วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความร้อนที่ยิ่งใหญ่

ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อน ยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก แต่ในบัดนี้เท่านั้น หรือแม้เมื่อก่อนไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก? ท่านพระโคดม ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความเร่าร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก ทั้งในบัดนี้ และแม้เมื่อก่อน ไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก แต่ว่าบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก ถูกกิมิชาติบ่อน เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ มีอินทรีย์อันโรคกำจัดเสียแล้วโน้น กลับได้ความสำคัญผิดในไฟนี้อันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้นแลว่า เป็นสุขไป. ดูกรมาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตกาลก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก ถึงในอนาคตกาลกามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก แม้ในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนเกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ มีอินทรีย์อันโทษกำจัด แล้ว กลับได้ความสำคัญผิดในกามอันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้นแลว่า เป็นสุขไป.

http://etipitaka.com/read?keywords=ความยิ่งใหญ่&language=thai&number=215&volume=13#

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เครื่องปรุงแต่งภพ

[๙๖] มุนีปลงเสียได้แล้วซึ่งกรรมที่ชั่งได้ และกรรมที่ชั่งไม่ได้ อันเป็นเหตุสมภพ เป็นเครื่องปรุงแต่งภพ และได้ยินดีในภายใน มีจิตตั้งมั่น ทำลายกิเลสที่เกิดในตนเสีย เหมือนนักรบ ทำลายเกราะฉะนั้น ฯ


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๙๐/๒๖๑ข้อที่ ๙๖-๙๘
http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87&language=thai&number=90&volume=10

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความตระหนี่ ๕ ประการ


คำว่า ความหวงแหน
ได้แก่ ความตระหนี่ ๕ ประการ
คือ
ความตระหนี่ที่อยู่
ความตระหนี่ตระกูล
ความตระหนี่ลาภ
ความตระหนี่วรรณะ
ความตระหนี่ธรรม

ความตระหนี่เห็นปานนี้ อาการที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่างๆ
ความเหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ใน
การให้ นี้เรียกว่าความตระหนี่. อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความ
ตระหนี่อายตนะก็ดี นี้เรียกว่าความตระหนี่. ความมุ่งจะเอาก็เรียกว่าความตระหนี่.


http://etipitaka.com/read?keywords=มิตร+ความหมาย&language=thai&number=118&volume=29#

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม3ประการผู้เป็นบัณฑิตและบุคคลผู้ประกอบธรรม3ประการว่าเป็นคนพาล


ลักขณสูตร
[๔๔๑] ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด บัณฑิตมีกรรมเป็น
เครื่องกำหนด ปัญญางดงามในความประพฤติเนืองๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นคนพาล
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ
กายทุจริต ๑
วจีทุจริต ๑
มโนทุจริต ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึง
ทราบว่าเป็นคนพาล

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต

ธรรม ๓ ประการเป็นไฉนคือ
กายสุจริต ๑
วจีสุจริต ๑
มโนสุจริต ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
แหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึง
รู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้นบุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
เหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต เราจักประพฤติสมาทานธรรม ๓ ประการนั้น ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้้แลฯ


http://etipitaka.com/read?keywords=ภยสูตร&language=thai&number=95&volume=20#

ผู้ติดตาม