วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้

ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการคือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น ๑ เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน ๑ เนื้อที่ตนไม่รังเกียจ ๑
ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้”

รูปใดฉันเนื้อที่ไม่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ เป็นอาบัติทุกกฎ รูปใดฉันเนื้อมนุษย์เป็นอาบัติถุลลัจจัย รูปใดฉันเนื้อต้องห้าม ๙ อย่างที่เหลือ เป็นอาบัติทุกกฎ

http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=30

*เนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ คือโดยไม่เห็น ๑ โดยไม่ได้ยิน ๑ และโดยไม่สงสัย ๑
อาบัติ แปลว่า การต้อง, การล่วงละเมิด หมายถึงโทษที่เกิดจาการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ ใช้เรียกความผิดทางวินัยของพระภิกษุว่า ต้องอาบัติ

อาบัติ มี 7 อย่าง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. ครุกาบัติ หมายถึงอาบัติหนัก อาบัติที่มีโทษร้ายแรง มี 2 อย่างคือ อาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส
2. ลหุกาบัติ หมายถึงอาบัติเบา อาบัติที่ไม่มีโทษร้ายแรงเท่าครุกาบัติ มี 5 อย่าง คือ อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฎ อาบัติทุพภาสิต

การปฏิบัติตนเพื่อแก้อาบัตินั้นมีต่างๆ กันไป สุดแท้แต่ความหนักเบาของศีลที่อาบัติ มีตั้งแต่การประกาศความผิดของตนต่อภิกษุอื่น การอยู่ในบริเวณจำกัดเฉพาะเพื่อสำนึกผิด จนถึงการขาดจากความเป็นภิกษุ เช่น ภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกจะต้องสึกออกไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ไม่สามารถดำรงเพศเป็นภิกษุต่อไปอีกได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม