป็นสุขหรือทุกข์ ที่เกิดขึ้นที่จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
  เมื่อไม่ติดพัน ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง รู้ทันเเละเห็นโทษตะหนักอยู่
อุปทานทั้งหลายย่อมไม่ก่อตัวพอกพูนต่อไป ลดลงไปเรื่อยๆ เมือนันทิราคะไม่เเส่ซ่าน ย่อมถูกละไปเรื่อยๆ ภพชาติใหม่ก็จะไม่เกิด

พระองค์ทรงรับรองสงฆ์บางรูปเท่านั้นที่เป็นคนของพระองค์

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเหล่าใด ที่เป็นคนหลอกลวง กระด้าง พูดพล่าม ยกตัว จองหอง ใจฟุ้งเฟ้อ ภิกษุเหล่านั้นไม่ใช่คนของเรา ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นได้ออกจากพระธรรมวินัยเสียแล้วย่อมไม่ถึงแห่งความเจริญและไพบูลย์งอกงาม ในธรรมวินัยได้เลย



พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ แปลโดยพุทธทาสภิกขุ

การอบรมอินทรีย์(อินทรีภาวนาที่ยอดเยี่ยม)

ดูกรณ์ ! อานนท์ การอบรมอินทรีย์ภาวนาที่ยอดเยี่ยมเป็นอย่างไรเล่า  เพราะเห็นด้วยตา เพราะได้ยินด้วยหู เพราะได้กลิ่นด้วยจมูก เพราะรู้รสด้วยลิ้น เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย เพราะรู้ธรรมมารมณ์ด้วยใจ ย่อมเกิดชอบใจบ้างไม่ชอบใจบ้าง แก่ภิกษุ เธอจงเข้าใจดังนี้ว่าความชอบใจไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นนี้เป็นสิ่งปรุงแต่ง เป็นธรรมหยาบ เป็นของอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ภาวะต่อไปนี้จึงเกิดความสงบนิ่ง นั่นคืออุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) ทั้งนั้นความชอบใจไม่ชอบใจจึงดับไปอุเบกขาจึงตั่งมั่น

ภิกษุทั้งหลาย  ผู้ที่รู้เห็นจักษุตามที่มันเป็นไป รู้เห็นรูปตามที่มันเป็นไป
รู้เห็นจักขุวิญญาณตามที่มันเป็นไป
รู้เห็นจักษุสัมผัสตามที่มันเป้นไป
รู้เห็นเวทนาอันเป็นสุขหรือทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์รู้เท่าทันโทษเเตระหนักอยู่
ตัญหาอันเป้นตัวก่อภพใหม่ อันประกอบด้วยนันทิราคะก็จะถูกละไปด้วย

อย่างไรจึงจะชื่อว่าได้อยู่ด้วยความไม่ประมาท

ภิกษุ! ทั้งหลายอย่างไรจึงจะชื่อว่าอยู่ด้วยความไม่ประมาท  เมื่อภิกษุทั้งหลายสังวรจักขุนทรีย์ จิตย่อมไม่แส่ซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้ด้วยจักษุ เมื่อจิตไม่แส่ซ่าน ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อปราโมทย์แล้วปีติก็เกิด เมื่อใจปีติกายก็สงบระงับ ผู้มีกายสงบย่อมเป็นสุข ผู้มีจิตสุขย่อมได้สมาธิ เมื่อสมาธิเกิดธรรมก็ปรากฏ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท

จากหนังสือพุทธธรรม พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

เรือนมีการอยู่ครองไม่ดี นำความทุกข์มาให้

เรือนมีการอยู่ครองไม่ดี นำความทุกข์มาให้ การ
อยู่ร่วมกับบุคคลผู้ไม่เสมอกัน นำความทุกข์มาให้ ชนผู้
เดินทางไกลอันทุกข์ตกตามแล้ว เพราะเหตุนั้น บุคคล
ไม่พึงเดินทางไกลและไม่พึงเป็นผู้อันทุกข์ตกตามแล้ว กุลบุตร
ผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เพรียบพร้อมแล้วด้วยยศ
และโภคะ ไปถึงประเทศใดๆ เป็นผู้อันคนบูชาแล้วใน
ประเทศนั้นๆ แล สัตบุรุษย่อมปรากฏได้ในที่ไกล เหมือน
ภูเขาหิมวันต์ อสัตบุรุษแม้นั่งแล้วในที่นี้ก็ย่อมไม่ปรากฏ
เหมือนลูกศรที่บุคคลยิงไปแล้วในเวลากลางคืน ฉะนั้น ภิกษุ
พึงเสพการนั่งผู้เดียว การนอนผู้เดียว ไม่เกียจคร้าน เที่ยวไป
ผู้เดียว ฝึกหัดตนผู้เดียว พึงเป็นผู้ยินดีแล้วในที่สุดป่า ฯ

ความงามแห่งหีบศพอันวิจิตร

 “ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ! ร่างกายนี้เป็นเหมือนเรือนซึ่งสร้างด้วยโครงกระดูก มีหนังและเลือดเป็นฉาบทา ที่มองเห็นเปล่งปลั่งผุดผาดนั้น เป็นเพียงผิวหนังเท่านั้น เหมือนมองเห็นความงามแห่งหีบศพอันวิจิตรตระการตา ผู้ไม่รู้ก็ติดในหีบศพนั้น แต่ผู้รู้เมื่อทราบว่าเป็นหีบศพ แม้ภายนอกจะวิจิตรตระการตาเพียงไร ก็หาพอใจยินดีไม่ เพราะทราบชัดว่าภายในแห่งหีบอันสวยงามนั้นมีสิ่งปฏิกูลพึงรังกียจ”

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต

ดูกร!..วักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม
 ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเราตถาคต
 ผู้ใด เห็นเราตถาคต....
ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม


พุทธวัจนะ



วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ
เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท. ! ความดับสนิท เพราะ
ความจางคลายไปโดยไม่เหลือ
 ของตัณหานั้นนั่นเทียว ความละ
ไปของตัณหานั้น ความสลัดกลับ
คืนของตัณหานั้น ความหลุดออกไป
 ของตัณหานั้น และความไม่มีที่
-อาศัยอีกต่อไปของตัณหานั้น
อันใดอันนี้ เราเรียกว่า
คือความดับไม่เหลือของทุกข์

อริยสัจจากพระโอษฐ์ : พุทธทาสภิกขุ



ผู้ติดตาม